จุฬาฯอาศัยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ประมวลผลคลื่นใต้ทะเลจากแผ่นดินไหว สร้างแบบจำลองทำนายสึนามิ ช่วยให้การเตือนภัยล่วงหน้าทำได้รวดเร็วและแม่นยำ
ผศ.ดร.อาณัติเรืองรัศมี ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมวิจัยจำลองการเกิดสึนามิด้วยการคำนวณความเร็วสูง เพื่อเตรียมการเตือนภัยล่วงหน้า โดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือกริดคอมพิวติ้ง เข้ามาช่วยให้การประมวลผลและวิเคราะห์ผลรวดเร็วขึ้น
จากการศึกษาคลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่มีศูนย์กลางบริเวณทะเลอันดามันและประเทศอินโดนีเซีย พบว่าแผ่นดินไหวบริเวณดังกล่าวจะส่งกระทบต่อชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทย รวมถึงชายฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์ ดังนั้นหากการเตือนภัยพื้นที่เสี่ยงได้ทันท่วงที การอพยพคนออกจากพื้นที่จะทำได้เร็วขึ้น
"โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณการเกิดคลื่นสึนามิในปัจจุบัน จะบันทึกข้อมูลลักษณะการเกิดของคลื่นใต้ทะเลจากแผ่นดินไหว พื้นที่ที่เกิดเหตุและระดับความรุนแรง ซึ่งมีโมเดลมากกว่า 1,000 โมเดลในฐานข้อมูล จากนั้นอาศัยคอมพิวเตอร์คำนวณประมวลผล ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมงต่อ 1 โมเดล หรือกินเวลาราว 1 แสนชั่วโมง อีกทั้งหน่วยความจำที่ใช้สูงถึง 54 เทราไบต์ ผศ.ดร.อาณัติกล่าว
แต่ถ้าใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการคำนวณจะช่วยสร้างฐานข้อมูลได้เร็วขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ผลแบบเรียลไทม์ ทำได้ง่ายขึ้นด้วย ปัจจุบันเครื่องแม่ข่ายในระบบกริดคอมพิวติ้งของประเทศไทย ภายใต้การดูแลของศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า ประกอบด้วย หน่วยประมวลผล หรือซีพียู แบบดูโอว์ คอร์ 400 ตัว หน่วยความจำ 1.1 เทราไบต์ ทำให้การประมวลผลข้อมูลทำได้เร็ว เหมาะสำหรับการวิจัยหรือสร้างฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดจำนวนมาก
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/06/02/x_it_h001_204550.php?news_id=204550
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment