นาซาศึกษาดวงอาทิตย์แบบ 3 มิติ ส่งดาวเทียม 2 ดวงโคจรตรงข้ามกัน
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐฯ (นาซา) จะศึกษาดวงอาทิตย์ในลักษณะ 3 มิติเป็นครั้งแรก ด้วยการส่งดาวเทียม 2 ดวงขึ้นไปโคจรตรงข้ามกัน เฝ้าติดตามดวงอาทิตย์จาก 2 มุมมองนอกวงโคจรของโลก
ภารกิจหอสังเกตการณ์ความสัมพันธ์ดวงอาทิตย์กับโลก หรือสเตอริโอ มีกำหนด 2 ปี จะเห็นภาพและอิทธิพลของดวงอาทิตย์ในลักษณะ 3 มิติ ประกอบด้วยภาพจากดาวเทียมแฝดนอกวงโคจรของโลก ภาพจากหอดูดาวบนโลก และภาพจากวงโคจรระดับต่ำ นาซาจะเปิดตัวหอสังเกตการณ์ สเตอริโอด้วยการส่งจรวดโบอิ้งขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา นักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า สภาพอากาศจะเป็นใจให้แก่การปล่อยจรวดเป็นเวลา 15 นาทีในเวลา 20.38 น. วันพุธตามเวลาสหรัฐฯ ตรงกับเวลา 07.38 น. วันพฤหัสบดีตามเวลาในไทย
องค์การนาซาระบุว่า ภารกิจนี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเพราะจะเห็น ความสัมพันธ์ทั้งหมดในมุมกว้างของดวงอาทิตย์และโลกที่อยู่ ห่างกันถึง 150 ล้านกิโลเมตร และจะเป็นครั้งแรกที่สามารถตรวจสอบภาพที่เห็นผ่านอุปกรณ์อื่นในภารกิจเดียวกัน นาซาหวังว่า ภารกิจนี้จะช่วยให้เห็นกิจกรรมของดวงอาทิตย์ได้ดีขึ้น เช่น ปรากฏการณ์ ปล่อยก้อนมวลในบรรยากาศชั้นโคโรนา ซึ่งเป็นการปะทุครั้งรุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม นักบินอวกาศและยานอวกาศอย่างมาก หากได้ข้อมูลมากขึ้นจะช่วยให้พยากรณ์ ช่วงเวลาการเกิดปรากฏการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดภารกิจอวกาศ การบินข้ามขั้วโลก การสื่อสารผ่านดาวเทียมและการถ่ายโอนภาพวีดิทัศน์ได้ดีขึ้น
ที่มา : thairath
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment