นักวิทยาศาสตร์สหรัฐใกล้ทำฝันให้เป็นจริง เปลี่ยนสาหร่ายให้เป็นไบโอดีเซลใช้ได้กับรถเครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องบินไอพ่น ทีมวิจัยจากห้องแล็บมหาวิทยาลัยมินเนโวตา พบว่า สาหร่ายทางชนิดผลิตน้ำมันได้ถึง 50% และสามารถเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นได้ด้วย แต่ติดปัญหาอยู่ที่ต้นทุนการผลิตที่ยังสูงอยู่ โดยหน่วยงานด้านกลาโหมสหรัฐหน่วยหนึ่งประมาณว่าราว 700 บาทต่อแกลลอน (4 ลิตร)
ผู้อำนวยการหน่วยงานวิจัยพลังงานทดแทนของ บริษัท ฮันนีเวลล์ อินเตอร์เนชั่นแนล มองว่า ถ้าสามารถผลิตน้ำมันจากสาหร่ายด้วยต้นทุนเพียง 70 บาทต่อ 4 ลิตร นั่นแหละถึงจะคุ้มและเป็นความหวังที่หลายคนตั้งตารอดู
ขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างแข่งกันหาสายพันธุ์สาหร่ายที่เหมาะสมเพื่อมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้ในเชิงพาณิชย์
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา เป็นอีกทีมหนึ่งเช่นกันที่คิดค้นวิธีเพาะสาหร่ายให้ได้จำนวนมากพอนำมาเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงค้นหาวิธีสกัดน้ำมันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยได้รับงบสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ บริษัทน้ำมัน บริษัทด้านสาธารณูปโภค และบริษัทร่วมทุนจำนวนมาก
กระบวนการเปลี่ยนน้ำมันจากสาหร่ายให้เป็นไบโอดีเซล ใช้กระบวนการเดียวกับวิธีเปลี่ยนน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงและยากจะทำให้ถูกลงได้ เนื่องจากยังไม่มีใครคิดกระบวนการแปรรูปตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงออกมาเป็นน้ำมันพร้อมใช้ ตอนนี้ทำได้แค่ระดับห้องเล็บเท่านั้น
ถ้าลดต้นทุนได้จริง การผลิตน้ำมันจากสาหร่ายถือว่าได้เปรียบพืชพลังงานชนิดอื่นหลายด้าน ทั้งเติบโตเร็ว และใช้พื้นที่น้อยกว่า เทียบเคียงกันแล้ว ข้าวโพด 2 ไร่ครึ่งผลิตเชื้อเพลิงได้ถึง 1.5 หมื่นแกลลอน
ส่วนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมินเนโซตาทีมวิจัยกำลังพัฒนาวิธีปลูกสาหร่ายให้ได้จำนวนมาก และพบสายพันธุ์ที่เหมาะสมแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างคิดว่าจะนำของเหลือหลังจากสกัดน้ำมันมาทำอะไรต่อไปได้อีก
ทั้งนี้แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผิวน้ำที่เต็มไปด้วยสาหร่ายในแท็งก์สูง หรือสระกลางแจ้ง จะได้ผลผลิตไม่ดีนัก นักวิจัยจึงออกแบบระบบที่เรียกว่า “โฟโตไบโอรีแอคเตอร์” ที่ให้แสงสว่างและสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับสาหร่ายน้ำมัน
สาหร่ายของทีมนี้ปลูกในบ่อกักน้ำเสียโรงงานที่ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากมีฟอสเฟต และไนโตรตปนเปื้อนอยู่ สารเคมีทั้งสองชนิดเป็นสารพิษต่อแม่น้ำ ลำคลอง แต่กลับเป็นปุ๋ยชั้นเลิศสำหรับทำฟาร์มสาหร่าย ทีมชุดนี้จึงคิดทำฟาร์มสาหร่ายใกล้กับโรงบำบัดเสียเลย เพื่อให้เกิดขึ้นหลังจากนำตะกอนของเสียมาเผา
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment