Thursday, December 13, 2007
เทคโนประดิษฐ์-โตโยต้าอวดหุ่นยนต์อุ้มผู้ป่วย-คนชรา
โตโยต้าโชว์หุ่นยนต์รุ่นใหม่พร้อมกันสองรุ่นตัวหนึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ หรือที่เรียกว่าฮิวแมนนอยด์ อีกตัวหนึ่งเป็นพาหนะสองล้อสำหรับพาคนพิการและผู้ป่วยเคลื่อนที่ภายในคฤหาสน์สถานแทนจะนอนแบบอยู่บนเตียง
คัตสุกิวาตานาเบ ประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า หุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักของโตโยต้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากญี่ปุ่นรายนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ.2553 หุ่นยนต์ภาคสนามมากมายจะถูกผลิตออกมาช่วยงานตามโรงงาน บ้านเรือนและในเมือง และปีหน้าโตโยต้ายังมีแผนทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในโรงพยาบาล และโรงงานของโตโยต้าเอง รวมถึงสถานที่
หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานในโรงงานมานานแล้วเช่น ใช้เชื่อม และใช้ประกอบชิ้นส่วนตามสายพานการผลิต ขณะที่หุ่นยนต์เหล่านี้ยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่ในอนาคตหุ่นยนต์จะทำงานช่วยเหลือมนุษย์อย่างเป็นอิสระ
ผู้บริหารโตโยต้าบอกว่าหุ่นยนต์ถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นของโตโยต้า ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถสังเกตได้ว่า รถยนต์รุ่นใหม่มักติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ และสมองกลเพื่ออำนายความสะดวกและดูแล และป้องกันอุบัติภัยให้แก่ผู้ขับขี่
หนึ่งในหุ่นยนต์ที่โตโยต้านำมาโชว์เมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นหุ่นยนต์สองล้อที่ออกแบบคล้ายรถเข็นคนป่วยสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว 20 กม./ชม. สามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ขรุขระหรือเป็นเนินขึ้นลงโดยทรงตัวเองได้อัตโนมัติ เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับพบสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า มันจะวิ่งอ้อมไปอีกด้านทันที หุ่นยนต์แบบนี้สามารถพาผู้ป่วย และคนชราไปยังเตียงนอนได้โดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย
รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถยนต์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างจริงจังก่อนหน้านี้ บริษัทฮอนด้าได้นำหุ่นยนต์อาซิโมไปแสดงความสามารถตามที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับบริษัทฮิตาชิ ฟูจิสึ และเอ็นอีซี ที่ตั้งงบประมาณวิจัยด้านนี้ ถึงแม้โตโยต้าจะตามมาทีหลัง แต่เทคโนโลยีหุ่นยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ไม่น้อยหน้ารายอื่น หรืออาจเหนือกว่าด้วยซ้ำ
หุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งที่นำมาโชว์ความสามารถเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ขนาด 5 ฟุต นอกจากสีไวโอลินได้แล้วมันยังโยกตัวเคลื่อนไหว มีอารมณ์ร่วม ไปกับการบรรเลงดูราวกับเป็นนักไวโอลินมืออาชีพนิ้วหุ่นยนต์ที่กดโน้ตลงบนสาย สอดคล้องกับการชักแขนสีสายไวโอลิน แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่สั่งการให้นิ้วมือและแขนเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อันเป็นหัวใจสำคัญของระบบหุ่นยนต์ที่ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment