Wednesday, November 29, 2006
รถอัจฉริยะไร้คนขับ
เอไอทีโชว์ต้นแบบสู่ “รถอัจฉริยะไร้คนขับ”
เอไอทีโชว์ “รถอัจฉริยะไร้คนขับ”ต้นแบบขับเคลื่อนบนเส้นทางได้เอง ใช้เวลาพัฒนา 2 เดือนโดยการสนับสนุนซีเกทและเนคเทค แต่ยังติดปัญหาที่เคลื่อนที่ไม่เสถียรในบริเวณที่ความเข้มแสงไม่คงที่ พร้อมจัดแข่งขันพัฒนารถอัจฉริยะ ส่งแชมป์ไปดูการแข่งขันระดับโลก “เออร์แบน ชาเลนจ์” ที่สหรัฐ
สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย (เอไอที) สาธิตการทำงานของรถอัจฉริยะไร้คนขับต้นแบบ ซึ่งสามารถขับเคลื่อนไปตามเส้นทางได้เองโดยไม่ต้องอาศัยคนบังคับ ทั้งนี้ รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล อาจารย์ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมอุตสาหการ เอไอที อธิบายการทำงานของรถคันดังกล่าวว่า กล้องที่ติดอยู่หน้าตัวรถนั้นจะรับภาพแล้วส่งไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ติดตั้งภายในรถ เพื่อตัดสินใจในการเลี้ยวซ้าย-ขวา หรือหยุดรถตามสภาพของถนน และรถอัจฉริยะต้นแบบของเอไอทีนี้ เป็นโครงการของภาควิชาเมคาโทรนิคส์ที่ใช้เวลาพัฒนา 2 เดือนโดยการสนับสนุนของ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค)
อย่างไรก็ตามรถต้นแบบดังกล่าวยังประสบปัญหาในเรื่องความไม่เสถียรเมื่อขับเคลื่อนในสถานที่มีความเข้มแสงไม่คงที่ และต้องอาศัยคนเข้าไปปรับค่าคงที่เพื่อให้รถขับเคลื่อนไปได้ ซึ่ง รศ.ดร.มนูกิจกล่าวว่าเป็นจุดที่ยังต้องพัฒนาต่อไป ส่วนความเร็วของรถอยู่ที่ 3.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งยังห่างไกลที่จะนำไปใช้ในการวิ่งตามท้องถนนจริงๆ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีความเร็วขั้นต่ำ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากยังกล่าวอีกว่าศาสตร์ในการออกแบบรถยนต์อัจฉริยะไร้คนขับนี้ยังเป็นศาสตร์เดียวกับที่ใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ในโรงงาน เครื่องจักรกลต่างๆ รวมถึงสายพานในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
พร้อมกันนี้เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนารถอัจฉริยะ บริษัท ซีเกท สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และเอไอที จึงได้ร่วมกันจัดแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาได้ร่วมกันสร้าง “รถอัจฉริยะไร้คนขับ” ที่สามารถขับเคลื่อนได้เองบนเส้นทางที่กำหนดให้ได้ระยะทางที่ไกลที่สุดและเร็วที่สุด และต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ของซีเกท รุ่น อีอี 25 (EE25 series) โดยผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาไปจนถึงระดับปริญญาเอก และผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท พร้อมโอกาสในการเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์แข่งขัน “เออร์แบน ชาเลนจ์” (Urban Challenge) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 8 ธ.ค. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ise.ait.ac.th/TIVChallenge/index.htm
ที่มา manageronline
Tuesday, November 28, 2006
กลุ่ม"ดาวแคระแดง"
กลุ่ม"ดาวแคระแดง" เพื่อนบ้านดวงอาทิตย์
สมาคมดาราศาสตร์ไทย รายงานว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ ช่วยให้ไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ค้นพบระบบดาวหลายดวงเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่ง ทั้งยังไม่ใช่ดาวที่อยู่ไกลโพ้น แต่เป็นดาวเพื่อนบ้านของดวงทิตย์นี่เอง
การค้นพบดังกล่าวเป็นผลงานของ "โครงการวิจัยรีคอนส์" มีเป้าหมายมุ่งศึกษาดาวฤกษ์ในละแวกใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ ทั้งในด้านมวล ช่วงวิวัฒนาการ และอัตราส่วนของระบบดาวหลายดวงว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
ภารกิจของนักวิจัยคือหาสมบัติด้านต่างๆ ของดาวฤกษ์และดาวแคระน้ำตาลใกล้ดวงอาทิตย์ เช่น ตำแหน่ง ความสว่าง สี รวมถึงการวัดสเปกตรัมเพื่อหาองค์ประกอบของบรรยากาศ วัตถุที่คาดว่าจะได้พบได้แก่ดาวที่มีมวลต่ำมาก เช่นดาวสเปกตรัมเอ็ม แอล และที อาจรวมถึงราวแคระน้ำตาลด้วย
สำหรับวัตถุใหม่ที่พบทั้ง 20 ดวงเป็นดาวแคระแดง ซึ่งเป็นวัตถุที่จางที่สุดชนิดหนึ่งแต่ก็มีมากที่สุดในทางช้างเผือกด้วย คาดว่าดาวในดาราจักรทางช้างเผือกเป็นดาวแคระแดงถึงร้อยละ 69
ด้วยเหตุที่ดาวพวกนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงเป็นเป้าหมายที่ดีในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นด้วย และอาจรวมถึงการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวดาวเคราะห์เหล่านั้นเช่นกัน
ที่มา : khaosod
สมาคมดาราศาสตร์ไทย รายงานว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ ช่วยให้ไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ค้นพบระบบดาวหลายดวงเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่ง ทั้งยังไม่ใช่ดาวที่อยู่ไกลโพ้น แต่เป็นดาวเพื่อนบ้านของดวงทิตย์นี่เอง
การค้นพบดังกล่าวเป็นผลงานของ "โครงการวิจัยรีคอนส์" มีเป้าหมายมุ่งศึกษาดาวฤกษ์ในละแวกใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ ทั้งในด้านมวล ช่วงวิวัฒนาการ และอัตราส่วนของระบบดาวหลายดวงว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
ภารกิจของนักวิจัยคือหาสมบัติด้านต่างๆ ของดาวฤกษ์และดาวแคระน้ำตาลใกล้ดวงอาทิตย์ เช่น ตำแหน่ง ความสว่าง สี รวมถึงการวัดสเปกตรัมเพื่อหาองค์ประกอบของบรรยากาศ วัตถุที่คาดว่าจะได้พบได้แก่ดาวที่มีมวลต่ำมาก เช่นดาวสเปกตรัมเอ็ม แอล และที อาจรวมถึงราวแคระน้ำตาลด้วย
สำหรับวัตถุใหม่ที่พบทั้ง 20 ดวงเป็นดาวแคระแดง ซึ่งเป็นวัตถุที่จางที่สุดชนิดหนึ่งแต่ก็มีมากที่สุดในทางช้างเผือกด้วย คาดว่าดาวในดาราจักรทางช้างเผือกเป็นดาวแคระแดงถึงร้อยละ 69
ด้วยเหตุที่ดาวพวกนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงเป็นเป้าหมายที่ดีในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นด้วย และอาจรวมถึงการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวดาวเคราะห์เหล่านั้นเช่นกัน
ที่มา : khaosod
อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์
สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต มักมาเป็นคู่ อยู่เคียงกันเพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เป็นแรงบันดาลใจ คอยให้กำลังใจ หรือแม้กระทั่งแบ่งปันความสนุกและความสุขร่วมกัน
เราต้องการเห็นช่วงเวลาดีดีเหล่านั้นจากฝีมือถ่ายภาพของคุณ
การตัดสินภาพถ่าย จะดูจากความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยในภาพต้องแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของความเป็นคู่ ไม่จำกัดว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของ การตัดสินจะคัดเลือกจาก 2 ภาพถ่ายที่ชนะใจกรรมการ 6 ภาพจากแต่ละภูมิภาค (1.ภูมิภาคจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง หรือ 2.ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่เหลือ)
อินเทลตระหนักถึงพลังแห่งความเป็น "คู่" จึงได้พัฒนาโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นซีพียูที่มีแกนประมวผล 2 แกนหลัก เปรียบเหมือนกับมี 2 สมอง ช่วยกันออกคำสั่งให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นเป็น 2 เท่า สำหรับโน้ตบุ๊กที่ใช้ อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันยังใช้พลังงานน้อยกว่าถึงร้อยละ 28 ผู้ใช้จะมีโอกาสได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมาย ไม่ว่าจะเล่นเกม ดูหนัง หรือความบันเทิงอื่นๆ ก็ตาม
หมดเขต วันที่ 11 ธันวาคม 2549 เวลา 11.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย)
ที่มา: http://www.intelapacphotocompetition.com/th/content.php
เราต้องการเห็นช่วงเวลาดีดีเหล่านั้นจากฝีมือถ่ายภาพของคุณ
การตัดสินภาพถ่าย จะดูจากความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยในภาพต้องแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของความเป็นคู่ ไม่จำกัดว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของ การตัดสินจะคัดเลือกจาก 2 ภาพถ่ายที่ชนะใจกรรมการ 6 ภาพจากแต่ละภูมิภาค (1.ภูมิภาคจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง หรือ 2.ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่เหลือ)
อินเทลตระหนักถึงพลังแห่งความเป็น "คู่" จึงได้พัฒนาโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นซีพียูที่มีแกนประมวผล 2 แกนหลัก เปรียบเหมือนกับมี 2 สมอง ช่วยกันออกคำสั่งให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นเป็น 2 เท่า สำหรับโน้ตบุ๊กที่ใช้ อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันยังใช้พลังงานน้อยกว่าถึงร้อยละ 28 ผู้ใช้จะมีโอกาสได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมาย ไม่ว่าจะเล่นเกม ดูหนัง หรือความบันเทิงอื่นๆ ก็ตาม
หมดเขต วันที่ 11 ธันวาคม 2549 เวลา 11.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย)
ที่มา: http://www.intelapacphotocompetition.com/th/content.php
ร่มไฮเทค
ร่มไฮเทคกางไปดูเว็บไซต์ไป
นักศึกษาป.เอก ญี่ปุ่น คิดร่มต้นแบบที่กางไปดูเว็บไซต์ไปแก้เบื่อเวลาฝนตก โดยฉายภาพผ่านโปรเจคเตอร์
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นักศึกษาระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเคย์โอะ (Keio University) โชว์ร่ม “พิเลอุส (Pileus)” ในงานแสดงเทคโนโลยีขั้นสูงของมหาวิทยาลัยเคย์ โอะในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรายงานข่าวระบุว่า จุดประสงค์ที่คิดค้นร่มดังกล่าวขึ้นเพื่อแก้เบื่อเวลาฝนตก โดยผ้าของร่มทำหน้าที่คล้ายฉากรับภาพจากเครื่องโปรเจคเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูภาพหรือชมเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตขณะใช้ร่มบังฝนได้
สำหรับหลักการทำงานของร่มพิเลอุส ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดไฟล์ภาพหรือไฟล์ข้อมูลอื่นที่ต้องการมาเก็บไว้ในโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งไว้บริเวณก้านร่ม ซึ่งสามารถดูเว็บไซต์ต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต และดูภาพในไฟล์ที่เก็บไว้ได้
ที่มา : dailynews
นักศึกษาป.เอก ญี่ปุ่น คิดร่มต้นแบบที่กางไปดูเว็บไซต์ไปแก้เบื่อเวลาฝนตก โดยฉายภาพผ่านโปรเจคเตอร์
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นักศึกษาระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเคย์โอะ (Keio University) โชว์ร่ม “พิเลอุส (Pileus)” ในงานแสดงเทคโนโลยีขั้นสูงของมหาวิทยาลัยเคย์ โอะในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรายงานข่าวระบุว่า จุดประสงค์ที่คิดค้นร่มดังกล่าวขึ้นเพื่อแก้เบื่อเวลาฝนตก โดยผ้าของร่มทำหน้าที่คล้ายฉากรับภาพจากเครื่องโปรเจคเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูภาพหรือชมเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตขณะใช้ร่มบังฝนได้
สำหรับหลักการทำงานของร่มพิเลอุส ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดไฟล์ภาพหรือไฟล์ข้อมูลอื่นที่ต้องการมาเก็บไว้ในโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งไว้บริเวณก้านร่ม ซึ่งสามารถดูเว็บไซต์ต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต และดูภาพในไฟล์ที่เก็บไว้ได้
ที่มา : dailynews
Monday, November 27, 2006
ส่งคนไปจัดการดาวเคราะห์น้อย
ส่งคนไปจัดการดาวเคราะห์น้อย ดันให้เหไปไม่เข้า มาชนกับโลก
องค์การอวกาศสหรัฐฯ กำลังเตรียมการจะส่งมนุษย์อวกาศ ไปหย่อนลงบนดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ที่กำลังทะยานไปในอวกาศด้วยอัตราความเร็วสูงถึง 480,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
หนังสือพิมพ์รายวัน “เดอะ กาเดียน” อันมีชื่อเสียงของอังกฤษเผยว่า องค์การมีจุดประสงค์ เพื่อต้องการหาความรู้ว่า มนุษย์จะมีวิธีใดบ้าง ที่จะหันเหดาวเคราะห์น้อยดวงใดดวงหนึ่ง ที่เกิดจะพุ่งเข้ามาชนโลก ให้เหห่างออกไปเสีย เหมือนกับในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง “อามาเกดอน” พระเอกบรูซ วิลลิส พยายามที่จะเหดาวเคราะห์น้อย ให้พ้นวิถีที่จะเข้ามาชนโลกเข้า
ข่าวกล่าวว่า แผน การนั้นยังอยู่ในขั้นต้นๆ และยานอวกาศจะใช้ส่งมนุษย์อวกาศ เดินทางรอนแรมในอวกาศไกลถึงขนาดนั้น ก็ยังอยู่บนโต๊ะเขียนแบบอยู่ หากแต่เรื่องก็มีมูล เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า มีดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กชื่อ “อโปฟิส” มีท่าว่าอาจจะมาโดนโลกเข้า ในปี พ.ศ.2569 นี้ได้
โฆษกขององค์ การ นายคริส แมคเคย์ กล่าวว่า ประชาชนต้องการให้เราเตรียมการรับมือกับดาวเคราะห์ น้อยเอาไว้ “ดังนั้นถ้าเราส่งมนุษย์อวกาศไปที่นั่นได้ และลองเอาไม้เขี่ยๆดู ก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่าทางวิทยาศาสตร์ และยังแสดงถึงขนาดความรู้ความสามารถของมนุษย์ด้วย
นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า หากมีดาว เคราะห์น้อยโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ยาว 1 กิโลเมตร และมีน้ำหนัก 1 พันล้านตัน มาชนโลกเฉี่ยวๆ เป็นมุมขนาด 45 องศา อาจทำให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างมหาประลัย เทียบเท่ากับการระเบิดของลูกระเบิดเธอร์โมนิวเคลียร์ขนาด 50,000 เมกะตัน.
ที่มา : thairath
องค์การอวกาศสหรัฐฯ กำลังเตรียมการจะส่งมนุษย์อวกาศ ไปหย่อนลงบนดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ที่กำลังทะยานไปในอวกาศด้วยอัตราความเร็วสูงถึง 480,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
หนังสือพิมพ์รายวัน “เดอะ กาเดียน” อันมีชื่อเสียงของอังกฤษเผยว่า องค์การมีจุดประสงค์ เพื่อต้องการหาความรู้ว่า มนุษย์จะมีวิธีใดบ้าง ที่จะหันเหดาวเคราะห์น้อยดวงใดดวงหนึ่ง ที่เกิดจะพุ่งเข้ามาชนโลก ให้เหห่างออกไปเสีย เหมือนกับในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง “อามาเกดอน” พระเอกบรูซ วิลลิส พยายามที่จะเหดาวเคราะห์น้อย ให้พ้นวิถีที่จะเข้ามาชนโลกเข้า
ข่าวกล่าวว่า แผน การนั้นยังอยู่ในขั้นต้นๆ และยานอวกาศจะใช้ส่งมนุษย์อวกาศ เดินทางรอนแรมในอวกาศไกลถึงขนาดนั้น ก็ยังอยู่บนโต๊ะเขียนแบบอยู่ หากแต่เรื่องก็มีมูล เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า มีดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กชื่อ “อโปฟิส” มีท่าว่าอาจจะมาโดนโลกเข้า ในปี พ.ศ.2569 นี้ได้
โฆษกขององค์ การ นายคริส แมคเคย์ กล่าวว่า ประชาชนต้องการให้เราเตรียมการรับมือกับดาวเคราะห์ น้อยเอาไว้ “ดังนั้นถ้าเราส่งมนุษย์อวกาศไปที่นั่นได้ และลองเอาไม้เขี่ยๆดู ก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่าทางวิทยาศาสตร์ และยังแสดงถึงขนาดความรู้ความสามารถของมนุษย์ด้วย
นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า หากมีดาว เคราะห์น้อยโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ยาว 1 กิโลเมตร และมีน้ำหนัก 1 พันล้านตัน มาชนโลกเฉี่ยวๆ เป็นมุมขนาด 45 องศา อาจทำให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างมหาประลัย เทียบเท่ากับการระเบิดของลูกระเบิดเธอร์โมนิวเคลียร์ขนาด 50,000 เมกะตัน.
ที่มา : thairath
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ฝีมือ มทร.อีสานช่วยชาติรับมือน้ำมันแพง
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ฝีมือ มทร.อีสานช่วยชาติรับมือน้ำมันแพง
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ฝีมือ มทร.อีสานช่วยชาติรับมือน้ำมันแพง
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
ระบบตรวจคลื่นยักษ์"สึนามิ"
ไทย-สหรัฐร่วมติดตั้ง ระบบตรวจคลื่นยักษ์"สึนามิ"
ไทย-สหรัฐร่วมมือติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิครั้งแรกในมหาสมุทรอินเดีย โดยจะทำการติดตั้งระบบในวันที่ 1-7 ธันวาคมนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเลอันดามันและรอบมหาสมุทรอินเดีย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ (DART II) เป็นครั้งแรกในมหาสมุทรอินเดีย โดยจะทำการติดตั้งระบบดังกล่าวในน่านน้ำสากลที่ละติจูด 9 องศาเหนือ ลองจิจูด 89 องศาตะวันออก ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 600 ไมล์ ในระหว่างวันที่ 1-7 ธันวาคม
การติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้เป็นการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ตลอดจนประชาชนในภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดีย การเกิดธรณีพิบัติภัยคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐ โดยหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (โนอา) จะมอบทุ่น DART II จำนวน 1 ทุ่น พร้อมทั้งอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งทุ่นครั้งนี้ โดยขอให้ประเทศไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับเรือวางทุ่นและดูแลรักษาระบบดังกล่าวในระยะยาว
สำหรับการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนเรือ M.V. SEAFDEC จากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรือจากกองทัพเรือเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบดังกล่าว
สำหรับระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิแบบทุ่นลอย ประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ส่วน
1. ส่วนที่เป็นแท่นใต้มหาสมุทร ติดตั้งอยู่ลึกลงไป 3,600 เมตรใต้ผิวน้ำทะเล ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันน้ำ เครื่องประมวลผล เครื่องส่งสัญญาณเสียงความถี่ต่ำและแบตเตอรี่
2. ส่วนที่เป็นทุ่นลอย ประกอบด้วยเครื่องรับคลื่นเสียงความถี่ต่ำจากแท่นใต้สมุทร เครื่องแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดาวเทียม เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม และแบตเตอรี่พลังแสงอาทิตย์
เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนผ่านแท่นใต้สมุทร ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความดันน้ำที่เครื่องวัดความดันน้ำ เครื่องจะแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณเสียงความถี่ต่ำ ส่งผ่านน้ำทะเลมายังทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแปลงสัญญาณดาวเทียม และถูกส่งต่อไปยังดาวเทียม แล้วดาวเทียมจะถ่ายทอดสัญญาณไปที่สถานีต่างๆ บนภาคพื้นดิน และที่ศูนย์เตือนภัยสึนามิของโนอา ข้อมูลดังกล่าวจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอในรูปกราฟความเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ เผยแพร่ในเว็บไซต์ และถ้าหากเป็นคลื่นสึนามิก็จะแจ้งเตือนไปยังพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิและศูนย์เตือนภัยพิบัติต่างๆ รอบมหาสมุทรอินเดีย
ทั้งนี้ ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อาศัยข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล เป็นข้อมูลหลักในการเตือนภัยสึนามิ โดยการประเมินโอกาสในการเกิดคลื่นสึนามิ เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นข้อมูลทางอ้อม การติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิแบบทุ่นลอยในครั้งนี้เป็นการวัดการเกิดคลื่นสึนามิโดยตรง จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับข้อมูลการเกิดคลื่นสึนามิตามเวลาจริง สามารถประเมินขนาดของคลื่นและเวลาที่คลื่นจะเข้ากระทบฝั่งได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง ตามมาตรฐาน ทำให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีความสามารถแจ้งเตือนภัยสึนามิได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อเพิ่มหลักประกันความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
ที่มา: khaosod
ไทย-สหรัฐร่วมมือติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิครั้งแรกในมหาสมุทรอินเดีย โดยจะทำการติดตั้งระบบในวันที่ 1-7 ธันวาคมนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเลอันดามันและรอบมหาสมุทรอินเดีย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ (DART II) เป็นครั้งแรกในมหาสมุทรอินเดีย โดยจะทำการติดตั้งระบบดังกล่าวในน่านน้ำสากลที่ละติจูด 9 องศาเหนือ ลองจิจูด 89 องศาตะวันออก ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 600 ไมล์ ในระหว่างวันที่ 1-7 ธันวาคม
การติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้เป็นการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ตลอดจนประชาชนในภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดีย การเกิดธรณีพิบัติภัยคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐ โดยหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (โนอา) จะมอบทุ่น DART II จำนวน 1 ทุ่น พร้อมทั้งอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งทุ่นครั้งนี้ โดยขอให้ประเทศไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับเรือวางทุ่นและดูแลรักษาระบบดังกล่าวในระยะยาว
สำหรับการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนเรือ M.V. SEAFDEC จากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรือจากกองทัพเรือเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบดังกล่าว
สำหรับระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิแบบทุ่นลอย ประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ส่วน
1. ส่วนที่เป็นแท่นใต้มหาสมุทร ติดตั้งอยู่ลึกลงไป 3,600 เมตรใต้ผิวน้ำทะเล ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันน้ำ เครื่องประมวลผล เครื่องส่งสัญญาณเสียงความถี่ต่ำและแบตเตอรี่
2. ส่วนที่เป็นทุ่นลอย ประกอบด้วยเครื่องรับคลื่นเสียงความถี่ต่ำจากแท่นใต้สมุทร เครื่องแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดาวเทียม เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม และแบตเตอรี่พลังแสงอาทิตย์
เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนผ่านแท่นใต้สมุทร ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความดันน้ำที่เครื่องวัดความดันน้ำ เครื่องจะแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณเสียงความถี่ต่ำ ส่งผ่านน้ำทะเลมายังทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแปลงสัญญาณดาวเทียม และถูกส่งต่อไปยังดาวเทียม แล้วดาวเทียมจะถ่ายทอดสัญญาณไปที่สถานีต่างๆ บนภาคพื้นดิน และที่ศูนย์เตือนภัยสึนามิของโนอา ข้อมูลดังกล่าวจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอในรูปกราฟความเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ เผยแพร่ในเว็บไซต์ และถ้าหากเป็นคลื่นสึนามิก็จะแจ้งเตือนไปยังพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิและศูนย์เตือนภัยพิบัติต่างๆ รอบมหาสมุทรอินเดีย
ทั้งนี้ ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อาศัยข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล เป็นข้อมูลหลักในการเตือนภัยสึนามิ โดยการประเมินโอกาสในการเกิดคลื่นสึนามิ เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นข้อมูลทางอ้อม การติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิแบบทุ่นลอยในครั้งนี้เป็นการวัดการเกิดคลื่นสึนามิโดยตรง จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับข้อมูลการเกิดคลื่นสึนามิตามเวลาจริง สามารถประเมินขนาดของคลื่นและเวลาที่คลื่นจะเข้ากระทบฝั่งได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง ตามมาตรฐาน ทำให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีความสามารถแจ้งเตือนภัยสึนามิได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อเพิ่มหลักประกันความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
ที่มา: khaosod
ญี่ปุ่นหนุนจับก๊าซโลกร้อนฝังดิน
ญี่ปุ่นหนุนจับก๊าซโลกร้อนฝังดิน
นักวิชาการด้านพลังงานจากญี่ปุ่น หนุนจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ถัง ฝังใต้ดินแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะที่นักวางแผนพลังงานไทยหนุนใช้พลังงานทางเลือกผสมผสานทั้งไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ยอมรับอนาคตหนีไม่พ้นต้องพึ่งนิวเคลียร์ แต่ต้องใช้เวลากว่า 10 ปีสร้างความเข้าใจกับประชาชน
ศ.ดร.โยอิชิ คายะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อโลก ( RITE ) ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติที่เป็นมีเทน ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสะอาด
"ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่แยกจากก๊าซธรรมชาติจะถูกนำมาเก็บไว้ในภาชนะบรรจุแล้วนำไปเก็บไว้ใต้ดิน จากนั้นจะนำไปฝังไว้ใต้ดินที่ระดับความลึก 1,000 เมตร โดยสามารถใช้บ่อน้ำมันที่หมดแล้วเป็นที่เก็บ" นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 2006 โดยมีบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และมหาวิทยาลัยเกียวโต ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดที่กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคตโดยใช้ดาวเทียมโซลาร์เซลล์โคจรอยู่นอกโลกเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วยิงเป็นลำแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟมายังโลก แม้แนวทางดังกล่าวต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง
อูเว ฟริสเช นักวิจัยจากสถาบันโอเอโก เยอรมนี ได้เสนอรายงานการวิจัยเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตพลังงานด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยกล่าวว่า แอลกอฮอล์ที่ได้จากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพ และยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศในการส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวลไปยังต่างประเทศ
"ประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้ส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ ประเทศที่ตั้งอยู่ในอเมริกาใต้ บางส่วนในทวีปแอฟริกา เอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลีย" ส่วนประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก มีแนวโน้มผลิตพลังงานชีวมวลเพื่อใช้ภายในประเทศมากกว่า นอกจากนี้ เขายังมองเห็นความจำเป็นในการบริหารพื้นที่เพาะปลูกระหว่างพืชสำหรับทำเชื้อเพลิงและพืชสำหรับเลี้ยงประชากรให้เหมาะสม
ด้าน ศ.ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการนโยบายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในราว 10-15 ปีข้างหน้า ไทยอาจจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะเดียวกัน มีความจำเป็นต้องพัฒนาวิศวกรด้านนิวเคลียร์ และนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาขยะนิวเคลียร์
นักวิชาการไทยยังได้กล่าวถึงพลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานลม โดยชี้ว่าแนวชายฝั่งทะเลของไทยเหมาะสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใช้เสาความสูง 50 เมตร นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาไม้โตเร็วอย่างเช่น ยูคาลิปตัส แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับชุมชนที่ห่างไกล
ที่มา : bangkokbiznews
นักวิชาการด้านพลังงานจากญี่ปุ่น หนุนจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ถัง ฝังใต้ดินแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะที่นักวางแผนพลังงานไทยหนุนใช้พลังงานทางเลือกผสมผสานทั้งไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ยอมรับอนาคตหนีไม่พ้นต้องพึ่งนิวเคลียร์ แต่ต้องใช้เวลากว่า 10 ปีสร้างความเข้าใจกับประชาชน
ศ.ดร.โยอิชิ คายะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อโลก ( RITE ) ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติที่เป็นมีเทน ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสะอาด
"ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่แยกจากก๊าซธรรมชาติจะถูกนำมาเก็บไว้ในภาชนะบรรจุแล้วนำไปเก็บไว้ใต้ดิน จากนั้นจะนำไปฝังไว้ใต้ดินที่ระดับความลึก 1,000 เมตร โดยสามารถใช้บ่อน้ำมันที่หมดแล้วเป็นที่เก็บ" นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 2006 โดยมีบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และมหาวิทยาลัยเกียวโต ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดที่กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคตโดยใช้ดาวเทียมโซลาร์เซลล์โคจรอยู่นอกโลกเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วยิงเป็นลำแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟมายังโลก แม้แนวทางดังกล่าวต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง
อูเว ฟริสเช นักวิจัยจากสถาบันโอเอโก เยอรมนี ได้เสนอรายงานการวิจัยเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตพลังงานด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยกล่าวว่า แอลกอฮอล์ที่ได้จากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพ และยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศในการส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวลไปยังต่างประเทศ
"ประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้ส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ ประเทศที่ตั้งอยู่ในอเมริกาใต้ บางส่วนในทวีปแอฟริกา เอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลีย" ส่วนประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก มีแนวโน้มผลิตพลังงานชีวมวลเพื่อใช้ภายในประเทศมากกว่า นอกจากนี้ เขายังมองเห็นความจำเป็นในการบริหารพื้นที่เพาะปลูกระหว่างพืชสำหรับทำเชื้อเพลิงและพืชสำหรับเลี้ยงประชากรให้เหมาะสม
ด้าน ศ.ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการนโยบายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในราว 10-15 ปีข้างหน้า ไทยอาจจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะเดียวกัน มีความจำเป็นต้องพัฒนาวิศวกรด้านนิวเคลียร์ และนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาขยะนิวเคลียร์
นักวิชาการไทยยังได้กล่าวถึงพลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานลม โดยชี้ว่าแนวชายฝั่งทะเลของไทยเหมาะสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใช้เสาความสูง 50 เมตร นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาไม้โตเร็วอย่างเช่น ยูคาลิปตัส แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับชุมชนที่ห่างไกล
ที่มา : bangkokbiznews
จับก๊าซพิษฝังดินแก้ปัญหาโลกร้อน
จับก๊าซพิษฝังดินแก้ปัญหาโลกร้อนขังคุกคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และแคนาดาเสนอเทคนิคใหม่แก้ปัญหาภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนจนน้ำแข็งขั้วโลกละลาย แนะให้จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ถังแล้วยัดลงใต้ดินลึกนับพันเมตรไม่ปล่อยให้ออกมาปกคลุมบรรยากาศโลก
ศ.ดร.โยอิชิ คายะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อโลก (RITE) ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอให้โรงไฟฟ้าให้แยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติก่อนที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไม่เหลือก๊าซพิษก่อปัญหาโลกร้อน
"ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แยกจากก๊าซธรรมชาติจะถูกนำมาเก็บไว้ในภาชนะบรรจุแล้วนำไปเก็บไว้ใต้ดิน จากนั้นจะนำไปฝังไว้ใต้ดินที่ระดับความลึก 1,000 เมตร โดยสามารถใช้บ่อน้ำมันที่หมดแล้วเป็นที่เก็บ" นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 2006 โดยมีบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และมหาวิทยาลัยเกียวโต ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดที่กรุงเทพฯ
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคตโดยใช้ดาวเทียมโซลาร์เซลล์โคจรอยู่นอกโลกเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วยิงเป็นลำแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟมายังโลก แม้แนวทางดังกล่าวต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง
ขณะเดียวกัน รัฐบาลออสเตรเลียประกาศใช้งบประมาณ 46.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างระบบเก็บและดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากก๊าซที่โรงไฟฟ้าปล่อยออกมา
เจ้าของโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติกอร์ดอน ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ กล่าวว่า จะใช้ระบบดังกล่าวเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 125 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับก๊าซ 2 ใน 3 ส่วนที่โรงก๊าซจะปล่อยออกมาในระยะ 20 ปี ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้โจมตีการปล่อยก๊าซโลกร้อน อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ
แหล่งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติของออสเตรเลียมีปริมาณก๊าซธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการใช้ของเมืองใหญ่ที่มีประชากร 1 ล้านคน นานกว่า 800 ปี ส่งผลให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาแทรกแซงเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการขุดเจาะ โดยมีการกำหนดมาตรการในโครงการเพื่อนำไปสู่ทางออกด้านเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
นอกจากสองประเทศดังกล่าวแล้ว แคนาดาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้จัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการแก้ปัญหาโลกร้อน โดยมอบหมายให้กระทรวงน้ำมันรับผิดชอบภาพรวมในโครงการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝังดิน
ที่มา : komchadluek
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และแคนาดาเสนอเทคนิคใหม่แก้ปัญหาภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนจนน้ำแข็งขั้วโลกละลาย แนะให้จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ถังแล้วยัดลงใต้ดินลึกนับพันเมตรไม่ปล่อยให้ออกมาปกคลุมบรรยากาศโลก
ศ.ดร.โยอิชิ คายะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อโลก (RITE) ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอให้โรงไฟฟ้าให้แยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติก่อนที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไม่เหลือก๊าซพิษก่อปัญหาโลกร้อน
"ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แยกจากก๊าซธรรมชาติจะถูกนำมาเก็บไว้ในภาชนะบรรจุแล้วนำไปเก็บไว้ใต้ดิน จากนั้นจะนำไปฝังไว้ใต้ดินที่ระดับความลึก 1,000 เมตร โดยสามารถใช้บ่อน้ำมันที่หมดแล้วเป็นที่เก็บ" นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 2006 โดยมีบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และมหาวิทยาลัยเกียวโต ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดที่กรุงเทพฯ
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคตโดยใช้ดาวเทียมโซลาร์เซลล์โคจรอยู่นอกโลกเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วยิงเป็นลำแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟมายังโลก แม้แนวทางดังกล่าวต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง
ขณะเดียวกัน รัฐบาลออสเตรเลียประกาศใช้งบประมาณ 46.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างระบบเก็บและดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากก๊าซที่โรงไฟฟ้าปล่อยออกมา
เจ้าของโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติกอร์ดอน ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ กล่าวว่า จะใช้ระบบดังกล่าวเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 125 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับก๊าซ 2 ใน 3 ส่วนที่โรงก๊าซจะปล่อยออกมาในระยะ 20 ปี ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้โจมตีการปล่อยก๊าซโลกร้อน อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ
แหล่งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติของออสเตรเลียมีปริมาณก๊าซธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการใช้ของเมืองใหญ่ที่มีประชากร 1 ล้านคน นานกว่า 800 ปี ส่งผลให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาแทรกแซงเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการขุดเจาะ โดยมีการกำหนดมาตรการในโครงการเพื่อนำไปสู่ทางออกด้านเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
นอกจากสองประเทศดังกล่าวแล้ว แคนาดาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้จัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการแก้ปัญหาโลกร้อน โดยมอบหมายให้กระทรวงน้ำมันรับผิดชอบภาพรวมในโครงการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝังดิน
ที่มา : komchadluek
ปิดฉากเทศกาลหนังวิทย์
ปิดฉากเทศกาลหนังวิทย์: ฟิล์มไทยไม่ได้ “กล่อง”
ปิดฉากเทศกาลหนังวิทย์ 6 วันยอดคนดูร่วมหมื่น พร้อมมอบรางวัลฟิล์มยอดเยี่ยม 5 รางวัล ภาพยนตร์ไทยยังห่างชั้นไม่ได้ “กล่อง” ส่งท้ายด้วยรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในเมืองไทย เตรียมเสนอสาธารณชน ส.ค.50
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (Science Film Festival 2006) ได้ปิดลงแล้วเมื่อค่ำวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพฯ โดยมี นายปฐม แหยมเกตุ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มร.อาร์โน รีเดล (Mr.Arno Riedel) อัครราชทูตออสเตรีย มร.ยอร์ก เบนดิกซ์ (Mr.York Bendix) ตัวแทนจากสถานทูตเยอรมนี มร.ปาสคาล เลอ เดิงฟ์ (Mr.Pascal Le Deunff) ตัวแทนจากสถานทูตฝรั่งเศส มาร่วมงาน โดยตลอดเทศกาลระหว่างวันที่ 21-26 พ.ย.มีการฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 62 เรื่อง จาก 13 ประเทศ และมีนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่สนใจเข้าชมกว่า 10,000 คน
ภายในพิธีปิดงานนั้นได้มีการมอบรางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมให้กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายในเทศกาล 5 รางวัล ดังนี้
1.รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์บายเออร์ (BAYER Science Film Award) ได้แก่ “รายการควาร์กส์ แอนด์ โค: ตอนสภาวะอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างนั้นหรือ” (Quarks & Co: Climate Change?) ซึ่งเป็นรายการของเยอรมันที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และมอบรางวัลนี้ในฐานะที่สามารถถ่ายทอดปัญหาหนักๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสมกับผู้ชมทุกวัย
2.รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Ecology Award) ได้แก่ “มด! พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ” (Ants!-Nature’s Secret Power) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นี้และได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนดู โดย มร.อาร์โน รีเดล ได้กล่าวขอบคุณที่เลือกหนังเรื่องนี้มาฉายในเทศกาล และหนังดังกล่าวเป็นผลงานองค์กรวิทยุและโทรทัศน์ของออสเตรีย
3.รางวัลภาพยนตร์สำหรับเด็กและเยาวชน (Film for Children and Youth Award) ได้แก่ “โลกของแมลงปรสิต” (Lice Planet) ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของส่งมีชีวิตเล็กๆ อย่าง “เหา”
4.รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้านการค้นพบ (Discovery Award) ได้แก่ “เบื้องหลังฉากภาพโคริน” (The Mysteries behind Korin) ซึ่งเป็นยภาพยนตร์ของสถานีเอ็นเอชเค (NHK) ของญี่ปุ่นได้รับรางวัลในฐานะที่ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ไขปริศนาและเชื่อมโลกของศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมกันนี้ มร.นิมารุ ชิน ผู้อำนวยการสถานีเอ็นเอชเคได้มารับรางวัลด้วยตัวเอง
5.รางวัลภาพยนตร์สำหรับเยาวชนและครอบครัว (Film for Youth and Family Award) ได้แก่ “ชีวิตใหม่ของขยะ” (Magically Simply: a second Life for our Rubbish) ภาพยนตร์สารคดีของฝรั่งเศสที่จะช่วยให้คนดูได้เห็นคุณค่าของการรีไซเคิล และเกิดความคิดที่จะพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม (Science Communication Award 2006) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้รางวัลจากการประกวดผลงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ละครเวที สื่อออนไลน์และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่ง ศ.ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. กล่าวว่ารางวัลเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ให้กับสาธารณชน โดยผลงานของเยาวชนทั้งหมดจะนำเสนอในช่วงเดือน ส.ค.50 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ รางวัลที่ 1 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “บัคกี้บอล บอลมหัศจรรย์แห่งโลกนาโน” โดย นายกิตติพงษ์ วนาทรัพย์ รางวัลที่ 2 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “Science for Fun” โดย น.ส.อำไพ อินทร์จอหอ และรางวัลที่ 3 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “C-60 สิ่งเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่” โดย นาย อธิปไตย สุวรรณ ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดทั้งหมดจะต้องนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “บัคกี้บอล” หรือ คาร์บอน 60 อะตอม
ส่วนเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นั้นได้จัดขึ้นมาเป็นปีที่ 2 แล้ว สำหรับปีนี้ได้นำเสนอภาพยนตร์ทั้งหมด 62 เรื่อง จาก 13 ประเทศ โดยไทยได้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วมทั้งหมด 23 เรื่อง อาทิ สึนามิ-ความรู้เพื่อความหวัง สายไหม วิถีไทยสู่สากล เด็กชายวิทยา และพระจันทร์ 140 ดวง เป็นต้น นอกจากนี้เป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วม โดยเข้ามา 1 เรื่องคือ “ไข้หวัดนก โรคระบาดแห่งอนาคต” โดยภาพยนตร์ทั้งหมดแบ่งฉาย 3 สถานที่คือ พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ที่มา : http://www.manageronline.co.th/
ปิดฉากเทศกาลหนังวิทย์ 6 วันยอดคนดูร่วมหมื่น พร้อมมอบรางวัลฟิล์มยอดเยี่ยม 5 รางวัล ภาพยนตร์ไทยยังห่างชั้นไม่ได้ “กล่อง” ส่งท้ายด้วยรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในเมืองไทย เตรียมเสนอสาธารณชน ส.ค.50
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (Science Film Festival 2006) ได้ปิดลงแล้วเมื่อค่ำวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพฯ โดยมี นายปฐม แหยมเกตุ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มร.อาร์โน รีเดล (Mr.Arno Riedel) อัครราชทูตออสเตรีย มร.ยอร์ก เบนดิกซ์ (Mr.York Bendix) ตัวแทนจากสถานทูตเยอรมนี มร.ปาสคาล เลอ เดิงฟ์ (Mr.Pascal Le Deunff) ตัวแทนจากสถานทูตฝรั่งเศส มาร่วมงาน โดยตลอดเทศกาลระหว่างวันที่ 21-26 พ.ย.มีการฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 62 เรื่อง จาก 13 ประเทศ และมีนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่สนใจเข้าชมกว่า 10,000 คน
ภายในพิธีปิดงานนั้นได้มีการมอบรางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมให้กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายในเทศกาล 5 รางวัล ดังนี้
1.รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์บายเออร์ (BAYER Science Film Award) ได้แก่ “รายการควาร์กส์ แอนด์ โค: ตอนสภาวะอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างนั้นหรือ” (Quarks & Co: Climate Change?) ซึ่งเป็นรายการของเยอรมันที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และมอบรางวัลนี้ในฐานะที่สามารถถ่ายทอดปัญหาหนักๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสมกับผู้ชมทุกวัย
2.รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Ecology Award) ได้แก่ “มด! พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ” (Ants!-Nature’s Secret Power) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นี้และได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนดู โดย มร.อาร์โน รีเดล ได้กล่าวขอบคุณที่เลือกหนังเรื่องนี้มาฉายในเทศกาล และหนังดังกล่าวเป็นผลงานองค์กรวิทยุและโทรทัศน์ของออสเตรีย
3.รางวัลภาพยนตร์สำหรับเด็กและเยาวชน (Film for Children and Youth Award) ได้แก่ “โลกของแมลงปรสิต” (Lice Planet) ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของส่งมีชีวิตเล็กๆ อย่าง “เหา”
4.รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้านการค้นพบ (Discovery Award) ได้แก่ “เบื้องหลังฉากภาพโคริน” (The Mysteries behind Korin) ซึ่งเป็นยภาพยนตร์ของสถานีเอ็นเอชเค (NHK) ของญี่ปุ่นได้รับรางวัลในฐานะที่ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ไขปริศนาและเชื่อมโลกของศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมกันนี้ มร.นิมารุ ชิน ผู้อำนวยการสถานีเอ็นเอชเคได้มารับรางวัลด้วยตัวเอง
5.รางวัลภาพยนตร์สำหรับเยาวชนและครอบครัว (Film for Youth and Family Award) ได้แก่ “ชีวิตใหม่ของขยะ” (Magically Simply: a second Life for our Rubbish) ภาพยนตร์สารคดีของฝรั่งเศสที่จะช่วยให้คนดูได้เห็นคุณค่าของการรีไซเคิล และเกิดความคิดที่จะพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม (Science Communication Award 2006) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้รางวัลจากการประกวดผลงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ละครเวที สื่อออนไลน์และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่ง ศ.ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. กล่าวว่ารางวัลเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ให้กับสาธารณชน โดยผลงานของเยาวชนทั้งหมดจะนำเสนอในช่วงเดือน ส.ค.50 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ รางวัลที่ 1 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “บัคกี้บอล บอลมหัศจรรย์แห่งโลกนาโน” โดย นายกิตติพงษ์ วนาทรัพย์ รางวัลที่ 2 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “Science for Fun” โดย น.ส.อำไพ อินทร์จอหอ และรางวัลที่ 3 ได้แก่ ผลงานเรื่อง “C-60 สิ่งเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่” โดย นาย อธิปไตย สุวรรณ ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดทั้งหมดจะต้องนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “บัคกี้บอล” หรือ คาร์บอน 60 อะตอม
ส่วนเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นั้นได้จัดขึ้นมาเป็นปีที่ 2 แล้ว สำหรับปีนี้ได้นำเสนอภาพยนตร์ทั้งหมด 62 เรื่อง จาก 13 ประเทศ โดยไทยได้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วมทั้งหมด 23 เรื่อง อาทิ สึนามิ-ความรู้เพื่อความหวัง สายไหม วิถีไทยสู่สากล เด็กชายวิทยา และพระจันทร์ 140 ดวง เป็นต้น นอกจากนี้เป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วม โดยเข้ามา 1 เรื่องคือ “ไข้หวัดนก โรคระบาดแห่งอนาคต” โดยภาพยนตร์ทั้งหมดแบ่งฉาย 3 สถานที่คือ พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ที่มา : http://www.manageronline.co.th/
Friday, November 24, 2006
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์
โคราชซิ่งรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ฝีมือ มทร.อีสานช่วยชาติรับมือน้ำมันแพง
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
มทร.นครราชสีมาอวดโฉมรถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ผลงานจากการค้นคว้าวิจัยกว่า 3 ปี ใช้ทุนเพียง 9 หมื่นบาท เผยสร้างรุ่นต้นแบบออกมา 4 คัน สำหรับศึกษาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย หากไม่มีข้อขัดข้องจะส่งเสริมให้เอกชนผลิตจำหน่าย ชี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าเติมน้ำมันเกือบ 90%
นายชิติสรรค์ วิชิโต หัวหน้าโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กหรือแบบ 2 ที่นั่ง วิ่งด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยใช้เวลาศึกษากว่า 3 ปี และทุนค้นคว้าวิจัย 9 หมื่นบาท
ส่วนประกอบหลักของรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว มีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แบตเตอรี่ 24 โวลต์ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อรับและเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และในวันที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้แบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
ทางโครงการได้ผลิตรถพลังแสงอาทิตย์แล้ว 4 คัน ให้อาจารย์ขับไปสอนหนังสือ และบุคลากรใช้ขับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งเสริมสู่ภาคเอกชน
"ทีมงานได้ออกแบบให้ผู้ขับขี่สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ อีกทั้งโครงสร้างของรถออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีส่วนประกอบน้อย ในส่วนของข้อต่อต่างๆ ได้เลือกใช้บุช เพลา ตลับลูกปืน โช้คอัพ ดิสเบรก และกระทะล้อ ที่หาอะไหล่ได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาถูก" หัวหน้าโครงการ กล่าว
จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถไฟฟ้าเล็กนี้ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หากใช้งานวันละ 5 กิโลเมตรเท่ากัน จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 4.55 บาท และ 10 บาท สำหรับรถใช้น้ำมัน หรือถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่ายถึง 40 บาท
"การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5% ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในสถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว ตามความสะดวกได้อย่างดีอีกด้วย" นายชิติสรรค์ กล่าว
ที่มา : komchadluek
ส่งหุ่นกู้ระเบิดฝึกงานภาคใต้
ส่งหุ่นกู้ระเบิดฝึกงานภาคใต้ ทีมสร้างชี้ปี50พัฒนาให้อัจฉริยะยิ่งขึ้น
ผลงานหุ่นยนต์กู้ระเบิดจากรั้วเกษตรศาสตร์ เตรียมเดินทางลงใต้เพื่ดทดสอบประสิทธิภาพ ทีมวิศวกรผู้สร้างเล็งพัฒนาต่อให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ระบุสามารถดัดแปลงให้วิ่งตรวจสอบระเบิดใต้ท้องรถ ตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังลึกใต้ดิน รวมทั้งเป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงได้ด้วย
รศ.ดร.ณัฏฐกา หอมทรัพย์ จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด" กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และวางแผนจะนำไปทดสอบความสามารถในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หุ่นยนต์ต้นแบบนี้ หนักประมาณ 50 กิโลกรัม ขนาด 60x110x100 เซนติเมตร ถือว่ากะทัดรัด สามารถปฏิบัติงานในที่แคบและเคลื่อนย้ายง่าย ตัวหนึ่งใช้ล้อสำหรับพื้นที่ขรุขระและพื้นที่ราบ และอีกตัวหนึ่งใช้ตีนตะขาบสำหรับพื้นที่ที่ต้องใช้การปีนป่ายหรือลาดเอียง ทั้งสองแบบใช้ชุดควบคุมมอเตอร์ ที่ควบคุมได้จากระยะไกล ทั้งแบบมีสายและไร้สาย รัศมีไม่น้อยกว่า 300 เมตร
ผู้ใช้สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น แขนกลยกน้ำหนักได้ประมาณ 5 กิโลกรัม ปืนฉีดน้ำความดันสูงสำหรับยิงทำลายวัตถุต้องสงสัย กล้องวิดีโอส่งภาพมายังชุดควบคุมทันทีที่ระดับ 30 ภาพต่อวินาที รวมทั้งแผงวงจรหลักของระบบสมองกลฝังตัวที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน มีระบบติดต่อแบบไร้สายที่เป็นระบบเดียวกับอินเทอร์เน็ต จึงสะดวกในการส่งภาพและควบคุม
ในปี 2550 คณะวิจัยจะพัฒนาตัวหุ่นยนต์ให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เช่น สามารถควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติ ติดตั้งโปรแกรมเก็บและแสดงข้อมูล ท่าทางการเคลื่อนที่ของแขนกล การบีบจับใช้อุปกรณ์วัดแรงป้อนกลับ และภาพที่ส่งกลับจะพัฒนาให้สามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติ เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการจับเป้าหมาย เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนคน
นอกจากนี้ หุ่นดังกล่าวยังสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางอื่น เช่น หุ่นวิ่งใต้ท้องรถเพื่อตรวจสอบหาวัตถุระเบิด ติดตั้งตัวตรวจจับโลหะเพื่อตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ในดิน หรือใช้เป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงในด้านการเกษตรก็ได้
โครงการพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดนี้ มี นายถิระภัทธ จิระนรวิชย์ นายเมธา ผลภาษี และนายพิระณัฐ วิรุณหะ เป็นทีมนักวิจัยหลัก โดยความร่วมมือจากกองวิชาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ และทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผลงานหุ่นยนต์กู้ระเบิดจากรั้วเกษตรศาสตร์ เตรียมเดินทางลงใต้เพื่ดทดสอบประสิทธิภาพ ทีมวิศวกรผู้สร้างเล็งพัฒนาต่อให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ระบุสามารถดัดแปลงให้วิ่งตรวจสอบระเบิดใต้ท้องรถ ตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังลึกใต้ดิน รวมทั้งเป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงได้ด้วย
รศ.ดร.ณัฏฐกา หอมทรัพย์ จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด" กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และวางแผนจะนำไปทดสอบความสามารถในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หุ่นยนต์ต้นแบบนี้ หนักประมาณ 50 กิโลกรัม ขนาด 60x110x100 เซนติเมตร ถือว่ากะทัดรัด สามารถปฏิบัติงานในที่แคบและเคลื่อนย้ายง่าย ตัวหนึ่งใช้ล้อสำหรับพื้นที่ขรุขระและพื้นที่ราบ และอีกตัวหนึ่งใช้ตีนตะขาบสำหรับพื้นที่ที่ต้องใช้การปีนป่ายหรือลาดเอียง ทั้งสองแบบใช้ชุดควบคุมมอเตอร์ ที่ควบคุมได้จากระยะไกล ทั้งแบบมีสายและไร้สาย รัศมีไม่น้อยกว่า 300 เมตร
ผู้ใช้สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น แขนกลยกน้ำหนักได้ประมาณ 5 กิโลกรัม ปืนฉีดน้ำความดันสูงสำหรับยิงทำลายวัตถุต้องสงสัย กล้องวิดีโอส่งภาพมายังชุดควบคุมทันทีที่ระดับ 30 ภาพต่อวินาที รวมทั้งแผงวงจรหลักของระบบสมองกลฝังตัวที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน มีระบบติดต่อแบบไร้สายที่เป็นระบบเดียวกับอินเทอร์เน็ต จึงสะดวกในการส่งภาพและควบคุม
ในปี 2550 คณะวิจัยจะพัฒนาตัวหุ่นยนต์ให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เช่น สามารถควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติ ติดตั้งโปรแกรมเก็บและแสดงข้อมูล ท่าทางการเคลื่อนที่ของแขนกล การบีบจับใช้อุปกรณ์วัดแรงป้อนกลับ และภาพที่ส่งกลับจะพัฒนาให้สามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติ เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการจับเป้าหมาย เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนคน
นอกจากนี้ หุ่นดังกล่าวยังสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางอื่น เช่น หุ่นวิ่งใต้ท้องรถเพื่อตรวจสอบหาวัตถุระเบิด ติดตั้งตัวตรวจจับโลหะเพื่อตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ในดิน หรือใช้เป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงในด้านการเกษตรก็ได้
โครงการพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดนี้ มี นายถิระภัทธ จิระนรวิชย์ นายเมธา ผลภาษี และนายพิระณัฐ วิรุณหะ เป็นทีมนักวิจัยหลัก โดยความร่วมมือจากกองวิชาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ และทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Thursday, November 23, 2006
พะยูนไม่โง่อย่างที่คิด
โลกวิทย์ : พะยูนไม่โง่อย่างที่คิด นักวิทย์พิสูจน์ยืนยันความฉลาด
นักวิทยาศาสตร์จากฟลอริดา ค้นพบความฉลาดที่ซ่อนอยู่ในตัวพะยูน สัตว์ที่ถูกตราหน้าว่าสมองเล็กเท่าลูกเกรฟฟรุต ผลไม้ที่มีขนาดเท่าผลส้มแต่เนื้อเป็นสีม่วง แถมวันๆ ไม่เคยทำอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าเคี้ยวเอื้องหญ้าทะเล งานวิจัยล่าสุดได้กู้ชื่อและประกาศให้โลกรู้ว่า พะยูนไม่โง่
ในการทดลอง ทีมงานติดตั้งลำโพงไว้ 8 ตัว ไว้ในแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ของห้องปฏิบัติการทางทะเลแห่งฟลอริดา เพื่อทดสอบการฟังแยกเสียงของพะยูน และพบว่า พะยูนที่ชื่อ "ฮิวจ์" สามารถพลิกตัวว่ายน้ำพาร่างยักษ์ขนาด 590 กิโลกรัม พุ่งหาแผ่นป้ายของลำโพงที่เปิดเสียงเรียกได้อย่างถูกต้อง
ผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พะยูนไม่ได้โง่ไปเสียทุกเรื่อง นักวิจัยยืนยันว่า การที่สัตว์กินพืชอย่างพะยูนนี้มีพัฒนาการทางปัญญาไปอย่างช้าๆ ก็เนื่องมาจากการที่พวกมันใช้ชีวิตอย่างสบาย ไร้อุปสรรคอื่นใดนอกจากใบพัดเรือ
โรเจอร์ รีป นักประสาทวิทยา คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่า พะยูนเป็นสัตว์ที่มีชีวิตสุขสบายไม่ถูกกดดัน ทำให้ขาดการพัฒนาพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว และพวกมันพอใจกับการใช้ชีวิตด้วยการนอนนิ่งๆ โดยไม่ทำอะไร
แม้การทดลองจะแสดงว่า สัตว์น้ำขนาดยักษ์นี้มีความสามารถด้านการฟัง พอที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะกับเรือ แต่นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจว่า ทำไมพะยูนจึงเสียชีวิตจากการชนกับเรืออยู่เรื่อย อาจจะเป็นเพราะพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจขณะนอนหลับ หรืออาจจะเคยชินกับเสียงเรือ ทำให้การทดลองต้องดำเนินต่อไป
เรื่องขนาดของสมองยังเป็นอีกปริศนาหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า รอยหยักในสมองสัมพันธ์กับความฉลาด เห็นได้จากสมองของโลมาและมนุษย์ แต่นักวิจัยจากห้องทดลองสัตว์น้ำแห่งนี้คัดค้านว่า รอยหยักในสมองไม่ใช่เรื่องตายตัว และการที่สมองพะยูนไม่มีรอยหยักนั้น ก็ไม่ได้แปลว่ามันโง่ และยืนยันว่า "สมองพะยูน มีความซับซ้อนภายในไม่ต่างจากสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ"
ฮิวจ์และพี่ชาย "บัฟเฟห์" ใช้เวลาตั้งแต่เกิดเมื่อปี 2541 อยู่ภายในห้องปฏิบัติการทางทะเล และแสดงให้เห็นว่า พะยูนมีการเรียนรู้ เมื่อพะยูนสองพี่น้องถูกสอนให้มีปฏิกิริยากับเสียงผิวปากและหยุดตรงที่กำหนดใต้น้ำ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังต้องการแยกแยะว่า พะยูนสามารถแยกสีและวัตถุต่างๆ ได้อย่างไร รวมถึงการได้ยินและประสาทสัมผัสเป็นอย่างไร
ส่วนการทดสอบความสามารถในการมอง ตาเล็กจิ๋วของฮิวจ์และพี่ชาย "บัฟเฟห์" มองเห็นไม่ชัดนัก แม้พวกมันจะเห็นสีและลวดลายแปลก แต่ตามมาตรฐานของพะยูนนั้น ฮิวจ์มีมาตรฐานการมองต่ำกว่าปกติ ความสามารถในการมองเห็นแคบมาก แต่ประสาทหูและประสาทสัมผัสกลับใช้งานได้ดีกว่า
นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบว่า ใบหน้าและร่างกายของพะยูนปกคลุมด้วยขนที่ไวต่อการสัมผัส ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ใต้น้ำ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
นักวิทยาศาสตร์จากฟลอริดา ค้นพบความฉลาดที่ซ่อนอยู่ในตัวพะยูน สัตว์ที่ถูกตราหน้าว่าสมองเล็กเท่าลูกเกรฟฟรุต ผลไม้ที่มีขนาดเท่าผลส้มแต่เนื้อเป็นสีม่วง แถมวันๆ ไม่เคยทำอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าเคี้ยวเอื้องหญ้าทะเล งานวิจัยล่าสุดได้กู้ชื่อและประกาศให้โลกรู้ว่า พะยูนไม่โง่
ในการทดลอง ทีมงานติดตั้งลำโพงไว้ 8 ตัว ไว้ในแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ของห้องปฏิบัติการทางทะเลแห่งฟลอริดา เพื่อทดสอบการฟังแยกเสียงของพะยูน และพบว่า พะยูนที่ชื่อ "ฮิวจ์" สามารถพลิกตัวว่ายน้ำพาร่างยักษ์ขนาด 590 กิโลกรัม พุ่งหาแผ่นป้ายของลำโพงที่เปิดเสียงเรียกได้อย่างถูกต้อง
ผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พะยูนไม่ได้โง่ไปเสียทุกเรื่อง นักวิจัยยืนยันว่า การที่สัตว์กินพืชอย่างพะยูนนี้มีพัฒนาการทางปัญญาไปอย่างช้าๆ ก็เนื่องมาจากการที่พวกมันใช้ชีวิตอย่างสบาย ไร้อุปสรรคอื่นใดนอกจากใบพัดเรือ
โรเจอร์ รีป นักประสาทวิทยา คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่า พะยูนเป็นสัตว์ที่มีชีวิตสุขสบายไม่ถูกกดดัน ทำให้ขาดการพัฒนาพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว และพวกมันพอใจกับการใช้ชีวิตด้วยการนอนนิ่งๆ โดยไม่ทำอะไร
แม้การทดลองจะแสดงว่า สัตว์น้ำขนาดยักษ์นี้มีความสามารถด้านการฟัง พอที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะกับเรือ แต่นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจว่า ทำไมพะยูนจึงเสียชีวิตจากการชนกับเรืออยู่เรื่อย อาจจะเป็นเพราะพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจขณะนอนหลับ หรืออาจจะเคยชินกับเสียงเรือ ทำให้การทดลองต้องดำเนินต่อไป
เรื่องขนาดของสมองยังเป็นอีกปริศนาหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า รอยหยักในสมองสัมพันธ์กับความฉลาด เห็นได้จากสมองของโลมาและมนุษย์ แต่นักวิจัยจากห้องทดลองสัตว์น้ำแห่งนี้คัดค้านว่า รอยหยักในสมองไม่ใช่เรื่องตายตัว และการที่สมองพะยูนไม่มีรอยหยักนั้น ก็ไม่ได้แปลว่ามันโง่ และยืนยันว่า "สมองพะยูน มีความซับซ้อนภายในไม่ต่างจากสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ"
ฮิวจ์และพี่ชาย "บัฟเฟห์" ใช้เวลาตั้งแต่เกิดเมื่อปี 2541 อยู่ภายในห้องปฏิบัติการทางทะเล และแสดงให้เห็นว่า พะยูนมีการเรียนรู้ เมื่อพะยูนสองพี่น้องถูกสอนให้มีปฏิกิริยากับเสียงผิวปากและหยุดตรงที่กำหนดใต้น้ำ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังต้องการแยกแยะว่า พะยูนสามารถแยกสีและวัตถุต่างๆ ได้อย่างไร รวมถึงการได้ยินและประสาทสัมผัสเป็นอย่างไร
ส่วนการทดสอบความสามารถในการมอง ตาเล็กจิ๋วของฮิวจ์และพี่ชาย "บัฟเฟห์" มองเห็นไม่ชัดนัก แม้พวกมันจะเห็นสีและลวดลายแปลก แต่ตามมาตรฐานของพะยูนนั้น ฮิวจ์มีมาตรฐานการมองต่ำกว่าปกติ ความสามารถในการมองเห็นแคบมาก แต่ประสาทหูและประสาทสัมผัสกลับใช้งานได้ดีกว่า
นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบว่า ใบหน้าและร่างกายของพะยูนปกคลุมด้วยขนที่ไวต่อการสัมผัส ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ใต้น้ำ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Tuesday, November 21, 2006
เปิดเทศกาลหนังวิทยาศาสตร์
เปิดเทศกาลหนังวิทยาศาสตร์ โชว์พลังมด ประเดิมเป็นเรื่องแรก
พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (Science Film Festival 2006) ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (ท้องฟ้าจำลอง) กรุงเทพฯ เริ่มขึ้นแล้วเมื่อค่ำวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมาด้วยการสนับสนุนของ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมี ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.วิจิตร ยังได้มอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลในโครงการประกวดภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดย สสวท. โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ นายเอกอนันท์ จันทร์เอี่ยม ซึ่งส่งภาพที่แสดงปฏิกิริยาเคมีในนาเกลือ ในชื่อภาพ “ฟ้า ส้ม ขาว” โดย ฟ้าหมายสีน้ำทะเลในนาเกลือ ส้มคือสีของปฏิกิริยาเคมีในนาเกลือ และสีขาวคือผลึกเกลือ ทั้งนี้ภาพที่ได้รับรางวัลครั้งนี้จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ “วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในวิถีไทย” ณ ท้องฟ้าจำลอง พร้อมๆ กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
สำหรับภาพยนตร์เปิดเทศกาลครั้งนี้เป็นภาพยนตร์จากประเทศออสเตรีย ชื่อเรื่อง “มด! พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ” (Ants!Nature’s Secret Power) ทั้งนี้ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่นำมาฉายครั้งนี้มีทั้งหมด 61 เรื่องจาก 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น อังกฤษ อิตาลี สก็อตแลนด์ เกาหลี เวียดนามและออสเตรีย ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทย 23 เรื่อง ตัวอย่างภาพยนตร์ได้แก่ เจ้าแห่งมหาสมุทร จับตัวต่อ ทำไมข้าวโพดถึงพองตัว ทำไมพริกถึงเผ็ดขนาดนี้ พระจันทร์ 140 ดวง วิกฤตอากาศคำเตือนแห่งอนาคต เป็นต้น และในวันที่ 26 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล จะมีการมอบรางวัลกิจกรรมการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ (Science Communication Awards) ด้วย
สถานที่และเวลาฉายภาพยนตร์จะมีระหว่างวันที่ 21-26 พ.ย. สถานที่คือ ท้องฟ้าจำลองฯ ฉายทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. โดยแบ่งเป็น 4 รอบ คือ รอบที่ 1 เวลา 9.00 -10.00 น. รอบที่ 2 เวลา 10.30 -12.00 น. รอบที่ 3 เวลา 13.00 -14.30 น. และ รอบที่ 4 เวลา 15.00 -16.30 น. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ฉายทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร (สวนจตุจักร) ฉายเฉพาะวันอังคาร-ศุกร์ เวลา 10.30 -16.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00 -16.00 น.
สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ดูได้ที่เว็บไซต์ http://sciencefilm.ipst.ac.th e-mail: spais@ipst.ac.th และสอบถามได้ที่ 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (Science Film Festival 2006) ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (ท้องฟ้าจำลอง) กรุงเทพฯ เริ่มขึ้นแล้วเมื่อค่ำวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมาด้วยการสนับสนุนของ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมี ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.วิจิตร ยังได้มอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลในโครงการประกวดภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดย สสวท. โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ นายเอกอนันท์ จันทร์เอี่ยม ซึ่งส่งภาพที่แสดงปฏิกิริยาเคมีในนาเกลือ ในชื่อภาพ “ฟ้า ส้ม ขาว” โดย ฟ้าหมายสีน้ำทะเลในนาเกลือ ส้มคือสีของปฏิกิริยาเคมีในนาเกลือ และสีขาวคือผลึกเกลือ ทั้งนี้ภาพที่ได้รับรางวัลครั้งนี้จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ “วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในวิถีไทย” ณ ท้องฟ้าจำลอง พร้อมๆ กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
สำหรับภาพยนตร์เปิดเทศกาลครั้งนี้เป็นภาพยนตร์จากประเทศออสเตรีย ชื่อเรื่อง “มด! พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ” (Ants!Nature’s Secret Power) ทั้งนี้ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่นำมาฉายครั้งนี้มีทั้งหมด 61 เรื่องจาก 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น อังกฤษ อิตาลี สก็อตแลนด์ เกาหลี เวียดนามและออสเตรีย ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทย 23 เรื่อง ตัวอย่างภาพยนตร์ได้แก่ เจ้าแห่งมหาสมุทร จับตัวต่อ ทำไมข้าวโพดถึงพองตัว ทำไมพริกถึงเผ็ดขนาดนี้ พระจันทร์ 140 ดวง วิกฤตอากาศคำเตือนแห่งอนาคต เป็นต้น และในวันที่ 26 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล จะมีการมอบรางวัลกิจกรรมการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ (Science Communication Awards) ด้วย
สถานที่และเวลาฉายภาพยนตร์จะมีระหว่างวันที่ 21-26 พ.ย. สถานที่คือ ท้องฟ้าจำลองฯ ฉายทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. โดยแบ่งเป็น 4 รอบ คือ รอบที่ 1 เวลา 9.00 -10.00 น. รอบที่ 2 เวลา 10.30 -12.00 น. รอบที่ 3 เวลา 13.00 -14.30 น. และ รอบที่ 4 เวลา 15.00 -16.30 น. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ฉายทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร (สวนจตุจักร) ฉายเฉพาะวันอังคาร-ศุกร์ เวลา 10.30 -16.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00 -16.00 น.
สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ดูได้ที่เว็บไซต์ http://sciencefilm.ipst.ac.th e-mail: spais@ipst.ac.th และสอบถามได้ที่ 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
หุ่นยนต์กู้ภัยตึกถล่ม
สจล.ร่วมขบวนคิดหุ่นยนต์กู้ภัยตึกถล่ม ติดกล้องวิดีโอปรับทิศทางค้นหาผู้รอดชีวิตใต้ซากตึก
ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์สมองกลปฏิบัติการหาผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ ติดเซ็นเซอร์ตรวจอุณหภูมิชีวิต ส่งข้อมูลเบื้องต้นสู่เจ้าหน้าที่ภาคสนามเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
แม้ว่าหุ่นยนต์กู้ภัยต้นแบบจะได้รับการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีหลายแห่ง แต่หุ่นยนต์ตัวล่าสุดที่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ปี 4 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สจล. พัฒนาขึ้นมาได้เพิ่มความสามารถให้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อน ทั้งในส่วนของมุมมองภาพจากกล้องดิจิทัล และระบบแผนที่บอกตำแหน่งผู้รอดชีวิต
นายสมหมาย ไชษราษฎร์ กล่าวว่า หุ่นยนต์กู้ภัยที่ทีมวิจัย สจล.ปรับปรุงให้กล้องวิดีโอหมุนซ้าย-ขวาได้ 60 องศา และยังยกขึ้นลงได้ 30 องศา หุ่นยนต์กู้ภัยมีขนาดกว้างประมาณ 1 ฟุต ยาว 1 ฟุต ขับเคลื่อนด้วยล้อตีนตะขาบ และมีตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับทิศทางสำหรับสร้างแผนที่แสดงที่หมาย หรือตำแหน่งผู้รอดชีวิต
หุ่นยนต์ดังกล่าวควบคุมการทำงานด้วยระยะไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ปัจจุบันมีระยะปฏิบัติการ 300 เมตรในพื้นที่โล่ง ข้อมูลภาพและเสียง รวมทั้งข้อมูลอุณหภูมิในร่างกายของผู้ประสบภัย จะถูกส่งมายังทีมงานกู้ภัย เพื่อให้กลุ่มผู้ช่วยเหลือทราบอาการเบื้องต้นของผู้รอดชีวิต และสามารถเตรียมอุปกรณ์ความพร้อมต่างๆ ในการช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
นักศึกษา กล่าวว่า หุ่นยนต์กู้ภัยสามารถดัดแปลงให้ทำงานได้หลายรูปแบบ เช่น การขนย้ายระเบิดซึ่งมีความเสี่ยงสูงหากมนุษย์ต้องไปสัมผัสหรือใกล้ชิด การค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดในการค้นหา เพราะหากใช้อุปกรณ์อย่างอื่นที่มีขนาดใหญ่ อาจเป็นอันตรายต่อผู้รอดชีวิตได้" สมหมาย กล่าว
"สิ่งที่ทีมวิจัยต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีก คือ แบตเตอรี่ที่ต้องเพิ่มระยะเวลาในการทำงานให้นานขึ้นจากเดิมเพียง 40-50 นาทีเท่านั้น และรัศมีการควบคุมที่ไกลยิ่งขึ้น รวมถึงแขนกลที่ประยุกต์เข้าไปเพิ่มเติมภายหลังเพื่อใช้หยิบจับวัตถุ ซึ่งปัจจุบันยังทำงานเป็นจังหวะ ไม่คล่องแคล่วเหมือนแขนมนุษย์จริง และยังขาดลำโพงเพื่อใช้สื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับผู้ประสบอุบัติภัย" ดำรงค์ชัย แท่นทอง ผู้ร่วมทีมวิจัยหุ่นยนต์กู้ภัย กล่าวเสริม
ทีมวิจัยหวังว่าการพัฒนาหุ่นยนต์จากสถาบันต่างๆ สุดท้ายแล้วสามารถนำไปปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ แพทย์ ทหาร ตำรวจ และคาดว่าหากมีการประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดออกมาใช้งานจริงได้เพราะอุปกรณ์ที่ใช้โดยมากเป็นวัตถุที่หาได้ในประเทศอยู่แล้ว
ที่มา : komchadluek
ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์สมองกลปฏิบัติการหาผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ ติดเซ็นเซอร์ตรวจอุณหภูมิชีวิต ส่งข้อมูลเบื้องต้นสู่เจ้าหน้าที่ภาคสนามเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
แม้ว่าหุ่นยนต์กู้ภัยต้นแบบจะได้รับการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีหลายแห่ง แต่หุ่นยนต์ตัวล่าสุดที่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ปี 4 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สจล. พัฒนาขึ้นมาได้เพิ่มความสามารถให้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อน ทั้งในส่วนของมุมมองภาพจากกล้องดิจิทัล และระบบแผนที่บอกตำแหน่งผู้รอดชีวิต
นายสมหมาย ไชษราษฎร์ กล่าวว่า หุ่นยนต์กู้ภัยที่ทีมวิจัย สจล.ปรับปรุงให้กล้องวิดีโอหมุนซ้าย-ขวาได้ 60 องศา และยังยกขึ้นลงได้ 30 องศา หุ่นยนต์กู้ภัยมีขนาดกว้างประมาณ 1 ฟุต ยาว 1 ฟุต ขับเคลื่อนด้วยล้อตีนตะขาบ และมีตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับทิศทางสำหรับสร้างแผนที่แสดงที่หมาย หรือตำแหน่งผู้รอดชีวิต
หุ่นยนต์ดังกล่าวควบคุมการทำงานด้วยระยะไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ปัจจุบันมีระยะปฏิบัติการ 300 เมตรในพื้นที่โล่ง ข้อมูลภาพและเสียง รวมทั้งข้อมูลอุณหภูมิในร่างกายของผู้ประสบภัย จะถูกส่งมายังทีมงานกู้ภัย เพื่อให้กลุ่มผู้ช่วยเหลือทราบอาการเบื้องต้นของผู้รอดชีวิต และสามารถเตรียมอุปกรณ์ความพร้อมต่างๆ ในการช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
นักศึกษา กล่าวว่า หุ่นยนต์กู้ภัยสามารถดัดแปลงให้ทำงานได้หลายรูปแบบ เช่น การขนย้ายระเบิดซึ่งมีความเสี่ยงสูงหากมนุษย์ต้องไปสัมผัสหรือใกล้ชิด การค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดในการค้นหา เพราะหากใช้อุปกรณ์อย่างอื่นที่มีขนาดใหญ่ อาจเป็นอันตรายต่อผู้รอดชีวิตได้" สมหมาย กล่าว
"สิ่งที่ทีมวิจัยต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีก คือ แบตเตอรี่ที่ต้องเพิ่มระยะเวลาในการทำงานให้นานขึ้นจากเดิมเพียง 40-50 นาทีเท่านั้น และรัศมีการควบคุมที่ไกลยิ่งขึ้น รวมถึงแขนกลที่ประยุกต์เข้าไปเพิ่มเติมภายหลังเพื่อใช้หยิบจับวัตถุ ซึ่งปัจจุบันยังทำงานเป็นจังหวะ ไม่คล่องแคล่วเหมือนแขนมนุษย์จริง และยังขาดลำโพงเพื่อใช้สื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับผู้ประสบอุบัติภัย" ดำรงค์ชัย แท่นทอง ผู้ร่วมทีมวิจัยหุ่นยนต์กู้ภัย กล่าวเสริม
ทีมวิจัยหวังว่าการพัฒนาหุ่นยนต์จากสถาบันต่างๆ สุดท้ายแล้วสามารถนำไปปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ แพทย์ ทหาร ตำรวจ และคาดว่าหากมีการประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดออกมาใช้งานจริงได้เพราะอุปกรณ์ที่ใช้โดยมากเป็นวัตถุที่หาได้ในประเทศอยู่แล้ว
ที่มา : komchadluek
อาวุธจิ๋วพิฆาตอริ
อิสราเอลพึ่งนาโนเล็งสร้างอาวุธจิ๋วพิฆาตอริแบบไม่ทันเห็นตัว
เอเจนซี – หนังสือพิมพ์อิสราเอลฉบับหนึ่งรายงานว่าทางรัฐบาลกำลังใช้นาโนเทคโนโลยีสร้างหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่ไม่เกินตัวต่อ แต่ให้มีความสามารถไล่ล่า ถ่ายภาพ รวมถึงปลิดชีพเป้าหมายที่ต้องการได้ คาดอีก 3 ปีได้อาวุธต้นแบบพร้อมพัฒนาใช้
หนังสือพิมพ์รายวันเยดีเอาะห์ อาห์รอเนาะห์ (Yedioth Ahronoth) ของอิสราเอลรายงานว่า ทางการอิสราเอลมีแผนการสร้างหุ่นยนต์ขนาดแมลงที่บินได้ โดยมีมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “ไบโอนิกฮอร์เน็ต” (bionic hornet) หรือตัวต่อชีวประดิษฐ์ ที่สามารถซอกแซกขึ้นลงตามซอกต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายได้ หรือไม่เช่นนั้นตัวต่อดังกล่าวก็จะเป็นอาวุธร้ายที่ศัตรูไม่สามารถสังเกตเห็นได้
ผลงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์อีกหลายชิ้นที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นให้แก่กองกำลังทหารของอิสราเอล ซึ่งยังมียุทธภัณฑ์อื่นๆ อาทิ สุดยอดถุงมือที่ใส่แล้วทำให้มือแข็งแรงมากกว่าขึ้นกว่าเดิม และยังมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถสแกนหาระเบิดพลีชีพได้อีกด้วย โดยทั้งหมดนี้ได้ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนาโน และกำลังพัฒนาในแผนกปฏิบัติการลับของอิสราเอล
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์รายวันของอิสราเอลได้รายงานโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของนายชิมอน เปเรส (Shimon Peres) รองนายกรัฐมนตรีอิสราเอลว่า จากสงครามในเลบานอน ทำให้พวกเขาตระหนักว่าสรรพาวุธขนาดเล็กนั้นเป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากจะใช้เครื่องบินมูลค่า 100 ล้านเหรียญออกมาจัดการแค่เพียงผู้ก่อการร้ายที่พร้อมพลีชีพก็ดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผล ดังนั้นทางอิสราเอลจึงพยายามที่จะสร้างอาวุธแห่งอนาคตให้พร้อมรับมือการสงครามในรูปแบบใหม่
สงครามที่เกิดขึ้นกลางเมืองเลบานอนเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กินเวลาทั้งสิ้น 34 วัน คร่าชีวิตพลเมืองชาวเลบานอนไปมากกว่า 1,200 คน ส่วนอิสราเอลสูญเสียไปเพียงแค่ 157 คนส่วนใหญ่เป็นทหาร ทั้งนี้ต้นแบบของอาวุธจิ๋วทำลายเป้าหมายได้แม่นยำคาดว่าจะสำเร็จภายใน 3 ปีนี้ และเมื่อนั้นอิสราเอลจะใช้อาวุธแบบใหม่ในการสู้รบ
ที่มา : manageronline
เอเจนซี – หนังสือพิมพ์อิสราเอลฉบับหนึ่งรายงานว่าทางรัฐบาลกำลังใช้นาโนเทคโนโลยีสร้างหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่ไม่เกินตัวต่อ แต่ให้มีความสามารถไล่ล่า ถ่ายภาพ รวมถึงปลิดชีพเป้าหมายที่ต้องการได้ คาดอีก 3 ปีได้อาวุธต้นแบบพร้อมพัฒนาใช้
หนังสือพิมพ์รายวันเยดีเอาะห์ อาห์รอเนาะห์ (Yedioth Ahronoth) ของอิสราเอลรายงานว่า ทางการอิสราเอลมีแผนการสร้างหุ่นยนต์ขนาดแมลงที่บินได้ โดยมีมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “ไบโอนิกฮอร์เน็ต” (bionic hornet) หรือตัวต่อชีวประดิษฐ์ ที่สามารถซอกแซกขึ้นลงตามซอกต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายได้ หรือไม่เช่นนั้นตัวต่อดังกล่าวก็จะเป็นอาวุธร้ายที่ศัตรูไม่สามารถสังเกตเห็นได้
ผลงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์อีกหลายชิ้นที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นให้แก่กองกำลังทหารของอิสราเอล ซึ่งยังมียุทธภัณฑ์อื่นๆ อาทิ สุดยอดถุงมือที่ใส่แล้วทำให้มือแข็งแรงมากกว่าขึ้นกว่าเดิม และยังมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถสแกนหาระเบิดพลีชีพได้อีกด้วย โดยทั้งหมดนี้ได้ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนาโน และกำลังพัฒนาในแผนกปฏิบัติการลับของอิสราเอล
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์รายวันของอิสราเอลได้รายงานโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของนายชิมอน เปเรส (Shimon Peres) รองนายกรัฐมนตรีอิสราเอลว่า จากสงครามในเลบานอน ทำให้พวกเขาตระหนักว่าสรรพาวุธขนาดเล็กนั้นเป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากจะใช้เครื่องบินมูลค่า 100 ล้านเหรียญออกมาจัดการแค่เพียงผู้ก่อการร้ายที่พร้อมพลีชีพก็ดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผล ดังนั้นทางอิสราเอลจึงพยายามที่จะสร้างอาวุธแห่งอนาคตให้พร้อมรับมือการสงครามในรูปแบบใหม่
สงครามที่เกิดขึ้นกลางเมืองเลบานอนเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กินเวลาทั้งสิ้น 34 วัน คร่าชีวิตพลเมืองชาวเลบานอนไปมากกว่า 1,200 คน ส่วนอิสราเอลสูญเสียไปเพียงแค่ 157 คนส่วนใหญ่เป็นทหาร ทั้งนี้ต้นแบบของอาวุธจิ๋วทำลายเป้าหมายได้แม่นยำคาดว่าจะสำเร็จภายใน 3 ปีนี้ และเมื่อนั้นอิสราเอลจะใช้อาวุธแบบใหม่ในการสู้รบ
ที่มา : manageronline
หุ่นกู้ระเบิด
มก.เตรียมส่ง "หุ่นกู้ระเบิด" ลงใต้ หวังเซฟชีวิตคน
หลังจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ สร้าง “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดต้นแบบ” ได้สำเร็จ ล่าสุดเตรียมส่งลงสนามลองปฏิบัติงานกู้ระเบิดจริงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทีมงานผู้สร้างระบุหุ่นมีสมรรถภาพเก็บกู้วัตถุต้องสงสัย มีทั้งใช้ล้อและตีนตะขาบ สามารถเคลื่อนที่ในพื้นที่แตกต่างกันได้ และเตรียมพัฒนาต่อให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ชี้สามารถดัดแปลงให้วิ่งตรวจสอบระเบิดใต้ท้องรถ ตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ดิน รวมทั้งเป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงได้ด้วย
รศ.ดร.ณัฏฐกา หอมทรัพย์ จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ (RECAPE) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (Research and Development for Bomb Disposal Robot)” เปิดเผยว่าได้ประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งจะนำไปใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“เนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีหลัง ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียรายได้ ทรัพย์สิน และประชากรของประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทหารหาญ ต้องสละชีพเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินมิให้ผู้ใดมารุกราน และแบ่งแยกดินแดน ซึ่งการสูญเสียชีวิตของทหารส่วนใหญ่เกิดจากการถูกลอบวางระเบิด และการเก็บกู้วัตถุระเบิด ด้วยเหตุนี้เราจึงคิดค้นหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดมาทำหน้าที่เก็บระเบิดแทนคน เพื่อแก้ไขมิให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีก”
ทั้งนี้หุ่นยนต์ดังกล่าวแบ่งรายละเอียดงานเป็น 2 ส่วน คือ การออกแบบและสร้างตัวต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือโปรแกรมสมองกลฝังลงในตัวหุ่นยนต์ ทั้งนี้ หุ่นยนต์มีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม และขนาดประมาณ 60x110x100 ซม. ซึ่งถือว่ากะทัดรัด สามารถปฏิบัติงานในที่แคบและเคลื่อนย้ายง่าย
“ตัวหนึ่งใช้ล้อสำหรับพื้นที่ขรุขระและพื้นที่ราบ และอีกตัวหนึ่งใช้ตีนตะขาบสำหรับพื้นที่ที่ต้องใช้การปีนป่ายหรือลาดเอียง ทั้งสองแบบใช้ชุดควบคุมมอเตอร์ที่ทนกระแสไฟฟ้าได้ 30 แอมแปร์ ควบคุมได้จากระยะไกลทั้งแบบมีสายและไร้สาย รัศมีไม่น้อยกว่า 300 เมตร สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น แขนกลยกน้ำหนักได้ประมาณ 5 กิโลกรัม ปืนฉีดน้ำความดันสูงสำหรับยิงทำลายวัตถุต้องสงสัย มีกล้องวิดีโอส่งภาพมายังชุดควบคุมทันทีที่ระดับ 30 ภาพต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีแผงวงจรหลักระบบฝังตัวที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน มีระบบติดต่อแบบไร้สายที่เป็นระบบเดียวกับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการส่งภาพและควบคุม” รศ.ดร.ณัฏฐกากล่าว พร้อมทั้งบอกต่ออีกว่า
ในปี 2550 คณะวิจัยฯ จะเริ่มพัฒนาตัวหุ่นยนต์ให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เช่น สามารถควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติและมีโปรแกรมเก็บและแสดงข้อมูลท่าทางการเคลื่อนที่ของแขนกล การบีบจับใช้อุปกรณ์วัดแรงป้อนกลับ และภาพที่ส่งกลับจะพัฒนาให้สามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติ
เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการจับเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนคน โดยเฉพาะทหารที่ต้องสูญเสียจากเหตุเก็บกู้ระเบิดซึ่งมีบ่อยครั้ง นอกจากนี้ หุ่นดังกล่าวยังสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้ เช่น หุ่นวิ่งใต้ท้องรถเพื่อตรวจสอบหาวัตถุระเบิด ติดตั้งตัวตรวจจับโลหะเพื่อตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ในดิน หรือใช้เป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงในด้านการเกษตรได้
สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด” นี้ มีนายถิระภัทธ จิระนรวิชย์ นายเมธา ผลภาษี และนายพิระณัฐ วิรุณหะ เป็นทีมนักวิจัยหลัก โดยความร่วมมือจากกองวิชาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ และทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ….
ที่มา : manageronline
หลังจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ สร้าง “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดต้นแบบ” ได้สำเร็จ ล่าสุดเตรียมส่งลงสนามลองปฏิบัติงานกู้ระเบิดจริงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทีมงานผู้สร้างระบุหุ่นมีสมรรถภาพเก็บกู้วัตถุต้องสงสัย มีทั้งใช้ล้อและตีนตะขาบ สามารถเคลื่อนที่ในพื้นที่แตกต่างกันได้ และเตรียมพัฒนาต่อให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ชี้สามารถดัดแปลงให้วิ่งตรวจสอบระเบิดใต้ท้องรถ ตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ดิน รวมทั้งเป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงได้ด้วย
รศ.ดร.ณัฏฐกา หอมทรัพย์ จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ (RECAPE) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (Research and Development for Bomb Disposal Robot)” เปิดเผยว่าได้ประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งจะนำไปใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“เนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีหลัง ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียรายได้ ทรัพย์สิน และประชากรของประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทหารหาญ ต้องสละชีพเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินมิให้ผู้ใดมารุกราน และแบ่งแยกดินแดน ซึ่งการสูญเสียชีวิตของทหารส่วนใหญ่เกิดจากการถูกลอบวางระเบิด และการเก็บกู้วัตถุระเบิด ด้วยเหตุนี้เราจึงคิดค้นหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดมาทำหน้าที่เก็บระเบิดแทนคน เพื่อแก้ไขมิให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีก”
ทั้งนี้หุ่นยนต์ดังกล่าวแบ่งรายละเอียดงานเป็น 2 ส่วน คือ การออกแบบและสร้างตัวต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือโปรแกรมสมองกลฝังลงในตัวหุ่นยนต์ ทั้งนี้ หุ่นยนต์มีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม และขนาดประมาณ 60x110x100 ซม. ซึ่งถือว่ากะทัดรัด สามารถปฏิบัติงานในที่แคบและเคลื่อนย้ายง่าย
“ตัวหนึ่งใช้ล้อสำหรับพื้นที่ขรุขระและพื้นที่ราบ และอีกตัวหนึ่งใช้ตีนตะขาบสำหรับพื้นที่ที่ต้องใช้การปีนป่ายหรือลาดเอียง ทั้งสองแบบใช้ชุดควบคุมมอเตอร์ที่ทนกระแสไฟฟ้าได้ 30 แอมแปร์ ควบคุมได้จากระยะไกลทั้งแบบมีสายและไร้สาย รัศมีไม่น้อยกว่า 300 เมตร สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น แขนกลยกน้ำหนักได้ประมาณ 5 กิโลกรัม ปืนฉีดน้ำความดันสูงสำหรับยิงทำลายวัตถุต้องสงสัย มีกล้องวิดีโอส่งภาพมายังชุดควบคุมทันทีที่ระดับ 30 ภาพต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีแผงวงจรหลักระบบฝังตัวที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน มีระบบติดต่อแบบไร้สายที่เป็นระบบเดียวกับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการส่งภาพและควบคุม” รศ.ดร.ณัฏฐกากล่าว พร้อมทั้งบอกต่ออีกว่า
ในปี 2550 คณะวิจัยฯ จะเริ่มพัฒนาตัวหุ่นยนต์ให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เช่น สามารถควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติและมีโปรแกรมเก็บและแสดงข้อมูลท่าทางการเคลื่อนที่ของแขนกล การบีบจับใช้อุปกรณ์วัดแรงป้อนกลับ และภาพที่ส่งกลับจะพัฒนาให้สามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติ
เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการจับเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนคน โดยเฉพาะทหารที่ต้องสูญเสียจากเหตุเก็บกู้ระเบิดซึ่งมีบ่อยครั้ง นอกจากนี้ หุ่นดังกล่าวยังสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้ เช่น หุ่นวิ่งใต้ท้องรถเพื่อตรวจสอบหาวัตถุระเบิด ติดตั้งตัวตรวจจับโลหะเพื่อตรวจหาทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ในดิน หรือใช้เป็นหุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลงในด้านการเกษตรได้
สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนา “ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด” นี้ มีนายถิระภัทธ จิระนรวิชย์ นายเมธา ผลภาษี และนายพิระณัฐ วิรุณหะ เป็นทีมนักวิจัยหลัก โดยความร่วมมือจากกองวิชาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ และทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ….
ที่มา : manageronline
Wednesday, November 15, 2006
ฝนดาวตกลีโอนิดส์ปีนี้กินแห้ว
ชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ปีนี้กินแห้วแนะดูตอนตีห้าเหมาะที่สุด รอลุ้นชมชุดใหม่ธ.ค.
เทศกาลฝนดาวตกใกล้เข้ามาอีกแล้ว แม้ว่าโอกาสดูฝนดาวตกลีโอนิดส์ปีนี้จะไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไร เนื่องจากช่วงที่ฝนดาวตกชุกที่สุดตรงกับใกล้เที่ยงของไทย ขณะที่เดือนธันวาคมยังมีโอกาสชมฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ แต่ปีนี้จะตกหนักแค่ไหนยังต้องรอลุ้น
ตั้งแต่เกิดมหกรรมฟากฟ้าดาวตกพรั่งพรูเมื่อปี 2544 ฝนดาวตกลีโอนิดส์กลายเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่คนไทยเฝ้ารอดูเป็นประจำ แต่โอกาสพิเศษที่จะเห็นฝนดาวตกจำนวนมากนั้นเกิดขึ้นทุกรอบ 33-34 ปี ดังนั้นโอกาสจะได้เห็นฝนดาวตกเหมือนอย่าง 5 ปีก่อน คงน้อยลง
"ปีนี้ประชาชนที่รอชมฝนดาวตกลีโอนิดส์อาจต้องผิดหวัง เพราะฝนดาวตกที่จะได้เห็นปีนี้มีปริมาณน้อยมาก" นาวาอากาศเอกฐากูร เกิดแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ และผู้ก่อตั้งหอดูดาวเกิดแก้ว กล่าว
จากข้อมูลของโรเบิร์ต แมคนอจท์ นักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝนดาวตกลีโอนิดส์ ระบุว่า พื้นที่ที่จะเห็นฝนดาวตกได้ดีที่สุดในปีนี้คือ แอฟริกาตะวันตก เวลาประมาณ 04.45 น.ของคืนวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ โดยมีอัตราดาวตก 25 ดวงต่อชั่วโมง ทว่า ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงใกล้เที่ยงวันของไทย ดังนั้น สำหรับคนไทยแล้วจึงต้องร่นเวลามาดูเร็วขึ้นเป็นช่วงประมาณตี 5 ของไทย แต่โอกาสเห็นดาวตกยิ่งน้อยลง
ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล (Tempel-Tuttle) ที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33.2 ปี ทำให้ทุกรอบ 33-34 ปี สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล มีโคจรสวนทางกับวงโคจรของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่กลุ่มฝุ่นอุกกาบาตของดาวหางดวงนี้พุ่งผ่านโลกโดยตรง และใช้เวลานาน
คำแนะนำสำหรับผู้ต้องการชมปรากฏการณ์ นาวาอากาศเอกฐากูร กล่าวว่า ควรดูในพื้นที่ที่มืดเพียงพอ ไร้แสงไฟรบกวน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด อีกทั้งยังสามารถเห็นได้รอบทิศทาง แต่ต้องรอกลุ่มดาวสิงโตขึ้นมาก่อน
แต่หากใครพลาดฝนดาวตกลีโอนิดส์ นาวาอากาศเอกฐากูรแนะนำให้รอดูฝนดาวตกเจมินิดส์ ซึ่งเป็นฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ที่สังเกตเห็นได้ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยปีนี้จะสามารถเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ดีที่สุดในคืนวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้ ช่วงเวลา 21.00-02.00 น.
"ลักษณะของฝนดาวตกเจมินิดส์ ต่างจากเลโอนิดส์ตรงที่ความสว่างและความเร็วที่น้อยกว่า แต่โอกาสที่จะได้เห็นฝนดาวตกเจมินิดส์กว้างกว่า สามารถเห็นได้หลายคืน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถเห็นได้เพราะเป็นช่วงข้างขึ้น" นาวาอากาศเอกฐากูร กล่าวและเสริมว่า อุปสรรคของฝนดาวตกคือ ดวงจันทร์ ที่ยิ่งสว่างมาก โอกาสที่จะได้เห็นก็น้อยลงไป
ที่มา : komchadluek
เทศกาลฝนดาวตกใกล้เข้ามาอีกแล้ว แม้ว่าโอกาสดูฝนดาวตกลีโอนิดส์ปีนี้จะไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไร เนื่องจากช่วงที่ฝนดาวตกชุกที่สุดตรงกับใกล้เที่ยงของไทย ขณะที่เดือนธันวาคมยังมีโอกาสชมฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ แต่ปีนี้จะตกหนักแค่ไหนยังต้องรอลุ้น
ตั้งแต่เกิดมหกรรมฟากฟ้าดาวตกพรั่งพรูเมื่อปี 2544 ฝนดาวตกลีโอนิดส์กลายเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่คนไทยเฝ้ารอดูเป็นประจำ แต่โอกาสพิเศษที่จะเห็นฝนดาวตกจำนวนมากนั้นเกิดขึ้นทุกรอบ 33-34 ปี ดังนั้นโอกาสจะได้เห็นฝนดาวตกเหมือนอย่าง 5 ปีก่อน คงน้อยลง
"ปีนี้ประชาชนที่รอชมฝนดาวตกลีโอนิดส์อาจต้องผิดหวัง เพราะฝนดาวตกที่จะได้เห็นปีนี้มีปริมาณน้อยมาก" นาวาอากาศเอกฐากูร เกิดแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ และผู้ก่อตั้งหอดูดาวเกิดแก้ว กล่าว
จากข้อมูลของโรเบิร์ต แมคนอจท์ นักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝนดาวตกลีโอนิดส์ ระบุว่า พื้นที่ที่จะเห็นฝนดาวตกได้ดีที่สุดในปีนี้คือ แอฟริกาตะวันตก เวลาประมาณ 04.45 น.ของคืนวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ โดยมีอัตราดาวตก 25 ดวงต่อชั่วโมง ทว่า ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงใกล้เที่ยงวันของไทย ดังนั้น สำหรับคนไทยแล้วจึงต้องร่นเวลามาดูเร็วขึ้นเป็นช่วงประมาณตี 5 ของไทย แต่โอกาสเห็นดาวตกยิ่งน้อยลง
ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล (Tempel-Tuttle) ที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33.2 ปี ทำให้ทุกรอบ 33-34 ปี สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล มีโคจรสวนทางกับวงโคจรของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่กลุ่มฝุ่นอุกกาบาตของดาวหางดวงนี้พุ่งผ่านโลกโดยตรง และใช้เวลานาน
คำแนะนำสำหรับผู้ต้องการชมปรากฏการณ์ นาวาอากาศเอกฐากูร กล่าวว่า ควรดูในพื้นที่ที่มืดเพียงพอ ไร้แสงไฟรบกวน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด อีกทั้งยังสามารถเห็นได้รอบทิศทาง แต่ต้องรอกลุ่มดาวสิงโตขึ้นมาก่อน
แต่หากใครพลาดฝนดาวตกลีโอนิดส์ นาวาอากาศเอกฐากูรแนะนำให้รอดูฝนดาวตกเจมินิดส์ ซึ่งเป็นฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ที่สังเกตเห็นได้ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยปีนี้จะสามารถเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ดีที่สุดในคืนวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้ ช่วงเวลา 21.00-02.00 น.
"ลักษณะของฝนดาวตกเจมินิดส์ ต่างจากเลโอนิดส์ตรงที่ความสว่างและความเร็วที่น้อยกว่า แต่โอกาสที่จะได้เห็นฝนดาวตกเจมินิดส์กว้างกว่า สามารถเห็นได้หลายคืน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถเห็นได้เพราะเป็นช่วงข้างขึ้น" นาวาอากาศเอกฐากูร กล่าวและเสริมว่า อุปสรรคของฝนดาวตกคือ ดวงจันทร์ ที่ยิ่งสว่างมาก โอกาสที่จะได้เห็นก็น้อยลงไป
ที่มา : komchadluek
Tuesday, November 14, 2006
ดูหนัง "โลกร้อน" ก่อน "สิ้นโลก"
ดูหนัง "โลกร้อน" ก่อน "สิ้นโลก" ในเทศกาลหนังวิทยาศาสตร์
ก่อนที่กระแสภาพยนตร์เรื่อง "แอน อินคอนวีเนียน ทรูธ" เรื่องราวภาวะโลกร้อน โดยมี อัล กอร์ ผู้อกหักจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นตัวเดินเรื่อง จะสร้างปรากฏการณ์หนังสารคดีจนเป็นที่กล่าวขานในกลุ่มคนดูหนังชาวไทยนั้น น้อยคนนักที่จะรู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เคยนำมาฉายใน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 1" มาแล้ว เมื่อปีก่อน
อย่างไรก็ดี ปัญหาโลกร้อนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกรณีแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น หรือเห็นได้ชัดกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการทำลายสมดุลธรรมชาติของมนุษย์ หากสื่อที่นำเสนอปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังยังไม่เห็นชัดเจนนักในบ้านเรา จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่ในงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2 โดยสถาบันเกอเธ่ สถานทูตฝรั่งเศส และสถาบันเพื่อการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายนนี้ มีภาพยนตร์สารคดีหลายเรื่องทีเดียวที่เจาะความจริงอันน่าสะพรึงกลัวนี้
วิลฟรีด เอ็กชไตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ หนึ่งในองค์กรที่คัดเลือกภาพยนตร์มาฉาย แจกแจงว่า ด้วยมนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา จึงได้หยิบยกประเด็นหนังสารคดีภาวะโลกร้อนที่น่าสนใจและควรรับรู้มาเป็นหนึ่งในจุดเด่นของงาน และหวังว่าภาพยนตร์เหล่านี้จะเป็นสะพานที่ดีในการเชื่อมคนไทยให้ก้าวไปสู่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยพยายามคัดเลือกภาพยนตร์ที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ เพื่อให้คนไม่กลัวความรู้
ขณะที่ ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แจกแจงว่า เมื่อปีที่ผ่านมา แม้จะมีภาพยนตร์ลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังคิดว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว ปล่อยให้การแก้ปัญหาเป็นภาระของประเทศที่เจริญๆ แต่จริงๆ แล้ว ทุกคนต้องช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมของตัวเอง สิ่งที่คนไทยควรตระหนักเป็นอันดับแรก คือปัญหาน้ำท่วมอันเป็นผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งนอกจากจะเห็นผลเสียชัดเจนและรวดเร็วแล้ว ปัญหานี้ยังโยงใยถึงภาวะโลกร้อนอีกด้วย
"ปัญหาเล็กๆ เมื่อรวมกันก็เป็นปัญหาใหญ่ เราตัดไม้ก็มีผล อินโดนีเซียเผาป่าก็มีผล ป่าของเราเมื่อ 75 ปีก่อน มีป่า 75% แต่เดี๋ยวนี้เหลือไม่ถึง 20% ปีนี้น้ำฝนไม่ได้มากไปกว่าปีอื่น แต่กลับมีน้ำท่วมครั้งใหญ่แผ่นดินถล่มทลายมากกว่าปีอื่นๆ ผลเหล่านี้มันใกล้ตัว เห็นได้ชัดเจน เราต้องช่วยกันทุกฝ่ายทุกคน เช่น ถ้าให้รัฐบาลออกกฎว่าให้รถเก่ากว่า 10 ปีเลิกวิ่ง มันก็ช่วยได้ทันที" ดร.สวัสดิ์ บอกเล่า
สำหรับภาพยนตร์ที่ได้รับการหยิบยกให้เป็นหนึ่งในจุดเด่นของเทศกาลนี้ คือเรื่อง "ไคลเมท อิน ไครซิส : วอร์นนิ่ง ฟอร์ม ฟิวเจอร์" ในชื่อไทยว่า วิกฤติการณ์อากาศ : คำเตือนจากอนาคต จากโปรดักชั่นของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค ประเทศญี่ปุ่น กับคำเตือนที่ว่าโลกอาจพบโศกนาฏกรรมจากภาวะโลกร้อน ด้วยการคำนวณจากนักวิทยาศาสตร์และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอภาพของเหยื่อโลกร้อนให้เห็นจะจะ
ขณะที่ "ดิ ไอซ์ ริเวอร์ส ออฟ เดอะ ไวท์ คอร์ดีเยร่า" เทือกเขาหิมะคอร์ดีเยร่า : ธารน้ำแข็ง ถ่ายทอดธารน้ำแข็งละลายที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามหุบเขา รวมทั้งแนวโน้มที่อาจก่อภัยพิบัติ รวมไปถึงการขาดแคลนน้ำในอนาคต เช่นเดียวกับประเด็นในเรื่อง "ควาร์กส์ แอนด์ โค : ไคลเมท เชนจ์?" รายการควาร์กส์ แอนด์ โค ตอนสภาวะอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างนั้นหรือ จากสถานีโทรทัศน์ดับเบิลยูดีอาร์ เยอรมนี ที่กระตุ้นให้คนตระหนักว่าอุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นในหลายร้อยปีที่ผ่านมา แถมระดับน้ำทะเลยังเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าใครยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน สถานีโทรทัศน์จากเยอรมนีช่องนี้ได้เสนอไว้ ในตอน "ไนน์ แอนด์ อะ ฮาล์ฟ : ไคลเมท เชนจ์" เก้าครึ่ง : ตอนสภาวะอากาศที่อาจทำให้โลกเปลี่ยน ที่อธิบายโดยใช้ตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายว่าโลกร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีหนังอย่าง "ดีพาร์ทเจอร์ ฟอร์ม ออยล์-เอเนอร์จี ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์" ลาก่อนน้ำมัน มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต เสนอประเด็นการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ลดความเสี่ยงกับภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง "ลิสซึน, ลิสซึน แมน" มนุษย์เอ๋ยจงฟัง ที่เล่าว่า ภาวะโลกร้อนคือภัยคุกคามโลกอันสวยงาม ควรเร่งแก้ไขโดยพิจารณาถึงความหมายของความเจริญก้าวหน้ากันอีกครั้ง หรือความหวังในการพยายามหาสิ่งประดิษฐ์ป้องกันภาวะโลกร้อนกับเรื่อง "เดอะ เกรท วอร์มมิ่ง-เอาเออร์ ชิลเดรนส์ แพลนเนต" ภาวะโลกร้อน ตอนโลกของลูกหลานของเรา ที่ได้เสียงดาราหนุ่ม คีอานู รีฟส์ มาบรรยายตลอดเรื่อง ฯลฯ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ส่งเสียงเรียกร้องว่า โปรดอย่ารอให้ความวิบัติมาเยือนเสียก่อน โดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราเองนั่นแหละ ที่อาจเป็นต้นตอจริงแท้ของปัญหา
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2 ประกอบด้วยหนังวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ 61 เรื่อง จาก 13 ประเทศ จัดฉายสามแห่ง ได้แก่ ท้องฟ้าจำลอง เอกมัย องค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เทคโนธานี คลองห้า และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ โดยเกือบทุกเรื่องพากย์และบรรยายไทย
ดูรายละเอียด รอบฉายของหนังได้จากเวบไซต์ขององค์กรผู้จัด เช่น www.goethe.de/sciencefilmfestival หรือ โทร.0-2287-0942-4 ต่อ 22, 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
ที่มา : komchadluek
ก่อนที่กระแสภาพยนตร์เรื่อง "แอน อินคอนวีเนียน ทรูธ" เรื่องราวภาวะโลกร้อน โดยมี อัล กอร์ ผู้อกหักจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นตัวเดินเรื่อง จะสร้างปรากฏการณ์หนังสารคดีจนเป็นที่กล่าวขานในกลุ่มคนดูหนังชาวไทยนั้น น้อยคนนักที่จะรู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เคยนำมาฉายใน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 1" มาแล้ว เมื่อปีก่อน
อย่างไรก็ดี ปัญหาโลกร้อนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกรณีแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น หรือเห็นได้ชัดกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการทำลายสมดุลธรรมชาติของมนุษย์ หากสื่อที่นำเสนอปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังยังไม่เห็นชัดเจนนักในบ้านเรา จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่ในงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2 โดยสถาบันเกอเธ่ สถานทูตฝรั่งเศส และสถาบันเพื่อการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายนนี้ มีภาพยนตร์สารคดีหลายเรื่องทีเดียวที่เจาะความจริงอันน่าสะพรึงกลัวนี้
วิลฟรีด เอ็กชไตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ หนึ่งในองค์กรที่คัดเลือกภาพยนตร์มาฉาย แจกแจงว่า ด้วยมนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา จึงได้หยิบยกประเด็นหนังสารคดีภาวะโลกร้อนที่น่าสนใจและควรรับรู้มาเป็นหนึ่งในจุดเด่นของงาน และหวังว่าภาพยนตร์เหล่านี้จะเป็นสะพานที่ดีในการเชื่อมคนไทยให้ก้าวไปสู่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยพยายามคัดเลือกภาพยนตร์ที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ เพื่อให้คนไม่กลัวความรู้
ขณะที่ ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แจกแจงว่า เมื่อปีที่ผ่านมา แม้จะมีภาพยนตร์ลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังคิดว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว ปล่อยให้การแก้ปัญหาเป็นภาระของประเทศที่เจริญๆ แต่จริงๆ แล้ว ทุกคนต้องช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมของตัวเอง สิ่งที่คนไทยควรตระหนักเป็นอันดับแรก คือปัญหาน้ำท่วมอันเป็นผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งนอกจากจะเห็นผลเสียชัดเจนและรวดเร็วแล้ว ปัญหานี้ยังโยงใยถึงภาวะโลกร้อนอีกด้วย
"ปัญหาเล็กๆ เมื่อรวมกันก็เป็นปัญหาใหญ่ เราตัดไม้ก็มีผล อินโดนีเซียเผาป่าก็มีผล ป่าของเราเมื่อ 75 ปีก่อน มีป่า 75% แต่เดี๋ยวนี้เหลือไม่ถึง 20% ปีนี้น้ำฝนไม่ได้มากไปกว่าปีอื่น แต่กลับมีน้ำท่วมครั้งใหญ่แผ่นดินถล่มทลายมากกว่าปีอื่นๆ ผลเหล่านี้มันใกล้ตัว เห็นได้ชัดเจน เราต้องช่วยกันทุกฝ่ายทุกคน เช่น ถ้าให้รัฐบาลออกกฎว่าให้รถเก่ากว่า 10 ปีเลิกวิ่ง มันก็ช่วยได้ทันที" ดร.สวัสดิ์ บอกเล่า
สำหรับภาพยนตร์ที่ได้รับการหยิบยกให้เป็นหนึ่งในจุดเด่นของเทศกาลนี้ คือเรื่อง "ไคลเมท อิน ไครซิส : วอร์นนิ่ง ฟอร์ม ฟิวเจอร์" ในชื่อไทยว่า วิกฤติการณ์อากาศ : คำเตือนจากอนาคต จากโปรดักชั่นของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค ประเทศญี่ปุ่น กับคำเตือนที่ว่าโลกอาจพบโศกนาฏกรรมจากภาวะโลกร้อน ด้วยการคำนวณจากนักวิทยาศาสตร์และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอภาพของเหยื่อโลกร้อนให้เห็นจะจะ
ขณะที่ "ดิ ไอซ์ ริเวอร์ส ออฟ เดอะ ไวท์ คอร์ดีเยร่า" เทือกเขาหิมะคอร์ดีเยร่า : ธารน้ำแข็ง ถ่ายทอดธารน้ำแข็งละลายที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามหุบเขา รวมทั้งแนวโน้มที่อาจก่อภัยพิบัติ รวมไปถึงการขาดแคลนน้ำในอนาคต เช่นเดียวกับประเด็นในเรื่อง "ควาร์กส์ แอนด์ โค : ไคลเมท เชนจ์?" รายการควาร์กส์ แอนด์ โค ตอนสภาวะอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างนั้นหรือ จากสถานีโทรทัศน์ดับเบิลยูดีอาร์ เยอรมนี ที่กระตุ้นให้คนตระหนักว่าอุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นในหลายร้อยปีที่ผ่านมา แถมระดับน้ำทะเลยังเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าใครยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน สถานีโทรทัศน์จากเยอรมนีช่องนี้ได้เสนอไว้ ในตอน "ไนน์ แอนด์ อะ ฮาล์ฟ : ไคลเมท เชนจ์" เก้าครึ่ง : ตอนสภาวะอากาศที่อาจทำให้โลกเปลี่ยน ที่อธิบายโดยใช้ตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายว่าโลกร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีหนังอย่าง "ดีพาร์ทเจอร์ ฟอร์ม ออยล์-เอเนอร์จี ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์" ลาก่อนน้ำมัน มุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต เสนอประเด็นการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ลดความเสี่ยงกับภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง "ลิสซึน, ลิสซึน แมน" มนุษย์เอ๋ยจงฟัง ที่เล่าว่า ภาวะโลกร้อนคือภัยคุกคามโลกอันสวยงาม ควรเร่งแก้ไขโดยพิจารณาถึงความหมายของความเจริญก้าวหน้ากันอีกครั้ง หรือความหวังในการพยายามหาสิ่งประดิษฐ์ป้องกันภาวะโลกร้อนกับเรื่อง "เดอะ เกรท วอร์มมิ่ง-เอาเออร์ ชิลเดรนส์ แพลนเนต" ภาวะโลกร้อน ตอนโลกของลูกหลานของเรา ที่ได้เสียงดาราหนุ่ม คีอานู รีฟส์ มาบรรยายตลอดเรื่อง ฯลฯ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ส่งเสียงเรียกร้องว่า โปรดอย่ารอให้ความวิบัติมาเยือนเสียก่อน โดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราเองนั่นแหละ ที่อาจเป็นต้นตอจริงแท้ของปัญหา
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2 ประกอบด้วยหนังวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ 61 เรื่อง จาก 13 ประเทศ จัดฉายสามแห่ง ได้แก่ ท้องฟ้าจำลอง เอกมัย องค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เทคโนธานี คลองห้า และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ โดยเกือบทุกเรื่องพากย์และบรรยายไทย
ดูรายละเอียด รอบฉายของหนังได้จากเวบไซต์ขององค์กรผู้จัด เช่น www.goethe.de/sciencefilmfestival หรือ โทร.0-2287-0942-4 ต่อ 22, 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
ที่มา : komchadluek
ไมโครซอฟท์ควานหาตัวโปรแกรมเมอร์
ไมโครซอฟท์ควานหาตัวโปรแกรมเมอร์ร่วมพัฒนาโปรแกรมเสริมใช้งานบนวินโดวส์รุ่นใหม่
ไมโครซอฟท์ประกาศหาสุดยอดนักออกแบบ "โปรแกรมลูกเล่น" สำหรับใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการใหม่ที่มีกำหนดวางตลาดในต้นปีหน้า ผู้ชนะเอาไปเลยเครื่องเล่นเกมเอ็กซ์บ็อกซ์ เอ็มพีสาม และกล้องวิดีโอแคมจากไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโอกาสให้นักพัฒนาอิสระมีส่วนร่วมกับการเปิดวินโดวส์วิสต้าในเมืองไทยในต้นปี 2550 ด้วยการส่งผลงานพัฒนา "แก็ดเจ็ท" บนหน้าจอของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า
แก็ดเจ็ท เป็นโปรแกรมลูกเล่นที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า เพื่อความสะดวกง่ายดายในการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่ผู้ใช้มักใช้งานเป็นประจำ เช่น โปรแกรมเช็คสภาพอากาศ ซึ่งจะคอยป้อนข้อมูลสภาพอากาศล่าสุดของเมืองที่ผู้ใช้งานต้องการทราบ โปรแกรมลักษณะดังกล่าวบางครั้งถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดี บางโปรแกรมสามารถทำงานโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น โปรแกรมเครื่องคิดเลข ปฏิทิน เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ บริษัทแอปเปิ้ล อิงค์ ได้ออกแบบโปรแกรมที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยเรียกว่า "วิกเก็ต" เพื่อใช้ในระบบปฏิบัติการแทคอินทอช โอเอสเท็น ที่เปิดตัวมาพักหนึ่งแล้ว โดยนักพัฒนาโปรแกรมสามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมลูกเล่นออกมาใช้งานตามความต้องการเฉพาะของตัวเองได้ ปัจจุบัน มีนักพัฒนาโปรแกรมจำนวนมากพัฒนาโปรแกรม "วิกเก็ต" มาใช้กับแมคอินทอชมากมาย
สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ วิสต้า ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ล่าสุดของไมโครซอฟท์ มีแผนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการรวมทั้งวางจำหน่ายในต้นปี 2550 นี้ โดยการแข่งขันพัฒนาแก็ดเจ็ทครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาอิสระของไทยได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ โดยอาศัยความสามารถของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า และโปรแกรมออฟฟิศ 2007
ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า โดยใช้วิช่วลสตูดิโอ 2005 รุ่นใดก็ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา นอกจากนี้ ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันจะต้องทำงานบนไมโครซอฟท์ดอทเน็ต 2.0 หรือ 3.0 เท่านั้น ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 และส่งผลงานให้คณะกรรมการพิจารณาได้ช่วงวันที่ 1 ธันวาคมจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2549 โดยทางไมโครซอฟท์จะประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศในงานเปิดตัวไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า ในช่วงต้นปีหน้า
ผู้เข้าแข่งขันสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขัน หรือตรวจสอบระเบียบการและขั้นตอนการแข่งขันได้ที่ www.microsoft.com/thailand/msdn/gotgadget ผู้เข้าแข่งขันจะส่งผลงานแก็ดเจ็ทได้ 1 ชิ้นต่อ 1 คนเท่านั้น
ที่มา : komchadluek
ไมโครซอฟท์ประกาศหาสุดยอดนักออกแบบ "โปรแกรมลูกเล่น" สำหรับใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการใหม่ที่มีกำหนดวางตลาดในต้นปีหน้า ผู้ชนะเอาไปเลยเครื่องเล่นเกมเอ็กซ์บ็อกซ์ เอ็มพีสาม และกล้องวิดีโอแคมจากไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโอกาสให้นักพัฒนาอิสระมีส่วนร่วมกับการเปิดวินโดวส์วิสต้าในเมืองไทยในต้นปี 2550 ด้วยการส่งผลงานพัฒนา "แก็ดเจ็ท" บนหน้าจอของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า
แก็ดเจ็ท เป็นโปรแกรมลูกเล่นที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า เพื่อความสะดวกง่ายดายในการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่ผู้ใช้มักใช้งานเป็นประจำ เช่น โปรแกรมเช็คสภาพอากาศ ซึ่งจะคอยป้อนข้อมูลสภาพอากาศล่าสุดของเมืองที่ผู้ใช้งานต้องการทราบ โปรแกรมลักษณะดังกล่าวบางครั้งถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดี บางโปรแกรมสามารถทำงานโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น โปรแกรมเครื่องคิดเลข ปฏิทิน เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ บริษัทแอปเปิ้ล อิงค์ ได้ออกแบบโปรแกรมที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยเรียกว่า "วิกเก็ต" เพื่อใช้ในระบบปฏิบัติการแทคอินทอช โอเอสเท็น ที่เปิดตัวมาพักหนึ่งแล้ว โดยนักพัฒนาโปรแกรมสามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมลูกเล่นออกมาใช้งานตามความต้องการเฉพาะของตัวเองได้ ปัจจุบัน มีนักพัฒนาโปรแกรมจำนวนมากพัฒนาโปรแกรม "วิกเก็ต" มาใช้กับแมคอินทอชมากมาย
สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ วิสต้า ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ล่าสุดของไมโครซอฟท์ มีแผนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการรวมทั้งวางจำหน่ายในต้นปี 2550 นี้ โดยการแข่งขันพัฒนาแก็ดเจ็ทครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาอิสระของไทยได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ โดยอาศัยความสามารถของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า และโปรแกรมออฟฟิศ 2007
ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า โดยใช้วิช่วลสตูดิโอ 2005 รุ่นใดก็ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา นอกจากนี้ ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันจะต้องทำงานบนไมโครซอฟท์ดอทเน็ต 2.0 หรือ 3.0 เท่านั้น ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 และส่งผลงานให้คณะกรรมการพิจารณาได้ช่วงวันที่ 1 ธันวาคมจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2549 โดยทางไมโครซอฟท์จะประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศในงานเปิดตัวไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า ในช่วงต้นปีหน้า
ผู้เข้าแข่งขันสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขัน หรือตรวจสอบระเบียบการและขั้นตอนการแข่งขันได้ที่ www.microsoft.com/thailand/msdn/gotgadget ผู้เข้าแข่งขันจะส่งผลงานแก็ดเจ็ทได้ 1 ชิ้นต่อ 1 คนเท่านั้น
ที่มา : komchadluek
Friday, November 10, 2006
รถอัจฉริยะไร้คนขับ
สู่เส้นทางฝัน “รถอัจฉริยะไร้คนขับ” ต้นแบบคันแรกของไทยอีก 3 ปี
ในโลกของนิยายวิทยาศาสตร์เราจะสร้างให้ยานยนตร์สามารถขับเคลื่อนอย่างชาญฉลาด ไม่จะเหาะเหินเวหา เลี้ยวซ้ายขวาได้ดังใจ แถมด้วยระบบอัจฉริยะป้องกันอุบัติเหตุ คงไม่ใช่เรื่องยากเกินจินตนาการ แต่กว่าจะสร้างฝันสู่ความเป็นจริงก็ไม่ง่าย หากแต่ความพยายามของคนไม่เคยหยุดนิ่ง
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดสัมมนา “ประเทศไทยจะพัฒนารถอัจฉริยะไร้คนขับคันแรกได้อย่างไร” เพื่อเผยแพร่ความรู้และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเชื่อมต่องานวิจัย อันจะสามารถขยายผลสู่เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย ทั้งยังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศ
ทั้งนี้ โครงการพัฒนารถอัจฉริยะไร้คนขับโดยรับความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายการวิจัยจาก 12 สถาบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(สจพ.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร(SIIT) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(เอไอที) มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.)
ความร่วมมือดังกล่าวเป็นโครงการเพื่อพัฒนารถที่มีความเป็นอัจฉริยะ สามารถขับเคลื่อนจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งได้โดยปราศจากคนบังคับ และอาศัยเพียงการป้อนข้อมูลสถานที่เป้าหมายของผู้โดยสาร และรถจะรับรู้ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดประเภทต่างๆ ที่ติดตั้งในรถยนต์ เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดตำแหน่งปัจจุบันของรถ อุปกรณ์ตรวจวัดตำแหน่งของรถคันที่สวนทางมา อุปกรณ์ตรวจวัดสิ่งกีดขวางทั้งที่อยู่นิ่งและเคลื่อนทีบนเส้นทาง อุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณจราจร เป็นต้น
แต่ละสถาบันจะรับผิดชอบในโครงการย่อยตามความถนัดโดยมีสถาบันเอไอทีบริหารโครงการโดยรวมทั้ง 12 โครงการ ในส่วนงานวิจัยทางกลไกของรถอัจฉริยะรับผิดชอบโดย จุฬาฯ และ สจล. ส่วนงานด้านอุปกรณ์ตรวจวัด เช่น การใช้สัญญาณภาพตรวจจับสิ่งกีดขวาง เป็นต้น รับผิดชอบโดย มจธ. ม.กรุงเทพและ สจพ. งานส่วนระบบควบคุม เช่น ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น รับผิดชอบโดย SIIT มหิดล และ มก. ในส่วนเชื่อมต่อการแสดงผลกับผู้ใช้และควบคุมทางไกล รับผิดชอบโดย เอไอที จากนั้นเมื่อทุกส่วนทำสำเร็จก็จะนำผลงานมารวมกันเพื่อสร้างเป็น “รถอัจฉริยะ” ต้นแบบ
รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล จากเอไอทีและผู้ประสานงานโครงการพัฒนารถอัจฉริยะกล่าวว่า หากจะได้ “รถอัจฉริยะ” ต้นแบบต้องใช้เงิน 27 ล้านบาท โดยแบ่งใช้กับงานวิจัยภายใน 3 ปี ซึ่งจะหนักไปในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และช่วงปีแรก ด้านงานวิจัยก็จะดำเนินงานโดยนักวิจัยไทยทั้งหมด แต่ขณะนี้ได้รับงบประมาณจากเนคเทค 1 ล้านบาทเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการ
สำหรับความร่วมมือในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนารถอัจฉริยะครั้งนี้ รศ.ดร.มนูกิจกล่าวว่า เพราะที่ผ่านมานักวิจัยไม่เคยได้ร่วมทำงานในลักษณะงานวิจัย แต่จะทำในลักษณะการประชุมวิชาการ วารสารวิชาการและสัมมนาเป็นส่วนใหญ่ จึงร่วมกันทำโครงการที่คิดว่ามีประโยชน์แก่ปนระเทศชาติ และได้ใช้ความรู้ความสามารถของนักวิจัย ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีความสามารถต่างกัน เช่น ที่เอไอทีถนัดทางด้านการควบคุม แต่ทางจุฬาฯ ถนัดทางด้านเครื่องกล เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นได้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน
“ก็มีหลายหัวข้อที่เราพิจารณากัน รวมถึงมีแนวคิดสร้างหุนยนต์ไปสำรวจดาวอังคารด้วย แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่ง่ายที่สุดคือเอาไปใช้ในสถานที่จำกัด เช่น สวนสาธารณะหรือตามโรงพยาบาล ให้สามารถขับรถในพื้นที่ๆ ไกลกันมากๆ ให้ไปส่งด้วยตัวเอง หรือการท่องเที่ยวก็โปรแกรมให้รถเคลื่อนที่ไปตามที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางแม่เหล็กให้รถเคลื่อนที่แต่รถสามารถนำนักท่องเที่ยวไปได้ คนที่ขับรถไม่ได้ เช่น คนแก่ คนพิการ ก็สามารถนำมาใช้ได้” รศ.ดร.มนูกิจกล่าว
ส่วนเป้าหมายของการพัฒนานั้น รศ.ดร.มนูกิจตั้งไว้ที่การพัฒนารถให้มีความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง โดยปัจจุบันทำได้ 3.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ยังไม่เสถียร ขณะที่ความเร็วที่ทำได้เสถียรแล้วคือประมาณ 1 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้หากมีงบประมาณในการติดตั้งตัวตรวจวัดหรือเซนเซอร์ก็จะสามารถเพิ่มความเร็วของรถได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีได้ออกแบบให้ผู้โดยสารสามารถกลับไปบังคับรถเองเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินได้ตลอดเวลา เพราะบางกรณีเซนเซอร์อาจเกิดความผิดพลาดได้
นอกจากการพัฒนาทางด้านกายภาพของรถอัจฉริยะแล้ว ข้อมูลจราจรก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้รถอัจฉริยะเลือกเส้นทางที่ปลอดภัยและประหยัดเวลาเพื่อนำผู้โดยสารไปถึงยังเป้าหมาย ซึ่ง ดร.ภาสกร ประถมบุตร ผู้อำนวยการโปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ของเนคเทค กล่าวว่าได้โครงการจราจรอัจฉริยะตั้งแต่ปลายปี 2548 โดยความร่วมมือของอาจารย์มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ซึ่งจะให้ข้อมูลจราจรที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ขับขี่ทั่วไปและรถอัจฉริยะด้วย
“ตอนนี้มีงานวิจัยหลายงาน เช่น การตรวจสอบการจราจรด้วยกล้อง เชื่อมจีพีเอส ระบบนำทางตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลจราจร พยายามส่งไปยังผู้ขับขี่รถยนต์บนการจราจร อาจะไม่จำเป็นต้องส่งเข้าตัวรับข้อมูลรถยนต์เลยก็ได้ อาจจะมาในรูป จส.100 หรือฝากข้อมูลไปยังคลื่น จส.100 ซึ่งกำลังทำอยู่ เอาข้อมูลที่เป็นตัวอักษรส่งไปยังเครื่องรับของผู้ขับขี่ อาจจะเป็นระบบหนึ่งการระบบนำทางในรถยนต์ก็ได้ (Navigator)”
ทั้งนี้ ดร.ภาสกรยังได้เผยแนวทางพัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะว่า ต่อไปอาจจะส่งระบบข้อมูลถึงคนขับรถในรูปเสียง เพราะคนขับก็อาจไม่อยากละสายตาจากการขับขี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ไม่ยากเกินความสามารถของนักวิจัยไทย และสิ่งที่ต้องทำก่อนอื่นในตอนนี้คือ ศูนย์ข้อมูลจราจร ที่ทำได้ง่ายและคาดว่าปลายปีหน้าจะแล้วเสร็จ โดยตอนนี้ได้รับข้อมูลจาก สนข. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางส่วนแล้ว
อย่างไรก็ดี นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค ระบุว่าไทยผลิตรถยนต์ได้ปีละ 1 ล้านคัน หรือราว 500,000 ล้านบาท แต่ใช้เหล็ก พลาสติกและหนังเป็นหลัก ส่วนระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นหัวใจ เราต้องพัฒนาต่อไป ซึ่งรถอัจฉริยะนี้เป็นความก้าวหน้าระดับสูงที่ต่างประเทศสนใจมาก หวังว่าไทยจะมีรถอัจฉริยะคันแรกเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ประเทศต่อไป
ที่มา : manageronline
Thursday, November 9, 2006
ดาวพุธทรานซิท
“ดาวพุธทรานซิท” ชานเมืองหลวงเห็นชัด ส่วนภูเก็ตอกหัก
ปรากฏการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" เหนือฟากฟ้าประเทศไทยครึกครื้น ชานเมืองกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทราแจ้งผลการสังเกตปรากฏการณ์ตลอด 1 ชั่วโมงชัดเจนดีมาก แม้จะเห็นเพียงช่วงปลายปรากฏการณ์ ขณะที่ชาวภูเก็ตต้องอกหักอดดูเพราะเมฆบัง นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทยเผยจะชมได้อีกครั้งในอีก 10 ปีข้างหน้า
เมื่อช่วงเช้า (9 พ.ย.) ที่ผ่านมา หรือราวๆ 02.13 น. ตามเวลาในประเทศไทย คงจะเป็นเวลาที่บรรดานักดาราศาสตร์ทั่วโลกคอยจับจ้องกับการเกิดปรากฎการณ์บนท้องฟ้า ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (ทรานซิท) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยาก
ในส่วนของประเทศไทยกลุ่มผู้ดูดาวร่วมสังเกตปรากฏการณ์ด้วยกันหลายภาคส่วน กระจายในหลายภูมิภาค หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มสังเกตการณ์จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ที่ได้จัดแจงอุปกรณ์ดูดาวนานาชนิดมาร่วมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ตั้งแต่ช่วงฟ้าสาง ณ ดาดฟ้าชั้น 9 อาคารสำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ทว่าบรรยากาศยามเช้ามืดของกรุงเทพฯ วันนี้ไม่ปลอดโปร่งมากนัก อีกทั้งยังมีสิ่งก่อสร้างและอาคารต่างๆ บดบังขอบฟ้าไปแทบทั้งหมด ทำให้เมื่อถึงเวลา 06.15 น. ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์ ก็ยังไม่เห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้าได้ หากแต่ได้ส่งแสงสีทองมาฉาบฟ้าไว้บ้างแล้ว
อย่างไรก็ดี ในอีกไม่กี่อึดใจต่อมา คือในเวลาประมาณ 06.21 น. ดวงอาทิตย์ก็ได้อวดโฉมให้ทุกคนได้เห็นจางๆ เหนือเส้นขอบฟ้ามาพอสมควร และปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับปรากฏการณ์รานซิทที่ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วยจึงจะมองเห็นได้ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ต้องมีกำลังขยายอย่างน้อย 50 เท่า
และจะเห็นปรากฏการณ์ได้ดีที่สุดที่กำลังขยาย 90 เท่า โดยควรเป็นการสังเกตปรากฏการณ์ทางอ้อมด้วยการนำฉากมารองรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ ที่สำคัญคือ ไม่ควรมองด้วยตาเปล่าเพราะจะเกิดอันตรายต่อสายตาถึงขั้นตาบอดได้
สำหรับปรากฏการณ์รานซิทครั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์ในประเทศไทยจะได้เห็นช่วงปลายของปรากฏการณ์ ในระยะที่ดาวพุธเคลื่อนผ่านเข้าไปในดวงอาทิตย์แล้วเมื่อเวลาประมาณ 06.15 น. โดยดาวพุธจะเคลื่อนไปอยู่ที่มุมด้านล่างของดวงอาทิตย์ และค่อยๆ ออกจากดวงอาทิตย์ในเวลา 07.11 น. หรือใช้เวลาผ่านหน้าดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ชั่วโมงเต็ม ในบริเวณการสังเกตปรากฏการณ์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยนั้นได้เห็นค่อนข้างชัดเจน
ทั้งนี้ ในระหว่างที่ทีมสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้สังเกตปรากฏการณ์อยู่นั้น ได้มีการรายงานจากกลุ่มผู้สังเกตปรากฏการณ์จากภูมิภาคอื่นๆ มาเป็นระยะๆ โดยในส่วนของผู้สังเกตการณ์จากฉะเชิงเทรา เผยว่า สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้ชัดเจนดีมาก ขณะที่ผู้สังเกตการณ์จากภูเก็ตต้องพบกับความผิดหวังเพราะสภาพบรรยากาศไม่เป็นใจมีเมฆปกคลุมมากจนบดบังปรากฏการณ์ไปทั้งหมด
อ.อารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ซึ่งร่วมสังเกตปรากฏการณ์อยู่ด้วย ให้ข้อมูลว่า การทรานซิทครั้งนี้ถือเป็นอุปราคารูปแบบหนึ่งคล้ายกับการเกิดสุริยุปราคา แต่ดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากถึงราว 200 เท่า จึงไม่สามารถบดบังแสงอาทิตย์จนเกิดเป็นสุริยุปราคาได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะมีเวลาการเกิดขึ้นเป็นลำดับอนุกรมที่ค่อนข้างชัดเจน คือ จะเวียนเกิดปรากฏการณ์อีกครั้งใน 3 ปี 10 ปี และอีก 33 ปีข้างหน้า
สำหรับปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ลำดับที่ 2 ของอนุกรมการเกิดปรากฏการณ์ โดยครั้งแรกเกิดเมื่อ 3 ปีก่อนในวันที่ 7 พ.ค.2546 ดังนั้นการเกิดครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าคือวันที่ 9 พ.ค.2559
ที่สำคัญปรากฏการณ์นี้จะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาถึงมวล ขนาด และระยะห่างระหว่างดาวพุธ โลก และดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์ต่อไป
ด้านนายพรชัย รังษีธนะไพศาล คณะกรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การสังเกตปรากฏการณ์รานซิทครั้งนี้ ถือว่าเกิดขึ้นค่อนข้างตรงตามที่มีการคำนวณไว้แต่แรก และแม้ว่าในกรุงเทพฯ จะมีบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยนัก เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว บรรยากาศรอบขอบฟ้าจึงมีเมฆหมอกและไอน้ำมาก แต่ก็ถือว่าได้มาชมปรากฏการณ์สมดังตั้งใจ ซึ่งนอกจากจะได้เห็นดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์แล้ว ยังทำให้ได้เห็นจุดดับบนดวงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธด้วย
ที่มา : manageronline
ปรากฏการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" เหนือฟากฟ้าประเทศไทยครึกครื้น ชานเมืองกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทราแจ้งผลการสังเกตปรากฏการณ์ตลอด 1 ชั่วโมงชัดเจนดีมาก แม้จะเห็นเพียงช่วงปลายปรากฏการณ์ ขณะที่ชาวภูเก็ตต้องอกหักอดดูเพราะเมฆบัง นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทยเผยจะชมได้อีกครั้งในอีก 10 ปีข้างหน้า
เมื่อช่วงเช้า (9 พ.ย.) ที่ผ่านมา หรือราวๆ 02.13 น. ตามเวลาในประเทศไทย คงจะเป็นเวลาที่บรรดานักดาราศาสตร์ทั่วโลกคอยจับจ้องกับการเกิดปรากฎการณ์บนท้องฟ้า ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (ทรานซิท) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยาก
ในส่วนของประเทศไทยกลุ่มผู้ดูดาวร่วมสังเกตปรากฏการณ์ด้วยกันหลายภาคส่วน กระจายในหลายภูมิภาค หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มสังเกตการณ์จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ที่ได้จัดแจงอุปกรณ์ดูดาวนานาชนิดมาร่วมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ตั้งแต่ช่วงฟ้าสาง ณ ดาดฟ้าชั้น 9 อาคารสำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ทว่าบรรยากาศยามเช้ามืดของกรุงเทพฯ วันนี้ไม่ปลอดโปร่งมากนัก อีกทั้งยังมีสิ่งก่อสร้างและอาคารต่างๆ บดบังขอบฟ้าไปแทบทั้งหมด ทำให้เมื่อถึงเวลา 06.15 น. ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์ ก็ยังไม่เห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้าได้ หากแต่ได้ส่งแสงสีทองมาฉาบฟ้าไว้บ้างแล้ว
อย่างไรก็ดี ในอีกไม่กี่อึดใจต่อมา คือในเวลาประมาณ 06.21 น. ดวงอาทิตย์ก็ได้อวดโฉมให้ทุกคนได้เห็นจางๆ เหนือเส้นขอบฟ้ามาพอสมควร และปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับปรากฏการณ์รานซิทที่ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วยจึงจะมองเห็นได้ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ต้องมีกำลังขยายอย่างน้อย 50 เท่า
และจะเห็นปรากฏการณ์ได้ดีที่สุดที่กำลังขยาย 90 เท่า โดยควรเป็นการสังเกตปรากฏการณ์ทางอ้อมด้วยการนำฉากมารองรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ ที่สำคัญคือ ไม่ควรมองด้วยตาเปล่าเพราะจะเกิดอันตรายต่อสายตาถึงขั้นตาบอดได้
สำหรับปรากฏการณ์รานซิทครั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์ในประเทศไทยจะได้เห็นช่วงปลายของปรากฏการณ์ ในระยะที่ดาวพุธเคลื่อนผ่านเข้าไปในดวงอาทิตย์แล้วเมื่อเวลาประมาณ 06.15 น. โดยดาวพุธจะเคลื่อนไปอยู่ที่มุมด้านล่างของดวงอาทิตย์ และค่อยๆ ออกจากดวงอาทิตย์ในเวลา 07.11 น. หรือใช้เวลาผ่านหน้าดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ชั่วโมงเต็ม ในบริเวณการสังเกตปรากฏการณ์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยนั้นได้เห็นค่อนข้างชัดเจน
ทั้งนี้ ในระหว่างที่ทีมสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้สังเกตปรากฏการณ์อยู่นั้น ได้มีการรายงานจากกลุ่มผู้สังเกตปรากฏการณ์จากภูมิภาคอื่นๆ มาเป็นระยะๆ โดยในส่วนของผู้สังเกตการณ์จากฉะเชิงเทรา เผยว่า สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้ชัดเจนดีมาก ขณะที่ผู้สังเกตการณ์จากภูเก็ตต้องพบกับความผิดหวังเพราะสภาพบรรยากาศไม่เป็นใจมีเมฆปกคลุมมากจนบดบังปรากฏการณ์ไปทั้งหมด
อ.อารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ซึ่งร่วมสังเกตปรากฏการณ์อยู่ด้วย ให้ข้อมูลว่า การทรานซิทครั้งนี้ถือเป็นอุปราคารูปแบบหนึ่งคล้ายกับการเกิดสุริยุปราคา แต่ดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากถึงราว 200 เท่า จึงไม่สามารถบดบังแสงอาทิตย์จนเกิดเป็นสุริยุปราคาได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะมีเวลาการเกิดขึ้นเป็นลำดับอนุกรมที่ค่อนข้างชัดเจน คือ จะเวียนเกิดปรากฏการณ์อีกครั้งใน 3 ปี 10 ปี และอีก 33 ปีข้างหน้า
สำหรับปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ลำดับที่ 2 ของอนุกรมการเกิดปรากฏการณ์ โดยครั้งแรกเกิดเมื่อ 3 ปีก่อนในวันที่ 7 พ.ค.2546 ดังนั้นการเกิดครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าคือวันที่ 9 พ.ค.2559
ที่สำคัญปรากฏการณ์นี้จะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาถึงมวล ขนาด และระยะห่างระหว่างดาวพุธ โลก และดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์ต่อไป
ด้านนายพรชัย รังษีธนะไพศาล คณะกรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การสังเกตปรากฏการณ์รานซิทครั้งนี้ ถือว่าเกิดขึ้นค่อนข้างตรงตามที่มีการคำนวณไว้แต่แรก และแม้ว่าในกรุงเทพฯ จะมีบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยนัก เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว บรรยากาศรอบขอบฟ้าจึงมีเมฆหมอกและไอน้ำมาก แต่ก็ถือว่าได้มาชมปรากฏการณ์สมดังตั้งใจ ซึ่งนอกจากจะได้เห็นดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์แล้ว ยังทำให้ได้เห็นจุดดับบนดวงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธด้วย
ที่มา : manageronline
ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์
หมอกหนาฟ้ามัวคนกรุงอดชม "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์"
ปรากฏการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" ช่วงเช้า น่าเสียดายที่ชาวกรุงเทพฯ ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เมฆหมอกหนาและกลุ่มควันทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ไม่ชัดเจน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งใน 10 ปีข้างหน้า
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" (Mercury Transit) ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.10 - 07.11 น. (ประมาณ 60 นาที) ส่วนท้องฟ้าบริเวณประเทศไทย ที่คาดคะเนว่าจะเห็นปรากฏการณ์ในช่วงปลายนั้น เป็นที่น่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ที่มีหมอกควันหนารบกวน ทำให้ยากแก่การสังเกตหากไม่ใช้กล้องโทรทัศน์
ปรากฏการณ์ "ทรานซิท" (transit) เป็นอุปราคารูปแบบหนึ่ง เหมือนสุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) เพียงแต่ดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์มาก จึงดูคล้ายเป็นจุดดำที่เคลื่อนที่ผ่านตัวดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ที่จะทรานซิทได้มีเพียง 2 ดวงคือดาวพุธและดาวศุกร์ โดยครั้งนี้โลก ดาวพุธ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี คล้ายกับการเกิดสุริยุปราคาของดวงจันทร์ ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์บ่อยกว่าดาวศุกร์ การทรานซิทดาวพุธเกิดขึ้นได้ราวๆทุก 7 ปี กระนั้นก็ตามปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ผ่าหน้าดวงอาทิตย์ก็ยังหาชมได้ยากยิ่ง โดยในรอบศตวรรษจะเกิดขึ้นเพียง 13 ครั้งเท่านั้น และผู้คนบนผืนโลกจะสังเกตได้เพียงแค่ 6 ครั้ง
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 21.57 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากประเทศไทย ส่วนปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่สังเกตได้ง่ายกว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 เวลา 07.28 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 180 เท่าของดวงอาทิตย์ ห่างจากโลกเพียงแค่ 77 ล้านกิโลเมตร ส่วนปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์นั้นนักดาราศาสตร์สังเกตเห็นครั้งแรกในปี 2174
ที่มา : manageronline
ปรากฏการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" ช่วงเช้า น่าเสียดายที่ชาวกรุงเทพฯ ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เมฆหมอกหนาและกลุ่มควันทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ไม่ชัดเจน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งใน 10 ปีข้างหน้า
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ "ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์" (Mercury Transit) ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.10 - 07.11 น. (ประมาณ 60 นาที) ส่วนท้องฟ้าบริเวณประเทศไทย ที่คาดคะเนว่าจะเห็นปรากฏการณ์ในช่วงปลายนั้น เป็นที่น่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ที่มีหมอกควันหนารบกวน ทำให้ยากแก่การสังเกตหากไม่ใช้กล้องโทรทัศน์
ปรากฏการณ์ "ทรานซิท" (transit) เป็นอุปราคารูปแบบหนึ่ง เหมือนสุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) เพียงแต่ดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์มาก จึงดูคล้ายเป็นจุดดำที่เคลื่อนที่ผ่านตัวดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ที่จะทรานซิทได้มีเพียง 2 ดวงคือดาวพุธและดาวศุกร์ โดยครั้งนี้โลก ดาวพุธ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี คล้ายกับการเกิดสุริยุปราคาของดวงจันทร์ ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์บ่อยกว่าดาวศุกร์ การทรานซิทดาวพุธเกิดขึ้นได้ราวๆทุก 7 ปี กระนั้นก็ตามปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ผ่าหน้าดวงอาทิตย์ก็ยังหาชมได้ยากยิ่ง โดยในรอบศตวรรษจะเกิดขึ้นเพียง 13 ครั้งเท่านั้น และผู้คนบนผืนโลกจะสังเกตได้เพียงแค่ 6 ครั้ง
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 21.57 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากประเทศไทย ส่วนปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่สังเกตได้ง่ายกว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 เวลา 07.28 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 180 เท่าของดวงอาทิตย์ ห่างจากโลกเพียงแค่ 77 ล้านกิโลเมตร ส่วนปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์นั้นนักดาราศาสตร์สังเกตเห็นครั้งแรกในปี 2174
ที่มา : manageronline
ม.สุรนารีสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะเกษตร
ม.สุรนารีสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะเกษตรนำร่องจ่ายกระแสไฟป้อนฟาร์มในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทุ่มงบประมาณ 20 ล้านบาท สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนระดับภูมิภาค เล็งพัฒนาสู่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่สามารถผลิตพลังงานป้อนหน่วยงานในองค์กรได้เบ็ดเสร็จ
รศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลเฉลิมพระเกียรติเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ ขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์ อาศัยเชื้อเพลิงจากของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษไม้ แกลบ กะลา ซังข้าวโพด และเหง้ามันสำปะหลัง ขีดความสามารถในขณะนี้มีกำลังไฟฟ้ารองรับชุมชนได้ถึง 200 ครัวเรือน
โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ ดร.วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร และหัวหน้าหน่วยวิจัยวิศวกรรมพลังงาน สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่เริ่มงานวิจัยด้านพลังงานทดแทนตั้งแต่ปี 2546 ใช้งบประมาณไปกว่า 20 ล้านบาท โดยใช้ผลผลิตเกษตรกรรมและ วัสดุที่เหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า
เบื้องต้นทีมวิจัยได้ออกแบบระบบชิ้นส่วนและสร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก 5-10 กิโลวัตต์ ขึ้นก่อน เพื่อทดสอบระบบ และพบว่าสัดส่วนขององค์ประกอบของก๊าซชีวมวลได้ มีค่าความร้อนเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งเป็นต้นกำลังขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันได้
จากนั้นได้วิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งนำไปสู่การร่วมมือกับนักวิจัยจากบริษัท ซาตาเกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น และจัดสร้างเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบขนาดกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ ใช้งานภายในบริเวณฟาร์มมหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว โดยเตรียมศึกษารายละเอียด ปรับปรุงและทดสอบระบบที่เหมาะสม ก่อนนำไปใช้งานในเชิงการค้าหรือส่งเสริมให้เป็นวิสาหกิจชุมชนต่อไป
ส่วนขั้นตอนต่อไปจะเป็นการวิจัยเทคนิคบริหารจัดการโรงไฟฟ้าด้านการจัดการวัตถุดิบ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียงปีครึ่ง ก็สามารถหมุนเวียนตัดมาป้อนได้ตลอดปี
ที่มา : komchadluek
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทุ่มงบประมาณ 20 ล้านบาท สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนระดับภูมิภาค เล็งพัฒนาสู่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่สามารถผลิตพลังงานป้อนหน่วยงานในองค์กรได้เบ็ดเสร็จ
รศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลเฉลิมพระเกียรติเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ ขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์ อาศัยเชื้อเพลิงจากของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษไม้ แกลบ กะลา ซังข้าวโพด และเหง้ามันสำปะหลัง ขีดความสามารถในขณะนี้มีกำลังไฟฟ้ารองรับชุมชนได้ถึง 200 ครัวเรือน
โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ ดร.วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร และหัวหน้าหน่วยวิจัยวิศวกรรมพลังงาน สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่เริ่มงานวิจัยด้านพลังงานทดแทนตั้งแต่ปี 2546 ใช้งบประมาณไปกว่า 20 ล้านบาท โดยใช้ผลผลิตเกษตรกรรมและ วัสดุที่เหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า
เบื้องต้นทีมวิจัยได้ออกแบบระบบชิ้นส่วนและสร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก 5-10 กิโลวัตต์ ขึ้นก่อน เพื่อทดสอบระบบ และพบว่าสัดส่วนขององค์ประกอบของก๊าซชีวมวลได้ มีค่าความร้อนเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งเป็นต้นกำลังขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันได้
จากนั้นได้วิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งนำไปสู่การร่วมมือกับนักวิจัยจากบริษัท ซาตาเกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น และจัดสร้างเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบขนาดกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ ใช้งานภายในบริเวณฟาร์มมหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว โดยเตรียมศึกษารายละเอียด ปรับปรุงและทดสอบระบบที่เหมาะสม ก่อนนำไปใช้งานในเชิงการค้าหรือส่งเสริมให้เป็นวิสาหกิจชุมชนต่อไป
ส่วนขั้นตอนต่อไปจะเป็นการวิจัยเทคนิคบริหารจัดการโรงไฟฟ้าด้านการจัดการวัตถุดิบ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียงปีครึ่ง ก็สามารถหมุนเวียนตัดมาป้อนได้ตลอดปี
ที่มา : komchadluek
Wednesday, November 8, 2006
เครื่องบินไร้เสียง
มะกัน – ผู้ดีเร่งสร้างเครื่องบินไร้เสียง แก้ปัญหาเสียงเครื่องบินขึ้น-ลง
ปัญหาเครื่องบินขึ้นลงเสียงดังสร้างความรำคาญและทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้สนามบินเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มหาวิทยาลัยอังกฤษและสหรัฐ จึงระดมนักวิจัย 40 คน มาช่วยกันออกแบบเครื่องบินใหม่ตั้งแต่ตัวเครื่องยันเครื่องยนต์ให้เพลาเสียงลง
เครื่องบินไอพ่นรุ่นใหม่นี้ เรียกว่า "ไอพ่นเก็บเสียง" สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 215 คน และคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ภายในปี 2573 หรืออีก 24 ปี เป็นผลงานคิดค้นโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งอังกฤษ และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐ 40 ชีวิต ที่ร่วมกันใช้เวลา 3 ปี พัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ให้เสียงเบาลงเหลือพอๆ กับเสียงเครื่องซักผ้า หรือเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป
ปัญหาเสียงดังเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ไม่สามารถขยายสนามบิน และเพิ่มเที่ยวบินได้ และเป็นปัญหาที่ถูกร้องเรียนมาก ถ้าสามารถพัฒนาเครื่องบินเก็บเสียงได้เท่ากับเป็นการพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมการบิน
ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างเช่น โบอิ้ง และแอร์บัส และผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น ต่างให้ความสนใจพัฒนาเครื่องบินที่เสียงเงียบ แต่บริษัทเหล่านี้ยังคงยึดติดกับการออกแบบด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต่างจากที่ทีมนักวิจัยของเอ็มไอทีที่คิดออกแบบใหม่หมดทั้งลำเพื่อหาทางทำให้เสียงเครื่องบินเบาลง
เครื่องบินพาณิชย์ปัจจุบันมีลำตัวเป็นแท่งกระบอกยาวมีปีกกลางลำ แต่เครื่องบินไอพ่นเก็บเสียงออกแบบต่างไปคนละเรื่อง และดูคล้ายกับเครื่องบิน "ล่องหน" ที่กองทัพสหรัฐใช้งานสอดแนม ตอนท้ายของเครื่องไม่มีหางเสือสำหรับรักษาสมดุล แต่ออกแบบให้ปลายปีกสองข้างทำหน้าที่รักษาการทรงตัวแทน
เครื่องบินไอพ่นเก็บเสียงที่ออกแบบไว้มีลำตัวยาว 98 เมตร ปีกยาว 44 เมตร เริ่มสยายตั้งแต่หัวเครื่องไปถึงหาง เทียบแล้วมีขนาดพอกับเครื่องโบอิ้ง 767 การออกแบบเครื่องบินในลักษณะดังกล่าวยังช่วยให้เครื่องบินยกตัวลอยอยู่ได้โดยใช้ความเร็วต่ำ ดังนั้นเวลาลงจอดเสียงจะเบาลง นอกจากนี้ เครื่องบินเก็บเสียงยังไม่ใช้ครีบปีกที่กระดกขึ้นลงเหมือนที่ใช้กับเครื่องบินโดยสารปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวการแผดเสียงลั่นทุ่ง
สองมหาวิทยาลัยชั้นนำยังช่วยกันออกแบบระบบเครื่องยนต์ที่กินเชื้อเพลิงน้อยลง และเสียงเงียบขึ้น โดยแทนที่จะยัดเอาเครื่องยนต์ไอพ่นใส่ไว้ในกระบอกใต้ปีก แต่เครื่องบินเก็บเสียงจะมีเครื่องยนต์สามตัววางไว้กลางลำและหาง เครื่องยนต์เหล่านี้ดูดอากาศจากบนปีกเข้าเครื่องจึงช่วยเก็บเสียงเวลาเครื่องบินทะยานขึ้นจากลู่วิ่ง
ที่มา : .komchadluek
ปัญหาเครื่องบินขึ้นลงเสียงดังสร้างความรำคาญและทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้สนามบินเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มหาวิทยาลัยอังกฤษและสหรัฐ จึงระดมนักวิจัย 40 คน มาช่วยกันออกแบบเครื่องบินใหม่ตั้งแต่ตัวเครื่องยันเครื่องยนต์ให้เพลาเสียงลง
เครื่องบินไอพ่นรุ่นใหม่นี้ เรียกว่า "ไอพ่นเก็บเสียง" สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 215 คน และคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ภายในปี 2573 หรืออีก 24 ปี เป็นผลงานคิดค้นโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งอังกฤษ และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐ 40 ชีวิต ที่ร่วมกันใช้เวลา 3 ปี พัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ให้เสียงเบาลงเหลือพอๆ กับเสียงเครื่องซักผ้า หรือเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป
ปัญหาเสียงดังเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ไม่สามารถขยายสนามบิน และเพิ่มเที่ยวบินได้ และเป็นปัญหาที่ถูกร้องเรียนมาก ถ้าสามารถพัฒนาเครื่องบินเก็บเสียงได้เท่ากับเป็นการพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมการบิน
ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างเช่น โบอิ้ง และแอร์บัส และผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น ต่างให้ความสนใจพัฒนาเครื่องบินที่เสียงเงียบ แต่บริษัทเหล่านี้ยังคงยึดติดกับการออกแบบด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต่างจากที่ทีมนักวิจัยของเอ็มไอทีที่คิดออกแบบใหม่หมดทั้งลำเพื่อหาทางทำให้เสียงเครื่องบินเบาลง
เครื่องบินพาณิชย์ปัจจุบันมีลำตัวเป็นแท่งกระบอกยาวมีปีกกลางลำ แต่เครื่องบินไอพ่นเก็บเสียงออกแบบต่างไปคนละเรื่อง และดูคล้ายกับเครื่องบิน "ล่องหน" ที่กองทัพสหรัฐใช้งานสอดแนม ตอนท้ายของเครื่องไม่มีหางเสือสำหรับรักษาสมดุล แต่ออกแบบให้ปลายปีกสองข้างทำหน้าที่รักษาการทรงตัวแทน
เครื่องบินไอพ่นเก็บเสียงที่ออกแบบไว้มีลำตัวยาว 98 เมตร ปีกยาว 44 เมตร เริ่มสยายตั้งแต่หัวเครื่องไปถึงหาง เทียบแล้วมีขนาดพอกับเครื่องโบอิ้ง 767 การออกแบบเครื่องบินในลักษณะดังกล่าวยังช่วยให้เครื่องบินยกตัวลอยอยู่ได้โดยใช้ความเร็วต่ำ ดังนั้นเวลาลงจอดเสียงจะเบาลง นอกจากนี้ เครื่องบินเก็บเสียงยังไม่ใช้ครีบปีกที่กระดกขึ้นลงเหมือนที่ใช้กับเครื่องบินโดยสารปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวการแผดเสียงลั่นทุ่ง
สองมหาวิทยาลัยชั้นนำยังช่วยกันออกแบบระบบเครื่องยนต์ที่กินเชื้อเพลิงน้อยลง และเสียงเงียบขึ้น โดยแทนที่จะยัดเอาเครื่องยนต์ไอพ่นใส่ไว้ในกระบอกใต้ปีก แต่เครื่องบินเก็บเสียงจะมีเครื่องยนต์สามตัววางไว้กลางลำและหาง เครื่องยนต์เหล่านี้ดูดอากาศจากบนปีกเข้าเครื่องจึงช่วยเก็บเสียงเวลาเครื่องบินทะยานขึ้นจากลู่วิ่ง
ที่มา : .komchadluek
เครื่องบินเสียงเบา
นวัตกรรมแห่งอนาคต “เครื่องบินเสียงเบา” บรรเทาทุกข์ทางหู
เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ – เสียงอันดังของเครื่องบินทำเอาผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงสนามบินต้องปวดประสาท อย่างล่าสุดกับสนามบินสุวรรณภูมิในบ้านเรามีอันต้องเวนคืนที่ดินและจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ที่อาศัยอยู่ติดสนามบินในระยะอันตราย แต่ในอนาคตข้างหน้าผู้คนอาจจะสบายใจที่อยู่ใกล้ชิดติดสนามบินก็เป็นได้ เมื่อ “เครื่องบินเสียงเบา” ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
ทีมนักวิจัยกว่า 40 คนจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) และเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) ใช้เวลากว่า 3 ปีร่วมกันสร้างเครื่องบินแบบไร้เสียง “SAX-40” อีกทั้งยังใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องบินทั่วไป โดยนำเครื่องบินตัวอย่างแสดงที่ลอนดอนเมื่อวันจันทร์ (6 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ไอเดียการสร้างเครื่องบินเงียบหรือให้เสียงเบาลงกว่าเดิมนี้เพราะต้องการลดมลภาวะทางเสียงให้แก่ผู้ที่อาศัยรอบๆ สนามบิน ที่ต้องทนรำคาญจากเสียงเครื่องบินขึ้นลงอยู่เสมอ โดยคาดว่าเครื่องบินเสียงเบาลำแรกซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 215 คนจะบินได้จริงประมาณปี 2573
“เสียงอันดังของเครื่องบินเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายตัวของสนามบินและการเพิ่มเที่ยวบิน” ศ.เอ็ดวาร์ด ไกรท์เซอร์ (Edward Greitzer) จากเอ็มไอทีกล่าว โดยระบุอีกว่า ถ้าสามารถสร้างเครื่องบินให้ทำเสียงเบาลงกว่าเดิมได้สำเร็จจริงก็จะพลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมการบินเลยทีเดียว
การลดเสียงของเครื่องบินนั้นต่างก็เป็นจุดประสงค์สำคัญของเหล่าบริษัทสร้างเครื่องบินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง โบอิงหรือแอร์บัส ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องตัดเทคโนโลยีบางอย่างของตัวเองออกไปบ้างเพื่อลดเสียงของเครื่อง ขณะที่ทีมวิจัยของเอ็มไอทีและเคมบริดจ์นั้นออกแบบเครื่องบินขึ้นใหม่ โดยเน้นที่เรื่องเสียงเบาเป็นสำคัญ
เครื่องบิน SAX-40 ที่ทางทีมพัฒนานำมาโชว์นี้ รูปร่างของเครื่องออกแบบให้ปลายปีกโค้งงอ (blended wing) ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องบินยุคใหม่ ที่สร้างความสมดุลระหว่างการใช้เชื้อเพลิงและการปลดปล่อยเสียงรบกวน โดยเครื่องบินลำนี้นอกจากจะเสียงเบากว่าเดิมมากแล้ว ยังใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องบินทั่วไปอีกด้วย
โมเดลของตัวเครื่องโค้งเข้ารูปในแบบไร้หาง เหมือนกับ “สเต็ลธ” เครื่องบินทหารของสหรัฐฯ เครื่องบินตัวอย่างนี้มีความยาวจากปีกซ้ายถึงขวา 67.5 เมตร จากจมูกถึงหาง 44 เมตร โดยเปรียบเทียบขนาดกับโบอิง 767
เสียงดังที่เกิดขึ้นขณะเครื่องบินขึ้นลงนั้นเนื่องจากการไหลของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงต้องออกแบบให้พื้นผิวของเครื่องบินเรียบเป็นแผ่นเดียวกัน โดยตัดในส่วนปีกเปิดปิด (wing flaps) และหาง ซึ่งสร้างเสียงรบกวนมากขณะบินขึ้นลง ตัวเครื่องบินทำจากวัสดุผสมน้ำหนักเบา ทำให้เครื่องบินทะยานสู่อากาศด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าเครื่องบินทั่วไป และยังช่วยให้นกเหล็กลงจอดได้อย่างเบาเสียงลงกว่าเดิมมาก
ทางด้านริชาร์ด อบูลาเฟีย (Richard Aboulafia) รองประธานทีลกรุ๊ป (Teal Group) ที่ปรึกษาทางด้านการบิน ชี้ว่า หากสามารถสร้างทำเครื่องบินเสียงเบาได้สำเร็จจริงผู้คนต่างพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้อยู่ใกล้กับสนามบิน สะดวกในการเดินทาง นับเป็นก้าวย่างที่มีมูลค่าทางธุรกิจสูง หากสามารถนำการโดยสารเครื่องบินเข้าสู่เมืองได้
ที่มา : manageronline
เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ – เสียงอันดังของเครื่องบินทำเอาผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงสนามบินต้องปวดประสาท อย่างล่าสุดกับสนามบินสุวรรณภูมิในบ้านเรามีอันต้องเวนคืนที่ดินและจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ที่อาศัยอยู่ติดสนามบินในระยะอันตราย แต่ในอนาคตข้างหน้าผู้คนอาจจะสบายใจที่อยู่ใกล้ชิดติดสนามบินก็เป็นได้ เมื่อ “เครื่องบินเสียงเบา” ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
ทีมนักวิจัยกว่า 40 คนจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) และเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) ใช้เวลากว่า 3 ปีร่วมกันสร้างเครื่องบินแบบไร้เสียง “SAX-40” อีกทั้งยังใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องบินทั่วไป โดยนำเครื่องบินตัวอย่างแสดงที่ลอนดอนเมื่อวันจันทร์ (6 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ไอเดียการสร้างเครื่องบินเงียบหรือให้เสียงเบาลงกว่าเดิมนี้เพราะต้องการลดมลภาวะทางเสียงให้แก่ผู้ที่อาศัยรอบๆ สนามบิน ที่ต้องทนรำคาญจากเสียงเครื่องบินขึ้นลงอยู่เสมอ โดยคาดว่าเครื่องบินเสียงเบาลำแรกซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 215 คนจะบินได้จริงประมาณปี 2573
“เสียงอันดังของเครื่องบินเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายตัวของสนามบินและการเพิ่มเที่ยวบิน” ศ.เอ็ดวาร์ด ไกรท์เซอร์ (Edward Greitzer) จากเอ็มไอทีกล่าว โดยระบุอีกว่า ถ้าสามารถสร้างเครื่องบินให้ทำเสียงเบาลงกว่าเดิมได้สำเร็จจริงก็จะพลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมการบินเลยทีเดียว
การลดเสียงของเครื่องบินนั้นต่างก็เป็นจุดประสงค์สำคัญของเหล่าบริษัทสร้างเครื่องบินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง โบอิงหรือแอร์บัส ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องตัดเทคโนโลยีบางอย่างของตัวเองออกไปบ้างเพื่อลดเสียงของเครื่อง ขณะที่ทีมวิจัยของเอ็มไอทีและเคมบริดจ์นั้นออกแบบเครื่องบินขึ้นใหม่ โดยเน้นที่เรื่องเสียงเบาเป็นสำคัญ
เครื่องบิน SAX-40 ที่ทางทีมพัฒนานำมาโชว์นี้ รูปร่างของเครื่องออกแบบให้ปลายปีกโค้งงอ (blended wing) ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องบินยุคใหม่ ที่สร้างความสมดุลระหว่างการใช้เชื้อเพลิงและการปลดปล่อยเสียงรบกวน โดยเครื่องบินลำนี้นอกจากจะเสียงเบากว่าเดิมมากแล้ว ยังใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องบินทั่วไปอีกด้วย
โมเดลของตัวเครื่องโค้งเข้ารูปในแบบไร้หาง เหมือนกับ “สเต็ลธ” เครื่องบินทหารของสหรัฐฯ เครื่องบินตัวอย่างนี้มีความยาวจากปีกซ้ายถึงขวา 67.5 เมตร จากจมูกถึงหาง 44 เมตร โดยเปรียบเทียบขนาดกับโบอิง 767
เสียงดังที่เกิดขึ้นขณะเครื่องบินขึ้นลงนั้นเนื่องจากการไหลของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงต้องออกแบบให้พื้นผิวของเครื่องบินเรียบเป็นแผ่นเดียวกัน โดยตัดในส่วนปีกเปิดปิด (wing flaps) และหาง ซึ่งสร้างเสียงรบกวนมากขณะบินขึ้นลง ตัวเครื่องบินทำจากวัสดุผสมน้ำหนักเบา ทำให้เครื่องบินทะยานสู่อากาศด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าเครื่องบินทั่วไป และยังช่วยให้นกเหล็กลงจอดได้อย่างเบาเสียงลงกว่าเดิมมาก
ทางด้านริชาร์ด อบูลาเฟีย (Richard Aboulafia) รองประธานทีลกรุ๊ป (Teal Group) ที่ปรึกษาทางด้านการบิน ชี้ว่า หากสามารถสร้างทำเครื่องบินเสียงเบาได้สำเร็จจริงผู้คนต่างพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้อยู่ใกล้กับสนามบิน สะดวกในการเดินทาง นับเป็นก้าวย่างที่มีมูลค่าทางธุรกิจสูง หากสามารถนำการโดยสารเครื่องบินเข้าสู่เมืองได้
ที่มา : manageronline
Thursday, November 2, 2006
เทศกาลหนังวิทย์
เทศกาลหนังวิทย์จ่อฉายชวนคนไทยดูให้เต็มอิ่มฟรี 61 เรื่องจากทั่วโลก
สถานทูตฝรั่งเศสและหน่วยงานวิทยาศาสตร์ไทย เชิญชวนเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปชมฟรีสารคดีวิทยาศาสตร์ 61 เรื่อง จาก 13 ประเทศ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่จักรวาลลี้ลับ ชีวิตมดจนถึงโลกของไวรัส หวังเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นเด็กไทยสนใจเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า สสวท.กำหนดจัดงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 นำเสนอภาพยนตร์ 61 เรื่อง ที่ผ่านการประกวดคัดเลือกจาก 13 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ สกอตแลนด์ อิตาลี ไทย เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเวียดนาม
ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่นำมาจัดฉาย แบ่งเป็น 7 ประเภทหลักตามเนื้อหาคือ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม เพื่อวิทยาการเทคโนโลยี เพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนิเวศวิทยา และเพื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) เอกมัย, พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร สวนจตุจักรและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันเกอเธ่แห่งสถานทูตฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของบริษัท ไบเออร์ประเทศไทย จำกัด ดูรายละเอียดได้ที่ www.ipst.ac.th หรือโทรสอบถามที่ 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ในปีนี้ ได้คัดเลือกบทภาพยนตร์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ภาพยนตร์เกี่ยวกับวัฏจักรของมด พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ จากประเทศออสเตรีย กำเนิดลูกช้างจากประเทศฝรั่งเศส สวรรค์ของงูจากประเทศอิตาลี ถอดรหัสโลกไวรัสจากประเทศเยอรมนี พระจันทร์ 140 จากประเทศไทย เป็นต้น ภาพยนตร์เหล่านี้จะบรรยายเป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการชมและเข้าใจ
"การจัดงานครั้งนี้ ผู้จัดต้องการดึงจุดเด่นของวิทยาศาสตร์ออกมาให้ผู้ชมได้เข้าใจง่ายที่สุด และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากภาพยนตร์นั้น ที่ไม่สามารถหาดูได้จากโรงภาพยนตร์ใดๆ อีกแล้ว" ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ กล่าว
ที่มา : komchadluek
สถานทูตฝรั่งเศสและหน่วยงานวิทยาศาสตร์ไทย เชิญชวนเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปชมฟรีสารคดีวิทยาศาสตร์ 61 เรื่อง จาก 13 ประเทศ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่จักรวาลลี้ลับ ชีวิตมดจนถึงโลกของไวรัส หวังเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นเด็กไทยสนใจเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า สสวท.กำหนดจัดงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 นำเสนอภาพยนตร์ 61 เรื่อง ที่ผ่านการประกวดคัดเลือกจาก 13 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ สกอตแลนด์ อิตาลี ไทย เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเวียดนาม
ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่นำมาจัดฉาย แบ่งเป็น 7 ประเภทหลักตามเนื้อหาคือ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม เพื่อวิทยาการเทคโนโลยี เพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนิเวศวิทยา และเพื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) เอกมัย, พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร สวนจตุจักรและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันเกอเธ่แห่งสถานทูตฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของบริษัท ไบเออร์ประเทศไทย จำกัด ดูรายละเอียดได้ที่ www.ipst.ac.th หรือโทรสอบถามที่ 0-2392-4021 ต่อ 3306, 3311
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ในปีนี้ ได้คัดเลือกบทภาพยนตร์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ภาพยนตร์เกี่ยวกับวัฏจักรของมด พลังลึกลับแห่งธรรมชาติ จากประเทศออสเตรีย กำเนิดลูกช้างจากประเทศฝรั่งเศส สวรรค์ของงูจากประเทศอิตาลี ถอดรหัสโลกไวรัสจากประเทศเยอรมนี พระจันทร์ 140 จากประเทศไทย เป็นต้น ภาพยนตร์เหล่านี้จะบรรยายเป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการชมและเข้าใจ
"การจัดงานครั้งนี้ ผู้จัดต้องการดึงจุดเด่นของวิทยาศาสตร์ออกมาให้ผู้ชมได้เข้าใจง่ายที่สุด และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากภาพยนตร์นั้น ที่ไม่สามารถหาดูได้จากโรงภาพยนตร์ใดๆ อีกแล้ว" ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ กล่าว
ที่มา : komchadluek
Subscribe to:
Posts (Atom)