ปิดฉาก “มหกรรมพืชสวนโลก” ยอดคนเข้าชมกว่า 3 ล้านคน
วันสุดท้ายของงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2549 ยังคงมีผู้คนเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก โดยช่วงค่ำจะมีพิธีปิดอย่างเป็นทางการบริเวณ หอคำหลวง ซึ่งสรุปตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้าชมงานตลอดระยะเวลา 3 เดือนสูงกว่า 3 ล้าน 7 แสน คน และได้มีการประกาศผลการประกวดสวนนานาชาติขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา
สำหรับผลการประกวดสวนนานาชาติที่จัดขึ้นภายในงานที่ผ่านมา สวนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทสวนนอกอาคารที่มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป เป็นของประเทศญี่ปุ่นที่นำการจำลองภูเขาฟูจิซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นมาจัดแสดง ถือเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์และความอดทนมาใช้ในการจัดสวน ส่วนการจัดสวนหิน ต้นไม้ หรือแม้แต่การสร้างรั้วที่ทำจากวัสดุธรรมชาติล้วนแต่เป็นการนำเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นทั้งสิ้น และที่สำคัญมีการดูแลรักษาสวนให้มีความสวยงามตลอดการจัดงานจนได้รับความสนใจจากประชาชนกันอย่างเป็นอย่างมาก ส่วนรางวัลที่2 คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้นำดอกทิวลิปและกังหันลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาจัดแสดง และลำดับที่ 3 เป็นของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของ
สถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถัง
ผลการประกาศผลประเภทสวนนอกอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 1,000 ตารางเมตร รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 เป็นของสวนประเทศแอฟริกาใต้ที่นำเสนอสวนสไตล์โมเดลผสมผสานวิถีชีวิตดั้งเดิม ลำดับที่ 2 คือ สวนของประเทศเบลเยียมที่มีการนำศิลปะร่วมสมัยจำลองเป็นรูปเปลือกหอยทำจากดอกสัปปะรดซึ่งเป็นดอกไม้ประจำถิ่นของเบลเยียม ลำดับที่ 3 เป็นของประเทศภูฏาน ซึ่งได้นำสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของชาวภูฏานที่เรียบง่ายและเกี่ยวข้องกับธรรมชาติตามหลักปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา
สำหรับผลการประกาศผลรางวัลการจัดสวนประเภทสวนในอาคาร รางวัลชนะเลิศยังคงเป็นของประเทศญี่ปุ่น เพราะนอกจากจะนำดอกซากุระมาจัดแสดง ยังนำขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาจัดแสดงอีกด้วย สวนลำดับที่ 2 เป็นของประเทศบรูไน และสวนลำดับที่ 3 เป็นของประเทศไนจีเรีย
ภายหลังจากพิธีปิดงานมหกรรมพืชสวนโลกแล้ว ภายในระยะเวลา 2 เดือน เพื่อปิดปรับปรุงพื้นที่ให้คงใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์จัดการแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นสวนไว้และนำศิลปะทางล้านนาเข้าไปเพิ่มเติม ส่วนทางด้านการบริหารงาน จะเป็นการบริหารงานในรูปของมูลนิธิร่วมกับคณะกรรมการบริหารการจัดการ โดยนำเจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องขององค์กรท้องถิ่นเข้ามาร่วมดำเนินงาน
ที่มา: Axis Graphic Limited
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment