Thursday, February 1, 2007

สู้เมาแล้วขับ

สู้เมาแล้วขับ

ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน นั่นก็คือ การดื่มสุราแล้วขับรถ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกใช้มาตลอดคือการรณรงค์และการจัดจุดตรวจตามเส้นทาง ในตอนนี้มีแนวทางใหม่อีกทางที่ถูกนำเสนอจากค่ายผู้ผลิตหลายๆ ราย มีแนวคิดที่จะสร้างระบบวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ และรถยนต์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองในกรณีที่ตรวจพบว่า ผู้ขับขี่ที่มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงผิดปกติ

โตโยต้า เป็นค่ายผู้ผลิตรายแรกจากทางญี่ปุ่นที่ออกมาเปิดเผยในเรื่องนี้ โดยทางโตโยต้านั้นกำลังพัฒนาระบบวัดระดับแอลกอฮอล์และชะลอรถยนต์ ระบบของโตโยต้านั้นจะวัดระดับแอลกอฮอล์จากเหงื่อของผู้ขับขี่ที่พวงมาลัย ทำให้ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูง เครื่องยนต์จะปฏิเสธการทำงาน ไม่สามารถสตาร์ตรถได้ และระบบยังตรวจสอบจากลักษณะการขับขี่ เช่น ถ้ามีการหมุนพวงมาลัยในลักษณะการขับขี่ เช่น ถ้ามีการหมุนพวงมาลัยในลักษณะผิดปกติหรือรูม่านตาของผู้ขับขี่ไม่อยู่ในโฟกัส รถยนต์จะขับเคลื่อนช้าลง และหยุดในที่สุด ทางโตโยต้าคาดว่าจะติดตั้งระบบนี้เข้าไปในรถยนต์ที่อยู่ในสายการผลิตช่วงปลายปี 2009

ข้ามมาอีกค่ายอย่างนิสสัน ก็ได้มีการพัฒนาระบบตรวจสอบแอลกอฮอล์เช่นกัน โดยมีการทดสอบติดตั้งระบบวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจไว้ในรถยนต์ และถ้าผู้ขับขี่มีระดับแอลกอฮอล์สูงผิดปกติ ก็จะตอบสนองคล้ายๆ กับทางโตโยต้า อีกค่ายอย่างซาบและวอลโว่เองก็ได้โชว์ระบบของค่ายนี้ไปก่อนหน้า แต่ทั้งนิสสัน ซาบ และวอลโว่เองก็ยังใช้ระบบแบบเดิมที่ใช้ breathalyzer ต่างจากโตโยต้าที่ตรวจจับผ่านทางเหงื่อ

ก่อนที่ค่ายผู้ผลิตจะตัดสินใจที่จะเริ่มพัฒนาและติดตั้งอุปกรณ์ไปในรถยนต์ที่ออกมาจากโรงงานมีค่ายผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์วัดแอลกอฮอล์ออกมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่อุปกรณ์เสริมเหล่านี้มักจะเกิดปัญหากับระบบการสตาร์ตของรถยนต์ ทำให้ทั้งโตโยต้าและนิสสันเริ่มจริงจังกับการติดตั้งมาจากโรงงานเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า

ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเมาสุราแล้วขับนั้น เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปีที่แล้วนั้นมีการตายในอุบัติเหตุทางรถยนต์สูงมากและสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากการเมาสุราแล้วขับ นอกจากในญี่ปุ่นแล้ว เรื่องเมาแล้วขับยังเป็นประเด็นในสหรัฐด้วยเช่นกัน ตามกฎหมายของรัฐนิวเม็กซิโกนั้น ถ้าผู้ขับขี่ถูกจับด้วยข้อหาเมาแล้วขับจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ignition interlock หรือ breathalyzer ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ต้องเป่าลมเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อตรวจระดับแอลกอฮอล์ก่อน และถ้าไม่สูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็จะสามารถสตาร์ตรถได้ กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ในรัฐนิวเม็กซิโกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2005 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลังจากนั้นมีผู้ถูกจับกุม เนื่องจากกรณีเมาแล้วขับกว่า 16,000 ราย ในรัฐนิวเม็กซิโก และกว่า 13,000 ราย ถูกตัดสินให้ติดตั้ง interlock แต่มีเพียง 6,000 รายเท่านั้นที่ติดตั้งจริง ทั้งๆ ที่หลังจากมีการสำรวจทั่วสหรัฐ พบว่ามีผู้พบเห็นด้วยกับการติดตั้งจริง ทั้งๆ ที่หลังจากมีการสำรวจทั่วสหรัฐ พบว่ามีผู้เห็นด้วยกับการติดตั้ง interlock ถึง 85%

นอกจากนิวเม็กซิโกแล้ว ที่แคลิฟอร์เนียเริ่มมีการมองหาเทคโนโลยีในการต่อสู้กับเมาแล้วขับ โดยที่ชุมชน
ริเวอร์ไซด์มีแนวคิดที่จะให้ผู้ขับขี่ถูกจับกรณีเมาแล้วขับบ่อยๆ มีอุปกรณ์ GPS ติดตัวเพื่อที่จะทราบตำแหน่งของผู้ขับขี่ที่มีปัญหา และจะมีการแจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่เข้าไปในพื้นที่ต้องห้าม เช่น ผับหรือบาร์ และอุปกรณ์นี้สามารถตั้งโปรแกรมให้ส่งข้อมูลทันทีหรือว่าจะในวันถัดไป

ที่ชุมชนริเวอร์ไซด์ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขับขี่ที่มีปัญหาต้องมีอุปกรณ์ Secure Continuous Remote Alcohol Monitor หรือ SCRAM ที่จะสามารถตรวจวัดการบริโภคแอลกอฮอล์ไว้ที่ผิวหนัง

เทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมามีความต้องการที่ต่อสู้กับปัญหาเมาแล้วขับ กว่า 26 ปีแล้วที่เกิดปัญหานี้เป็นที่จับตามองของผู้คน โดยส่วนตัวแล้วผมว่าปัญหานี้ถ้าจะแก้ได้ขาดคงจะต้องเริ่มจากตัวของผู้ขับขี่ก่อนอื่นใด

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ TODAY

No comments: