วิจัยฝังชิพในสัตว์
ศูนย์เนคเทคหนุนทีมสัตวแพทย์ จุฬาฯ ฝังชิพอัจฉริยะในตัวสัตว์อาหาร มุ่งศึกษาประสิทธิภาพของชิพและดูผลกระทบที่อาจเกิดในสัตว์ทดลอง ขณะที่ฟาร์มหมูราชบุรีและนครปฐมส้มหล่น ถูกทดสอบเป็นรายแรก
ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการโครงการโปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า เนคเทคสนับสนุนทุนวิจัยให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดลองนำชุดอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่งข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุ สำหรับเก็บข้อมูลของกระต่าย วัว กระบือ แพะ แกะ และหมูที่ฟาร์มตัวอย่างราชบุรีและนครปฐม
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง เนคเทคและกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อบรรเทาปัญหาโรคหวัดนกที่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ไปยังต่างประเทศ กำหนดระยะเวลาศึกษาเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ซึ่งเริ่มตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา รวมทั้งศึกษาผลที่จะได้รับก่อนนำข้อมูลไปกำหนดมาตรฐานตรวจสอบย้อนกลับในไทยให้แล้วภายในสิ้นปีนี้
ในต่างประเทศ เช่น ยุโรป ได้ริเริ่มนำชิพอาร์เอฟไอดีไปใช้งานในปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย โดยในยุคแรกเป็นป้ายติดไว้ที่หูสัตว์ เช่น วัว หมู ข้อมูลของสัตว์แต่ละตัวจะถูกบันทึกไว้ในชิพ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้สะดวกผ่านสัญญาณไร้สาย
ด้านนายอนุกูล น้อยไม้ จากเนคเทค กล่าวว่า อาร์เอฟไอดีมีการพัฒนามาแล้วกว่า 2 ปี แต่เพิ่งจะตื่นตัวนำมาใช้กับวงการเนื้อสัตว์ไทย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้าในเรื่องการส่งออก ในเรื่องของประวัติสัตว์ เช่น สายพันธุ์ ที่มา อาหารที่กิน อายุ วันเดือนปีเกิด
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Wednesday, March 7, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment