เทคโนโลยีตาไบโอนิก
เขาว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ อันนี้เป็นคำพูดยอดฮิตในช่วงเดือนแห่งความรัก อาจจะดูเลี่ยนๆ ไปสักหน่อย แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า สายตาจะสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ออกมา แต่ถ้าภายใต้ดวงตาของคนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถบ่งบอกถึงความรู้สึกที่มีได้ นั้นไม่ใช่เพราะเขาอยากไม่เหมือนใคร หรืออยากเก็บความลับใดๆ ไว้ใต้ดวงตา แต่เพราะเขาเหล่านั้นมีปัญหาทางสายตา ไม่ว่าจะเกิดจากโรคร้าย หรืออุบัติเหตุใดๆ ก็ตาม ทำให้เขาไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนคนทั่วๆ ไปต่างหาก
อย่าว่าแต่การสื่อความรู้สึกเลย การใช้ชีวิตประจำวันก็ลำบากมากพอแล้ว ต้องยอมรับว่าสิ่งอำนวยความสะดวกแกผู้พิการทางสายตาในบ้านเมืองเรามีอยู่น้อยมาก จนทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านมองเห็นถึงปัญหาตรงนี้ จึงพัฒนาเทคโนโลยีหนึ่งที่จะพูดถึงในอเมริกาคือ
เทคโนโลยีตาไบโอนิก
เทคโนโลยีตาไบโอนิก หรือการปลูกถ่ายดวงตาอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้พิการทางสายตาที่เนื่องมากจากโรค เช่น กล้ามเนื้อตาเสื่อม (macular degeneration) และความผิดปกติของจอรับภาพ (Retinitis pigmentosa) ให้กลับมามองเห็นได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีผู้คิดค้นวิธีการรักษาผู้พิการทางสายตาเช่นกัน โดยใช้วิธีฝังอุปกรณ์ที่เป็นกล้องวีดีโอเพื่อรับภาพแล้วส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวไปยังอิเล็กโทรดที่ฝังอยู่ในดวงตาของผู้มีปัญหาทางสายตา ทำให้สามารถเห็นภาพได้เป็นโครงร่างคร่าวๆ และภาพที่มีการเคลื่อนไหวเท่านั้น
เนื่องจากยุคแรกๆ ความละเอียดของกล้องยังค่อนข้างน้อย ซึ่งความละเอียดเพียงแค่ 16 พิกเซล หรือ 16 อิเล็กโทรด ความละเอียดขนาดนี้ผู้ป่วยสามารถเดินไปตามถนนและสามรถหลบหลีกสิ่งกีดขวางตามท้องถนนได้ ซึ่งผู้ป่วยกล่าวว่าสามารถเห็นขอบมุมของกิ่งไม้ที่ขวางอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้จำหน้าผู้คนได้ แต่อย่างน้อยก็ยังเห็นเป็นเงาคนได้
ดังนั้น จึงมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้เห็นภาพจริงจากกล้อง และนำการเปลี่ยนแปลงสัญญาณไปเป็นสัญญาณอิเล็กโทรด ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังประสาทตา และจะทำให้ผู้มีปัญหาสายตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
การใช้อุปกรณ์ใหม่นี้มีความละเอียดมากกว่าอุปกรณ์ในอดีต ซึ่งมีถึง 60 อิเล็กโทรด และยังมีขนาดเล็กกว่าเดิม ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อติดตั้งฝังอุปกรณ์ลงไปในดวงตา และจะทำงานโดยการฝังตัวโดยเรียงตัวกันของอิเล็กโทรดขนาดเล็กที่ด้านหลังของดวงตา และกล้องจะใช้ในการจับภาพ ส่งไปประมวลผลที่คอมพิวเตอร์มือถือที่คาดไว้อยู่ที่เอว เปลี่ยนข้อมูลรูปภาพ และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะได้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และข้อมูลทั้งหมดจะส่งกลับไปยังแว่นตาโดยระบบไร้สาย โดยมีตัวรับสัญญาณที่อยู่ใต้ผิวตาด้านหน้า ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังอิเล็กโทรดที่อยู่ด้านหลัง โดยกระบวนการทั้งหมดจะทำในระบบ Real-time ทำให้การประมวลผลออกมาใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไปที่ไม่มีปัญหาทางสายตา
เป็นที่น่ายินดีว่าประชากรอีกประมาณ 1.5 ล้านคนทั่วโลก จะสามารถกลับมามองเห็นเป็นปกติได้อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ทางองค์การอาหารและยาเริ่มทำการทดลองผ่าตัดกับผู้ป่วยจำนวนหนึ่งและจะขยายไปยังศูนย์ต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 ศูนย์ เพื่อผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 50-75 ราย ถ้าระบบนี้ประสบความสำเร็จ มันจะสามารถทำการผลิตออกมาขาย โดยมีราคาประมาณ 3 หมื่นเหรียญสหรัฐ ซึ่งในระยะถัดไปจะสามารถพัฒนาให้มีความละเอียดได้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และการพัฒนาในอนาคตได้คำนึงไปถึงผลกระทบที่มีต่อระบบประสาทและสมอง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็น คราวนี้ดวงตาของทุกๆ คนก็จะได้เป็นหน้าต่างของหัวใจจริงๆ สักที
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ TODAY
Thursday, February 22, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment