Thursday, November 9, 2006

ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์

หมอกหนาฟ้ามัวคนกรุงอดชม "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์"

ปรากฏการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" ช่วงเช้า น่าเสียดายที่ชาวกรุงเทพฯ ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เมฆหมอกหนาและกลุ่มควันทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ไม่ชัดเจน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งใน 10 ปีข้างหน้า

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" (Mercury Transit) ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.10 - 07.11 น. (ประมาณ 60 นาที) ส่วนท้องฟ้าบริเวณประเทศไทย ที่คาดคะเนว่าจะเห็นปรากฏการณ์ในช่วงปลายนั้น เป็นที่น่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ที่มีหมอกควันหนารบกวน ทำให้ยากแก่การสังเกตหากไม่ใช้กล้องโทรทัศน์

ปรากฏการณ์ "ทรานซิท" (transit) เป็นอุปราคารูปแบบหนึ่ง เหมือนสุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) เพียงแต่ดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์มาก จึงดูคล้ายเป็นจุดดำที่เคลื่อนที่ผ่านตัวดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์ที่จะทรานซิทได้มีเพียง 2 ดวงคือดาวพุธและดาวศุกร์ โดยครั้งนี้โลก ดาวพุธ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี คล้ายกับการเกิดสุริยุปราคาของดวงจันทร์ ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์

ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์บ่อยกว่าดาวศุกร์ การทรานซิทดาวพุธเกิดขึ้นได้ราวๆทุก 7 ปี กระนั้นก็ตามปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ผ่าหน้าดวงอาทิตย์ก็ยังหาชมได้ยากยิ่ง โดยในรอบศตวรรษจะเกิดขึ้นเพียง 13 ครั้งเท่านั้น และผู้คนบนผืนโลกจะสังเกตได้เพียงแค่ 6 ครั้ง

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 21.57 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากประเทศไทย ส่วนปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่สังเกตได้ง่ายกว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 เวลา 07.28 น. (ตามเวลาประเทศไทย)

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 180 เท่าของดวงอาทิตย์ ห่างจากโลกเพียงแค่ 77 ล้านกิโลเมตร ส่วนปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์นั้นนักดาราศาสตร์สังเกตเห็นครั้งแรกในปี 2174

ที่มา : manageronline

No comments: