Sunday, May 13, 2007

สุริยุปราคาเต็มดวงในสมัยรัชกาลที่ 7

สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ไม่เพียงแต่นักดาราศาสตร์เท่านั้นที่ต้องการศึกษาและได้สัมผัส คนจำนวนมากก็ให้ความสนใจไม่น้อย เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่นานๆ ครั้งจึงจะเกิดให้ได้เห็นในประเทศประเทศหนึ่ง เดือนนี้เมื่อ 78 ปีที่แล้ว ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงมองเห็นได้ในภาคใต้ของไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จทอดพระเนตรที่ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

สุริยุปราคาเต็มดวงมีโอกาสเกิดขึ้นใกล้วันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ อันเป็นจังหะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และเข้าบังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวงเมื่อสังเกตจากพื้นโลก ในอดีตมักเรียกว่าสุริยุปราคาสรรพคราส หรือสุริยุปราคาหมดดวง

นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ.2325 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเฉพาะที่มองเห็นได้ในแผ่นดินสยามหรือประเทศไทยมาแล้วทั้งหมด 7 ครั้ง คือ 4 มิถุนายน 2331, 21 ธันวาคม 2386, 18 สิงหาคม 2411, 6 เมษายน 2418, 9 พฤษภาคม 2472, 20มิถุนายน 2498 และ 24 ตุลาคม 2538 ครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ 11 เมษายน 2613 (อีก 63 ปี) สามารถมองเห็นได้ในพื้นที่บางส่วนของ จ.ระนอง (บริเวณคอคอดกระ) ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวไทย จันทบุรี และตราด (รวมทั้งเกาะช้างและเกาะกูด)

สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 ห่างจากครั้งก่อนหน้าซึ่งเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึง 54 ปี พลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เขียนบรรยายไว้ในวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับพฤษภาคม 2498 (ตีพิมพ์อีกครั้งในวารสารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม 2536) อธิบายถึงสุริยุปราคาในครั้งนั้นว่ามองเห็นได้บางตำบลของมณฑลปัตตานี สหรัฐมลายู สุมาตรา และฟิลิปปินส์ (แผ่นดินที่เห็นได้อีกแห่งหนึ่ง คือ บริเวณแหลมญวน-ผู้เขียน)

แม้ว่าที่ปัตตานีจะเป็นบริเวณที่สังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงได้ดีแห่งหนึ่ง แค่คณะนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศจะไม่รวมอยู่ในที่เดียวกัน เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย จึงพบว่ามีกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง สุมาตรามีคณะของเยอรมัน ฮอลันดา และญี่ปุ่น ไทรบุรีมีคณะอังกฤษ อเมริกัน และญี่ปุ่น เกาะปูคอนเดอร์ (ปัจจุบัน คือ หมู่เกาะคอนซอน ทางใต้ของเวียดนาม) มีคณะเดียวจากฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์มีคณะเยอรมันและอเมริกัน ส่วนปัตตานีมีคณะอังกฤษ

เชอร์ แฟรงก์ ไดสัน (Frank Dyson) นักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวกรีนิชซึ่งสนใจในเรื่องการตรวจสอบทฤษฎีของไอร์สไตน์ที่ระบุว่าแรงโน้มถ่วงของวัตถุทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของแสงได้ และการสังเกตตำแหน่งดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงสามารถพิสูจน์สมมติฐานนี้ มีหนังสือมาถึงกระทรวงการต่างประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคม 2469 แจ้งความประสงค์ขอสอบถามสถิติสภาพอากาศในช่วงวันที่เกิดสุริยุปราคาเพื่อที่จะส่งนักดาราศาสตร์มาสังเกตและขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2471 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ทรงทำหนังสือความเห็นขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการตั้งข้าราชการคอยติดต่อเจรจาในกิจการต่างๆ เช่น การสร้างที่พัก สร้างฐานตั้งกล้อง การกินอยู่ ขณะที่เตรียมรับรองคณะจากอังกฤษอยู่นั้น ปรากฏว่าอุปทูตเยอรมนีได้มีหนังสือแจ้งว่า คณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคีลจะเดินทางมาสังเกตสุริยุปราคาด้วยอีกคณะหนึ่ง

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2471 คณะจากอังกฤษมาถึงกรุงเทพฯ ก่อนเป็นคณะแรกแล้วจึงเดินทางไปปัตตานี ส่วนคณะของเยอรมนีเดินทางมาถึงในเดือนมีนาคมโดยเข้ามาจากปีนัง ทั้งสองคณะขนอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์มาหลายชนิด (ขณะนั้นเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมเป็นช่วงปลายปี) ยังไม่ขึ้นปีใหม่ 2472 แสดงว่าคณะนักดาราศาสตร์เดินทางมาก่อนเกิดปรากฏการณ์ 2-3 เดือน

ค่ำวันที่ 5 พฤษภาคม 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรนี พระบรมราชินีได้เสด็จลงประทับในเรือพระที่นั่งมหาจักรี เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคออกจากวังไกลกังวล หัวหิน ถึงอ่าวปัตตานีในเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม ต่อมาเวลา 14.00 น. ทรงรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังค่ายของคณะนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมัน คณะนักดาราศาสตร์กราบบังคมทูลเชิญเสด็จทอดพระเนตรเครื่องมือที่ใช้ในการส่องดูสุริยุปราคาก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา 16.20 น. คืนวันนั้นเวลา 19.00 น. ได้เสด็จฯ ไปค่ายอังกฤษอีกครั้งเพื่อทอดพระเนตรดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์ แล้วเสด็จฯ กลับไปประทับบนเรือพระที่นั่ง

วันที่ 9 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเกิดสุริยุปราคา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปค่ายอังกฤษเพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงโดยคณะนักดาราศาสตร์ทั้งสองคณะเสด็จฯ ออกจากอ่าวปัตตานีในเวลา 18.00 น. ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2472

ผลการสังเกตสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 ไม่สู้ดีนัก แม้ว่าก่อนหน้านั้นอากาศค่อนข้างดี แต่ช่วง 3 วันก่อนปรากฏการณ์ได้มีฝนตกหลักตลอดคืน ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งยาวนานประมาณ 5 นาที มีเมฆ
หมอกบดบังเป็นบางช่วง ทำให้ภาพถ่ายที่ได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร แม้ว่าจะสามารถจับภาพคอโรนา (บรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้เฉพาะตอนเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง) และเปลวสุริยะที่ขอบดวงอาทิตย์ได้

เมื่อสุริยุปราคาผ่านพ้นไป คณะนักดาราศาสตร์ใช้เวลาอีกราวครึ่งเดือนเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ เช่น วัดตำแหน่งดวงจันทร์และดาวบางดวงก่อนรื้อเก็บเครื่องมือ หัวหน้านักดาราศาสตร์ทั้งอังกฤษและเยอรมันได้เดินทางเข้ามาที่กรุงเทพฯ แสดงปาฐกถาในหัวข้อเกี่ยวกับดาราศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ภายหลังรัฐบาลอังกฤษได้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาให้เป็นการตอบแทนต่อชาวไทยผู้ที่มีหน้าที่รับรองในการเดินทางมาของคณะนักดาราศาสตร์ในครั้งนั้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ TODAY

1 comment:

Anonymous said...

情趣用品,情趣用品,情趣用品,情趣用品,情趣用品,情趣用品,情趣,情趣,情趣,情趣,情趣,情趣,情趣用品,情趣用品,情趣,情趣,A片,A片,情色,A片,A片,情色,A片,A片,情趣用品,A片,情趣用品,A片,情趣用品,a片,情趣用品,A片,A片

A片,A片,AV女優,色情,成人,做愛,情色,AIO,視訊聊天室,SEX,聊天室,自拍,AV,情色,成人,情色,aio,sex,成人,情色

免費A片,美女視訊,情色交友,免費AV,色情網站,辣妹視訊,美女交友,色情影片,成人影片,成人網站,H漫,18成人,成人圖片,成人漫畫,情色網,日本A片,免費A片下載,性愛

情色文學,色情A片,A片下載,色情遊戲,色情影片,色情聊天室,情色電影,免費視訊,免費視訊聊天,免費視訊聊天室,一葉情貼圖片區,情色視訊,免費成人影片,視訊交友,視訊聊天,言情小說,愛情小說,AV片,A漫,AVDVD,情色論壇,視訊美女,AV成人網,成人交友,成人電影,成人貼圖,成人小說,成人文章,成人圖片區,成人遊戲,愛情公寓,情色貼圖,色情小說,情色小說,成人論壇


成人電影,微風成人,嘟嘟成人網,成人,成人貼圖,成人交友,成人圖片,18成人,成人小說,成人圖片區,成人文章,成人影城,愛情公寓,情色,情色貼圖,色情聊天室,情色視訊

A片,A片,A片下載,做愛,成人電影,.18成人,日本A片,情色小說,情色電影,成人影城,自拍,情色論壇,成人論壇,情色貼圖,情色,免費A片,成人,成人網站,成人圖片,AV女優,成人光碟,色情,色情影片,免費A片下載,SEX,AV,色情網站,本土自拍,性愛,成人影片,情色文學,成人文章,成人圖片區,成人貼圖