เทคโนโลยีปี 2007
ปี ค.ศ.2007 เป็นปีที่องค์กรใหญ่ต่างๆ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีหลักสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ แข่งขันกันอย่างรุนแรงด้วยการเพิ่มศักยภาพสินค้าของตนและกระจายออกไปให้กว้างที่สุด ซึ่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารในหน่วยงานไอทีต้องให้ความสนใจติดตามไม่ให้พลาดเลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งสิ่งที่พอจะคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้ามีอยู่ 5 เทคโนโลยีด้วยกัน คือ
1.เทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification : RFID) หนึ่งในเทคโนโลยีล่าสุดของโลกที่เกี่ยวกับระบบการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ สามารถใช้ในการระบุเอลักษณ์ของวัตถุ บอกตำแหน่งติดตามและตรวจสอบสินค้าโดยการใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการฝั่งไมโครชิปเก็บข้อมูลและสายอากาศ และทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล เทคโนโลยีนี้กำลังถากที่สุดในระยะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา และ Wal Mart ผู้ค้าปลกรายใหญ่ในสหรัฐ ได้ริเริ่มประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมกับตนใช้เทคโนโลยีกับสินค้าต่างๆ
เทคโนโลยี RFID มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยมีมูลค่ารวมในตลาดโลกสูงนับแสนล้านบาท ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้ออกนบายสนับสนุนการใช้ RFID อย่างจริงจัง เนื่องจากเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ตั้งแต่ใช้ในระบบตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร ระบบการบันทึกข้อมูลจัดการสินค้าระหว่างการผลิตแบะจำหน่ายสินค้า ระบบตรวจสอบติดตามตู้สินค้าระหว่างการขนส่งในธุรกิจขนส่ง ระบบตรวจสอบและควบคุมเส้นทางการเดินรถ และอื่นๆ อีกมากมาย
แล้วทำไมต้องใช้ RFID ด้วย คำตอบก็คือ ผู้ผลิตรายใหญ่ 2-3 รายได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ในหน่วยงานของตน ทำให้มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่บริษัทคู่ค้ารายเล็กๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวให้ทันกับบริษัทคู่ค้ารายยักษ์ มิฉะนั้นตนเองอาจจะต้องสูญเสียลูกค้ารายนั้นไปเพราะไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลทางด้านสินค้าต่อกันได้
แล้วเมื่อไหร่จะมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ คำตอบก็จะเห็นในเร็ววันนี้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ และ Wal-Mart ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มใช้ระบบดังกล่าวได้ชะลอการใช้งาน RFID เอาไว้สักระยะเพื่อรอเวลาที่สุกงอม
2.เว็บเซอร์วิส (We Services) คือการใช้เว็บที่ไม่เพียงแค่เกี่ยวกับข้อมูลอย่างเดียว แต่หมายถึงการบริการด้วย หรืออีกนับหนึ่งอาจจะเรียกว่า Web Application ยุคใหม่ก็ได้ ซึ่งเว็บดังกล่าวนี้ก็จะประกอบไปด้วยส่วนย่อยๆ ที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถติดตั้ง ค้นหา เริ่มทำงานได้ผ่านเว็บเซอร์วิส สามารถทำอะไรก็ได้ตั้งแต่งานง่ายๆ เช่น ดึงข้อมูล จนถึงกระบวนการทางธุรกิจที่ซับซ้อน เมื่อเว็บเซอร์วิสตัวใดตัวหนึ่งเริ่มทำงาน เว็บเซอร์วิสตัวอื่นก็สามารถรับรู้และเริ่มทำงานได้อีกด้วย
เมื่อปีที่แล้ว เราอาจจะเห็นการใช้ Webification ในองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นซอฟแวร์ให้บริการที่เราเคยใช้มาแล้วอย่าง mashups, Web 2.0, RSS feeds เว็บที่เข้าไปแก้ไขข้อมูลได้อย่าง Wikis หรือการเขียนข้อมูลบล็อกต่างๆ แต่เว็บเซอร์วิสนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ทำงานได้มากขึ้น ตอบสนองความต้องการได้อย่างที่ยังไม่เคยมีซอฟแวร์ไหนทำได้
ดังนั้น ผู้จัดการฝ่ายไอทีจึงจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบของการสร้างเว็บพื้นฐานไว้หลายรูปแบบเพื่อรองรับการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ถ้าคุฯต้องเข้าไปใช้บริการค้นหาเส้นทางในเว็บบริการแผนที่ ไม่ว่าจะเป็นเว็บยาฮู หรือ
กูเกิล เพียงแค่คุณใส่สถานที่ที่คุณอยู่มันก็บอกสถานที่ที่คุณควรจะไปเพื่อพบลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณได้
เป็นต้น
3.ระบบเก็บข้อมูลเสมือนจริง (Server Virtualization) เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงคือการเก็บข้อมูลได้เพิ่มมากขึ้นบนพื้นที่ของหน่วยความจำเดิม หรือเซิร์ฟเวอร์ขนาดเดิมแต่ได้จำนวนที่เพิ่มมากขึ้นให้กับผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง เซิร์ฟเวอร์เครื่องเสมือนจริงนี้สามารถดึงกังของพีซียูของเครื่องจริงเครื่องใดที่ยังเหลือหรือว่างอยู่มาใช้งานได้ และในทำนองเดียวกันมันสามารถเก็บข้อมูลลงบน “ฮาร์ดดิสก์เสมือนจริง” ซึ่งที่จริงก็คือเก็บข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์จริงที่อยู่ที่ไหนก็ได้
ด้วยหลักการทำงานแบบนี้จะเห็นว่า ข้อมูลหรือไฟล์เอกสารต่างๆ สามารถวิ่งให้บริการผู้ใช้อยู่บนฮาร์ดแวร์จริงได้หลายๆ เครื่องทำให้เกิดความต่อเนื่องในการบริการอย่างสูง แม้จะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงบางเครื่องที่มีปัญหา หรือเสียใช้งานไม่ได้ ก็ไม่มีผลกระทบต่อการใช้งาน
นอกจากนี้ แอพลิเคชันเองยังมีประสิทธิภาพของการให้บริการที่ดีอีกด้วย เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้จะเข้ามาช่วยให้การใช้งานเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเรายังสามารถขยายการใช้งานติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ออกไปยังศูนย์สำรองได้อีกด้วย เรายังใช้ลักษณะเดียวกันนี้กับระบบจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถออกแบบให้มีระบบจัดเก็บข้อมูลจริงอยู่ 2-3 ชุด ที่ศูนย์หลักและศูนย์สำรองได้ด้วยเช่นกัน โดยแอพพลิเคชันหรือเซิร์ฟเวอร์จะมองเห็นเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว
ถึงจุดนี้จะเห็นว่าเทคโนโลยีเสมือนจริงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและความอัจฉริยะเพียงพอที่จะรองรับการทำงานเหล่านี้ เพื่อเชื่อมต่อทรัพยากรจริงทั้งหลายให้กลายเป็นทรัพยากรเสมือนได้ ฉะนั้นปัจจัยหลักพื้นฐานที่จะสร้างระบบเสมือนจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ
การเตรียมระบบเครือข่ายอัจฉริยะเสียตั้งแต่วันนี้ในอนาคตเซิร์ฟเวอร์ และระบบเก็บข้อมูลเสมือนจริง การบริการของข้อมูลต่างๆ ที่ให้กับผู้ใช้ หรือให้กับแอพพลิเคชันไม่จำเป็นต้องรู้ว่าบริการเหล่านั้นอยู่ที่ใดหรืออยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องไหน แต่จะเรียกใช้บริการจากเครือข่ายได้โดยตรง
4.การทำงานด้านกราฟฟิกที่พัฒนาไปอีกขั้น (Advanced Graphic Processing) ก่อนหน้านี้เราจะเห็นการใช้ระบบ 3 ดี กับการเล่นเกมหรือผู้ใช้งานกราฟฟิกนักดีไซน์ต่างๆ เท่านั้น แต่ต่อจากนี้ไปการใช้เทคโนโลยี 3 ดี จะถูกนำมาใช้กับการใช้งานทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสตา ก็ได้รับการพัฒนาออกแบบให้มีลักษณะ 3 ดี เข้าไปใช้ในการใช้งานปกติด้วย
ฉะนั้น ต่อไปเราจะได้เห็นการใช้ 3 ดี ในงานต่างๆ เช่น โลโก้ของโรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น หรือในเว็บไซต์ต่างๆ บล็อกต่างๆ ก็มี 3 ดีอยู่ด้วย ทำให้การใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ มีมิติและเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น
ปีนี้เราจะได้เห็น 3 ดีฟังก์ชันหรือส่วนหนึ่งในการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป การใช้งาน3 ดีจะไม่ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ อย่างงานออกแบบหรือเกมอีกแล้ว ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ก็จะต้องถูกออกแบบให้รองรับกับการทำงานในระบบ 3 ดีจนกลายเป็นเรื่องปกติ
5.ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย (Mobile Security) เพราะความก้าวห้าของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีนับตั้งแต่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สาย อะไรต่อมาที่มีสาก็ถูกคิดค้นและผลิตให้ไร้สายไปหมด อย่างประเทศไทยเองการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายก็เริ่มกระจายตัวสู่คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับแต่ก่อนที่แทบจะไม่มี และไมมีใครรู้จัก
แม้กระทั้งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กก็ถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมโยงกับเครือข้ายไร้สายเหล่านี้ได้ ดังนั้นเมื่อมีการใช้งานก็ต้องมีคนจ้องทำลาย เช่นเดียวกันกับการใช้อินเตอร์เน็ตตามบ้าน หรือตามสำนักงานที่ต้องเจอไวรัส หนอน ฟิชชง แฮกเกอร์ เป็นต้น โดยผู้ก่อการร้ายบนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่หวังผลทางด้านการเงิน ในเมื่อเหล่าบรรดาผู้ให้บริการซอฟแวร์ก็มีซอฟต์แวร์จัดการกับผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ก็มี ซอฟต์แวร์จัดการกับผู้ก่อการร้ายเหล่านี้แล้ว
เมื่อผู้ใช้บริการการสื่อสารไร้สายมากขึ้นก็ต้องมีซอฟแวร์เพื่อป้องกันผู้ใช้เหล่านี้ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในอนาคตอันใกล้ที่สุดนี้ ประชาชนทั่วไปที่ใช้งานบนเครือข่ายไร้สายก็จะปลอดภัยกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น ก็ต้องค่อยดูต่อไปว่าปีนี้จะมีซอฟต์แวร์อะไรเด็ดๆ ออกมาให้ได้ใช้กันบ้าง
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ TODAY
Friday, January 5, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment