ภารกิจที่น่าเบื่อหน่ายที่สุดของนักเลี้ยงปลาสวยงามคือล้างตู้ปลา ขัดตะไคร่ ทีมวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติจึงร่วมกับภาคเอกชนคิดค้นสารเคลือบช่วยตู้ปลาใสปิ๊งนานเป็นเดือนจากเดิมที่ต้องล้างทุกอาทิตย์
ดร.ณัฏฐพรพิมพะ นักวิจัยโครงการพัฒนาสารผสมไททาเนียมไดออกไซด์สำหรับเคลือบเซรามิกบำบัดน้ำในตู้ปลา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ทดลองนำสารไททาเนียมไดออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียอี. โคไล มาเคลือบเม็ดเซรามิกใส่ตู้ปลาเพื่อลดตะไคร่น้ำและแบคทีเรีย
ทีมวิจัยเลือกใช้ปลาทองและปลาแดงเพื่อดูผลกระทบที่เกิดกับปลาเมื่อใส่เม็ดเซรามิกลงในตู้ปลาเนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่ไวต่อปฏิกิริยาแปลกปลอม ส่วนปลาแดงมีความทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม
หลังจากเลี้ยงปลาทั้งสองชนิดในตู้ปลาแช่เม็ดเซรามิกเคลือบไททาเนียมนาน1 เดือนโดยไม่มีระบบกรองน้ำ มีเพียงเครื่องเติมออกซิเจนเพียงเครื่องเดียว ให้อาหารปกติ แสงแดดเท่ากัน อายุปลาเท่ากัน เปรียบเทียบกับระหว่างตู้ที่ใส่เซรามิกเคลือบสารและไม่เคลือบสาร
"ผลการทดลองพบว่า ตู้ที่ใส่เซรามิกที่เคลือบสารดังกล่าวหากพ่นในอัตราไม่เกิน 1% ต่อปริมาตรของเซรามิก จะไม่ส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของปลา สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้กว่า 99% และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำได้ แต่หากพ่นมากกว่า 1% อาจทำให้เป็นพิษจนเกล็ดปลาหลุดได้ นักวิจัย กล่าว
เมื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำวัดปริมาณออกซิเจนพบว่าน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณภาพและสามารถยืดเวลาการทำความสะอาดจากสัปดาห์ละครั้งเป็นเดือนละครั้งได้ โดยอายุการใช้งานของสารเคลือบดังกล่าวหลังทดสอบไปแล้ว 1 เดือน ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยที่สารไม่ละลายน้ำ
งานวิจัยดังกล่าวอยู่ระหว่างยื่นจดอนุสิทธิบัตรประเทศไทยโดยที่ผ่านมาได้นำเสนอผลงานวิชาการในเวทีประชุมวิชาการระดับประเทศและนานาชาติไปแล้ว ช่วงนี้อยู่ระหว่างการต่อยอดการวิจัยด้วยการนำสารที่พัฒนาได้ไปทดลองเคลือบอุปกรณ์ตกแต่งตู้ปลาชนิดอื่นๆ อาทิ ต้นไม้พลาสติก อุปกรณ์กรองน้ำ เพื่อดูประสิทธิภาพการยับยั้งแบคทีเรียและการยืดอายุน้ำในตู้ปลา และกำลังจะพัฒนาสูตร
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment