Tuesday, July 10, 2007

โซลาร์เซลล์ไทยโกอินเตอร์ แต่คนในประเทศอดใช้เพราะกฎหมายไม่เอื้อ

550000008885204


ผอ
.
สถาบันพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ชี้
กฎหมายยังคงไม่เอื้อให้คนไทยได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
แต่พอเห็นเค้าลางความเปลี่ยนแปลง
บ่นเสียดายเทคโนโลยีแสงอาทิตย์ไทยกำลังโกอินเตอร์
ด้วยเทคนิคชั้นนำระดับโลก
แต่คนไทยกลับไมได้ใช้

ท่ามกลางกระแสตระหนักถึง
ภาวะโลกร้อน
ไม่เว้นแต่ละวัน
พลังงานแสงอาทิตย์
ถูกหยิบยกขึ้นมาปัดฝุ่นพิจารณาในฐานะพลังงานสะอาด
ทว่าการขาดมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐก็เป็น
คอขวด
ของปัญหาที่สำคัญ
ที่แม้คนไทยจะผลิตแผงโซลาร์เซลล์ได้เอง
จนกระทั่งมีเอกชนส่งขายเยอรมนีนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละเกือบหมื่นล้านบาท
แต่กลับไม่มีการใช้งานในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย

ดร
.
พอพนธ์
สิชฌนุกฤษฏ์
ผอ
.
สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
(
ไอเซ็ท
)
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
(
ทีเอ็มซี
)
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เปิดเผยเมื่อวันที่
9
.
.
ว่า
ที่ผ่านมานโยบายสนับสนุนของไทยไม่เอื้อต่อการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์นัก

"
แม้ทางไอเซ็ทจะได้ให้คำแนะนำไปบ้าง
แต่ก็ไม่อยู่ในขอบเขตที่เข้าไปข้องเกี่ยวได้มาก
เช่น
มาตรการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ในราคาแพงสำหรับระบบที่มีกำลังการผลิต
6
เมกะวัตต์ขึ้นไป
ซึ่งถือว่าดีขึ้นกว่าอดีต
แต่ยังไม่ครอบคลุมการใช้งานขนาดเล็กระดับครัวเรือนที่ทำให้เห็นผลได้มากขึ้น
"

โจทย์สำคัญคือการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในระดับแนวหน้าของโลก
มีสายการผลิตต้นแบบให้เห็นการทำงานจริง
และมีต้นทุนต่ำลงจนง่ายแก่การซื้อหา
รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้สังคมรู้จักด้วยการติดตั้งในสถานที่สำคัญๆ
เช่น
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
และสโมสรรัฐสภา
จนเกิดความต้องการใช้งานในวงกว้าง
เพื่อเป็นกลไกให้มีนโยบายสนับสนุนตามมา
หลังจากเห็นว่าสิ่งที่เรามีอยู่ดีจริงแต่เรากลับยังไม่ได้ใช้ประโยชน์
ผอ
.
ไอเซ็ท
กล่าว

ทั้งนี้
ดร
.
พอพนธ์
กล่าวด้วยว่า
ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยได้มีความก้าวหน้าไปมากแล้ว
ทั้งเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทยอย่างชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอนที่มีประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการสูงถึง
15.7%
และชนิดสีย้อมที่มีประสิทธิภาพราว
10%

ผลการวิจัยดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้ผลิตทั้งไฟฟ้าเพื่อตัดยอดการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีคไทม์
และยังสามารถใช้ผลิตน้ำร้อนได้ด้วย
โดยได้มีการถ่ายทอดให้กับบริษัทเอกชนหลายแห่งในประเทศหลายรายแล้ว
ล่าสุด
จีนและไต้หวันก็เป็น
2
ประเทศที่กำลังมีข้อตกลงกับไทยเพื่อใช้ระบบดังกล่าว
คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จ
.
.
นี้
ผอ
.
ไอเซ็ททิ้งท้าย

ที่มา
: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000079995

No comments: