ดวงอาทิตย์จุดเทอร์โบใส่อุกกาบาต
นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนพื้นผิวส่งผลให้อุกกาบาตหมุนเร็วขึ้น และมีวงโคจรที่ไม่หยุดนิ่ง
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติสามารถยืนยันทฤษฎีที่เชื่อกันมานานว่า คลื่นแสงจากดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อการหมุนรอบตัวเองของอุกกาบาต เนื่องจากคลื่นแสงกระทบยังพื้นผิวที่บิดเบี้ยวของอุกกาบาตเหมือนมีแรงมาช่วยหมุน แต่ทฤษฎีดังกล่าวยังไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นชัดเสียที ทีมงานจึงเฝ้าจับตาอุกกาบาตสองก้อน ก้อนแรกมีขนาด 1.5 กม. อีกก้อนขนาด 111 เมตร
ทฤษฎีดังกล่าวเสนอว่า เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับอุกกบาตรก่อนจะแผ่คลื่นความร้อนกลับไปสู่อวกาศ เนื่องจากอุกกาบาตไม่ได้กลมเหมือนดาวเคราะห์ คลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนที่ผลักให้อุกกาบาตหมุนเร็วขึ้น
นักวิจัย กล่าวว่า อุกกาบาตจะหมุนติ้วเร็วมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่แสงแดดตกกระทบ เปรียบได้กับกังหันลมที่ลมเข้ามาปะทะ ถ้าลมแรงมันก็หมุนเร็ว ถ้าลมเอื่อยก็หมุนช้า
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ได้คำนวณพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต่ออุกกาบาต และเมื่อนำไปคำนวณหารอบหมุนตัวของอุกกาบาตในช่วงหลายปีพบว่าสอดคล้องกับสูตรที่คำนวณไว้
พวกเขาใช้กล้องโทรทรรศน์และเรดาร์จับตาดูการหมุนรอบตัวเองของอุกกาบาต2000 พีเอช 5 อุกกาบาตลูกเล็กที่อยู่ใกล้โลก พบว่าหมุนเร็วขึ้นปีละ 1/พันวินาที มีผลให้วงโคจรของมันเข้าๆ เอาๆ วงโคจรของโลก และมีระยะห่างจากโลกใกล้สุดเท่ากับ 5 เท่าของระยะห่างจากโลกใกล้สุดเท่ากับ 5 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นแม้จะเล็กน้อยมาก แต่ถ้าเทียบกับขนาดของอุกกาบาตขนาดเล็กแล้วต้องยอมรับว่ามันหมุนเร็วขึ้นมาก” นักวิจัย กล่าว
นักวิจัยยังกล่าวถึงอพอลโล 1862 ซึ่งเป็นอุกกาบาตอีกลูกที่ใหญ่กว่า รอบที่หมุนเร็วขึ้นอาจทำให้อุกกาบาตลูกนี้กะเทาะ เห็นได้จากอุกกาบาตลูกนี้มีบริวารขนาดเล็กวนเวียนอยู่ใกล้ๆ เหมือนดวงจันทร์ ซึ่งน่าจะเป็นเศษที่แตกออกมา
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment