นักวิจัยสหรัฐคิดค้นแบตเตอรี่แบบใหม่พิมพ์ลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เลย ให้กำลังไฟฟ้ามากกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป เหมาะกับอุปกรณ์ประเภทใช้แล้วทิ้ง
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใช้สารเคมี "ซิงก์-คาร์บอน" แบบเดียวกับที่ใช้ทำแบตเตอรี่ทั่วไปมาพิมพ์เป็นแผ่นบางวางลงบนพื้นผิวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ป้ายอิเล็กทรอนิสก์ และจอภาพขนาดเล็ก
พวกเขาทดลองพิมพ์แบตเตอรี่แผ่นบางด้วย "หมึกท่อนาโนคาร์บอน" เริ่มจากชั้นแรกสำหรับทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า แล้วทับด้วยหมึกท่อนาโนอีกชั้นผสมกับแมงกานีส ออกไซด์ และอิเล็กโทรไลต์ ทำหน้าที่เป็น "แคโทรด" หรือขั้วลบให้ประจุไฟฟ้าวิ่งออกจากแบตเตอรี่ และทับด้วยแผ่นฟอยล์สังกะสีเป็นชั้นที่สาม แต่รวมกันแล้วแผ่นแบตเตอรี่ยังมีขนาดหนาไม่ถึงมิลลิเมตร
โดยหลักการแล้ว หากต้องการกระแสไฟฟ้ามากขึ้นสามารถเพิ่มชั้นท่อนาโนคาร์บอนลงไปได้อีก กระแสไฟฟ้าที่ได้จากชั้นท่อนาโนคาร์บอนที่ซ้อนกันจำนวนมากให้กำลังไฟฟ้ามากกว่าเทคนิคเดิมที่ซ้อนวางด้วยแผ่นโลหะ กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบใหม่ยังไม่ชะลอกระบวนการเคมีไฟฟ้าที่ใช้ผลิตกระแสไฟด้วย
นักวิจัยกล่าวว่า แบตเตอรี่อย่างบางไม่ต่างจากแบตเตอรี่ปกติเว้นแต่เปลี่ยนมาใช้โครงสร้างเล็กระดับนาโนเมตรแทนโลหะและขั้วนำไฟฟ้าอย่างที่ใช้กันอยู่เท่านั้น ถ้าออกแบบให้ดี แบตเตอรี่บางสามารถให้กำลังไฟได้มากกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปในขนาดเท่ากัน ซึ่งเหมาะกับอุปกรณ์ประเภทพกพาติดตัวอย่างมาก
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้คิดค้นตัวเก็บประจุที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากมายโดยใช้เทคนิคหมึกท่อนาโนคาร์บอนอย่างเดียวกัน และมีแผนจะผนวกตัวเก็บประจุเข้ากับแบตเตอรี่สำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการกำลังไฟสูงขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment