Thursday, March 27, 2008
ชื่นมื่น! "เอนเดฟเวอร์" พาลูกเรือถึงบ้านปลอดภัยหลังอาทิตย์ลับฟ้า
เอพี/เอเอฟพี - ยานเอนเดฟเวอร์พาลูกเรือทั้ง 7 นาย เแตะพื้นโลกอย่างปลอดภัยในยามราตรี หลังภารกิจติดตั้งชิ้นส่วนแรกของคิโบลุล่วงด้วยดี แต่ต้องรอนานกว่าชั่วโมงกว่าจะร่อนลงจอดได้ เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ
กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeaver) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้พาลูกเรือทั้ง 7 นาย ของเที่ยวบิน STS-123 เดินทางมาถึงโลกและร่อนลงจอดอย่างสวัสดิภาพแล้ว ณ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 มี.ค.51 เวลา 07.39 น. ตามเวลาในประเทศไทย หลังเสร็จสิ้นภารกิจในอวกาศนานกว่า 2 สัปดาห์ ในการติดตั้งห้องแล็บคิโบ (Kibo) ของญี่ปุ่นและชิ้นส่วนแขนกลของแคนาดา
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่เอนเดฟเวอร์จะร่อนลงจอดไม่นาน สภาพอากาศกลับไม่เอื้ออำนวย ทำให้นักบินต้องบังคับยานให้บินอยู่ก่อนนานถึง 90 นาที เพื่อรอให้ท้องฟ้าแจ่มใสจึงค่อยร่อนลงจอดอย่างปลอดภัย ซึ่งก็เป็นเวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้ารัฐฟลอริดาไปแล้วกว่า 1 ชั่วโมง
"ยินดีต้อนรับกลับบ้าน เอนเดฟเวอร์ และยินดีด้วยกับความสำเร็จของนักบินทุกคน" คำกล่าวต้อนรับการกลับบ้านอย่างปลอดภัยของเอนเดฟเวอร์จากเจ้าหน้าที่ของนาซา ซึ่งภารกิจในครั้งนี้ของลูกเรือยานเอนเดฟเวอร์ทุกคนเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่มีอุปสรรคใดๆ ให้ต้องกังวลกันเลยตลอดภารกิจในอวกาศนาน 16 วัน นับตั้งแต่ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา และรวมการเดินอวกาศทั้งสิ้น 5 ครั้ง
ภารกิจหลักของลูกเรือเอนเดฟเวอร์ของเที่ยวบินล่าสุดนั้นคือการติดตั้งชิ้นส่วนแรกของห้องแล็บคิโบขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (แจกซา) บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ซึ่งมีทาคาโอะ โดอิ (Takao Doi) นักบินชาวญี่ปุ่นร่วมภารกิจครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
"คิโบกำลังจะเปิดศักราชใหม่ให้กับโครงการอวกาศของญี่ปุ่น" โดอิ กล่าวภายหลังเดินทางกลับมายังโลก
สำหรับนักบินอวกาศอีก 6 นายที่เดินทางกลับมาพร้อมกับโดอิ ได้แก่ โดมินิค แอล กอรี (Dominic L. Gorie), เกรกอรี เอช จอห์นสัน (Gregory H. Johnson), ริชาร์ด เอ็ม ลินน์ฮาน (Richard M. Linnehan), โรเบิร์ต แอล เบห์นเคน (Robert L. Behnken), ไมเคิล เจ โฟร์แมน (Michael J. Foreman) และลีโอโปลด์ เออาร์ต (Leopold Eyharts) นักบินชาวฝรั่งเศสที่เดินทางไปไอเอสเอสตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. เมื่อครั้งขนส่งห้องแล็บโคลัมบัส (Columbus) ของยุโรป และประจำการอยู่บนสถานีอวกาศนานเกือบ 2 เดือน
อย่างไรก็ดี ขณะนี้การติดตั้งสถานีอวกาศนานาชาติเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่า 70% ยังเหลือเที่ยวบินอวกาศอีกกว่า 10 เที่ยวบินที่ต้องทำหน้าที่ขนส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังไอเอสเอส ซึ่งนาซาคาดหวังว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายในปี 2553 แล้วจึงปลดระวางกระสวยอวกาศทั้ง 3 ลำ ได้แก่ ดิสคัฟเวอรี (Discovery), แอตแลนติส (Atlantis) และเอนเดฟเวอร์ หลังจากนั้นนาซาจะหันไปทุ่มเทให้กับการมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์อีกครั้งหนึ่ง
ที่มา: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000036721
Monday, March 24, 2008
สวทช.โชว์สุดยอดไฮเทคย้ำชัดวิทย์ไทยไม่ด้อยกว่าชาติอื่น
หากคุณกำลังสงสัยว่ามีนมที่ดื่มแล้วช่วยให้หลับสนิทจริงหรือไม่ ถ้าปลูกข้าวในอวกาศจะได้รวงข้าวเหมือนบนโลกหรือไม่ และยังมีคำถามอีกมากมายที่สามารถหาคำตอบได้จากอุทยานวิทยาศาสตร์ ปทุมธานี 24-26 มีนาคมนี้
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช่าติ(สวทช.) เชิญร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี (แนค 2008) โดยรวมผลงานวิจัยเด่นจาก 4 ศูนย์ในสังกัดมาจัดแสดง เพื่อให้คนไทยได้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ที่ไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักธุรกิจพบปะนักวิจัยเจ้าของผลงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสินค้าใหม่ในตลาด
เริ่มที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) เปิดโอกาสให้สั่งจองต้นกล้าสักมงคล 500 ต้น ที่มีพันธุกรรมเดียวกับเสาชิงช้า ผลงานของนักวิจัยไบโอเทค ที่ได้ขยายพันธุ์ต้นสักดังกล่าวด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยอดไม้สัก ผู้ที่สั่งจองในงานสามารถรับต้นกล้าได้ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้นกล้าสามารถเติบโตนอกห้องปฏิบัติการ
ไบโอเทคยังอวดโฉมพันธุ์ข้าวไทย4 พันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข.6 จากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวจังหวัดปทุมธานี และข้าวสายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่จะส่งไปทดลองปลูกในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ คิโบ ผลการทดลองจะนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์ข้าวให้สามารถเจริญเติบโตในสภาวะที่ไม่เหมาะสม งานนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (แจ็กซา)
ขณะที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ตั้งบูธสาธิตเทคโนโลยีชุดตรวจคุณภาพไบโอดีเซล ที่ใช้งานสะดวก รู้ผลเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำ แทนการส่งตัวอย่างไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ งานวิจัยนี้สนับสนุนให้มีการผลิตและใช้ไบโอดีเซลที่มีคุณภาพ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) นำเสนอเทคโนโลยีนาโนคริสตัลในรูปแบบแว่นตา สำหรับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดังกล่าวยังพัฒนาเป็นแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถดูดซับและเปลี่ยนรังสีจากแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีตู้ปลานาโนที่อยู่นานนับเดือน โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ แถมไม่มีตะไคร้น้ำจับ และฟิล์มเคลือบไททาเนียมไดออกไซด์สำหรับยืดอายุอาหารสด เป็นต้น
ผู้เข้าชมงานแนค2008 จะพบกับความก้าวหน้าในการวิจัยด้านไข้หวัดนก เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกแบบไบโอเซ็นเซอร์ การค้นหาสมุนไพรและการสกัดหาสารเพื่อผลิตยาต้านไข้หวัดนก จากความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีไอที เช่น ซอฟต์แวร์และระบบควบคุมการจราจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/25/x_it_h001_195240.php?news_id=195240
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช่าติ(สวทช.) เชิญร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี (แนค 2008) โดยรวมผลงานวิจัยเด่นจาก 4 ศูนย์ในสังกัดมาจัดแสดง เพื่อให้คนไทยได้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ที่ไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักธุรกิจพบปะนักวิจัยเจ้าของผลงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสินค้าใหม่ในตลาด
เริ่มที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) เปิดโอกาสให้สั่งจองต้นกล้าสักมงคล 500 ต้น ที่มีพันธุกรรมเดียวกับเสาชิงช้า ผลงานของนักวิจัยไบโอเทค ที่ได้ขยายพันธุ์ต้นสักดังกล่าวด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยอดไม้สัก ผู้ที่สั่งจองในงานสามารถรับต้นกล้าได้ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้นกล้าสามารถเติบโตนอกห้องปฏิบัติการ
ไบโอเทคยังอวดโฉมพันธุ์ข้าวไทย4 พันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข.6 จากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวจังหวัดปทุมธานี และข้าวสายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่จะส่งไปทดลองปลูกในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ คิโบ ผลการทดลองจะนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์ข้าวให้สามารถเจริญเติบโตในสภาวะที่ไม่เหมาะสม งานนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (แจ็กซา)
ขณะที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ตั้งบูธสาธิตเทคโนโลยีชุดตรวจคุณภาพไบโอดีเซล ที่ใช้งานสะดวก รู้ผลเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำ แทนการส่งตัวอย่างไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ งานวิจัยนี้สนับสนุนให้มีการผลิตและใช้ไบโอดีเซลที่มีคุณภาพ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) นำเสนอเทคโนโลยีนาโนคริสตัลในรูปแบบแว่นตา สำหรับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดังกล่าวยังพัฒนาเป็นแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถดูดซับและเปลี่ยนรังสีจากแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีตู้ปลานาโนที่อยู่นานนับเดือน โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ แถมไม่มีตะไคร้น้ำจับ และฟิล์มเคลือบไททาเนียมไดออกไซด์สำหรับยืดอายุอาหารสด เป็นต้น
ผู้เข้าชมงานแนค2008 จะพบกับความก้าวหน้าในการวิจัยด้านไข้หวัดนก เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกแบบไบโอเซ็นเซอร์ การค้นหาสมุนไพรและการสกัดหาสารเพื่อผลิตยาต้านไข้หวัดนก จากความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีไอที เช่น ซอฟต์แวร์และระบบควบคุมการจราจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/25/x_it_h001_195240.php?news_id=195240
Friday, March 21, 2008
สั่งหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกลจุฬาฯเล็งใช้สอนนิสิตแพทย์แทนส่งไปนอก
จุฬาฯจับมือญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จผ่าตัดทางไกลข้ามประเทศผ่านหุ่นยนต์แขนกล เผยหุ่นยนต์แม่ติดตั้งในไทย เชื่อมสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากควบคุมหุ่นยนต์ลูกที่มหาวิทยาลัยเคียวซู ให้ลงมีดทันทีตามที่แพทย์ไทยสั่งการ ย้ำชัดใช้ประโยชน์ด้านการสอน งดส่งบริการผ่าตัดผู้ป่วย
รศ.นพ.อดิศรภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯประสบความสำเร็จในการทดสอบผ่าตัดทางไกลผ่านหุ่นยนต์แขนกล โดยทีมแพทย์ควบคุมหุ่นยนต์แม่ในไทย ซึ่งส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์ลูกที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัยเคียวซู ประเทศญี่ปุ่น ให้เคลื่อนไหวตามคำสั่งจากไทย การทดสอบดังกล่าวเป็นการผ่าตัดถุงน้ำดีในสุกร
การผ่าตัดทางไกลโดยใช้หุ่นยนต์เป็นโครงการความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้หุ่นยนต์แขนกลที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งมีมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
โครงการนี้ทำมากว่า3 ปีแล้ว ในช่วงแรกการผ่าตัดทางไกลมีปัญหาสัญญาณสื่อสารล่าช้า 1-2 วินาที แต่หลังจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขนาด 45 เมกะบิต ที่ติดตั้งด้วยค่าใช้จ่ายกว่า 3 แสนบาทต่อเดือน ทำให้สามารถผ่าตัดทางไกลได้เกือบพร้อมกันในเสี้ยววินาที ทั้งภาพและเสียง ส่วนแพทย์ผู้บังคับหุ่นตัวแม่จะสวมแว่นโพลาลอยด์ เพื่อให้เห็นภาพทางไกลเป็นสามมิติ ซึ่งสมจริงมากขึ้น
"งานวิจัยผ่าตัดทางไกลผ่านหุ่นยนต์แขนกลนี้ไม่คาดหวังที่จะนำมาบริการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ต้องการใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งนักเรียนแพทย์ไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ทั้งยังแก้ปัญหาอาจารย์แพทย์ขาดแคลนในบางพื้นที่ด้วย" คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ศ.นพ.มาโกโตะฮาชิซูเมะ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเคียวซู กล่าวว่า การทดสอบหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการ เครือข่ายเจจีเอ็น2 หรือเครือข่ายความเร็วสูงมากเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนและคาดหวังที่จะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วโลก
นอกจากการเชื่อมโยงเครือข่ายกับไทยแล้วโครงการเจจีเอ็น 2 ยังเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังสิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 และอยู่ระหว่างขยายสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน รวมถึงจีน เกาหลี และอินเดีย เพื่อให้มีเครือข่ายข้อมูลข่าวสารถึงกัน และสามารถใช้เครือข่ายนี้ร่วมกันในการวิจัยทุกๆ ด้าน รวมทั้งด้านการแพทย์ด้วย
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_193880.php?news_id=193880
รศ.นพ.อดิศรภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯประสบความสำเร็จในการทดสอบผ่าตัดทางไกลผ่านหุ่นยนต์แขนกล โดยทีมแพทย์ควบคุมหุ่นยนต์แม่ในไทย ซึ่งส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์ลูกที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัยเคียวซู ประเทศญี่ปุ่น ให้เคลื่อนไหวตามคำสั่งจากไทย การทดสอบดังกล่าวเป็นการผ่าตัดถุงน้ำดีในสุกร
การผ่าตัดทางไกลโดยใช้หุ่นยนต์เป็นโครงการความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้หุ่นยนต์แขนกลที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งมีมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
โครงการนี้ทำมากว่า3 ปีแล้ว ในช่วงแรกการผ่าตัดทางไกลมีปัญหาสัญญาณสื่อสารล่าช้า 1-2 วินาที แต่หลังจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขนาด 45 เมกะบิต ที่ติดตั้งด้วยค่าใช้จ่ายกว่า 3 แสนบาทต่อเดือน ทำให้สามารถผ่าตัดทางไกลได้เกือบพร้อมกันในเสี้ยววินาที ทั้งภาพและเสียง ส่วนแพทย์ผู้บังคับหุ่นตัวแม่จะสวมแว่นโพลาลอยด์ เพื่อให้เห็นภาพทางไกลเป็นสามมิติ ซึ่งสมจริงมากขึ้น
"งานวิจัยผ่าตัดทางไกลผ่านหุ่นยนต์แขนกลนี้ไม่คาดหวังที่จะนำมาบริการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ต้องการใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งนักเรียนแพทย์ไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ทั้งยังแก้ปัญหาอาจารย์แพทย์ขาดแคลนในบางพื้นที่ด้วย" คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ศ.นพ.มาโกโตะฮาชิซูเมะ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเคียวซู กล่าวว่า การทดสอบหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการ เครือข่ายเจจีเอ็น2 หรือเครือข่ายความเร็วสูงมากเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนและคาดหวังที่จะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วโลก
นอกจากการเชื่อมโยงเครือข่ายกับไทยแล้วโครงการเจจีเอ็น 2 ยังเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังสิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 และอยู่ระหว่างขยายสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน รวมถึงจีน เกาหลี และอินเดีย เพื่อให้มีเครือข่ายข้อมูลข่าวสารถึงกัน และสามารถใช้เครือข่ายนี้ร่วมกันในการวิจัยทุกๆ ด้าน รวมทั้งด้านการแพทย์ด้วย
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_193880.php?news_id=193880
เจลนาโนลดไขมันส่วนเกินม.เชียงใหม่ผลิตจากสมุนไพรไทย
เจลนาโนลดไขมันส่วนเกินผลงานการคิดค้นจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีส่วนผสมของสมุนไพร3 ชนิด พริก พริกไทยและกาแฟ ออกฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและเร่งการเผาผลาญไขมัน เผยทดสอบในอาสาสมัครลดไขมันได้จริง ไม่พบอาการแพ้ระคายเคือง
รศ.ดร.อรัญญามโนสร้อย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า เจลนาโนลดไขมันส่วนเกิน เป็นผลิตภัณฑ์จากโครงงานวิจัยของสถาบัน เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่รักสวยรักงาม รวมทั้งธุรกิจสปาและเสริมความงาม โดยคัดเลือกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และเร่งการเผาผลาญไขมัน 3 ชนิดคือ พริก พริกไทยและกาแฟ มาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์จากข้อมูลการค้นคว้าพบว่าเมล็ดพริกมีสารสำคัญชื่อ "แคปไซซิน" ที่ทำให้เกิดความเผ็ดร้อน ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อ กำจัดสารพิษและลดไขมันส่วนเกิน พริกไทยมีน้ำมันโอลีโอเรซิน ที่ทางการแพทย์ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยในการขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท
ส่วนเมล็ดกาแฟมีสารกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและระบบประสาทส่วนกลางอย่างอ่อน ช่วยให้สมองตื่นตัวมากขึ้น นอกจากนี้กาเฟอีนยังมีฤทธิ์เพิ่มการเผาผลาญไขมัน จึงลดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้
ทีมงานสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรทั้งสามชนิดคือสารแคปไซซินในเมล็ดพริก สารโอลีโอเรซินในน้ำมันพริกไทยและสารกาเฟอีนในเมล็ดกาแฟ จากนั้นกักเก็บไว้ในนีโอโซมซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กระดับนาโนเมตร แล้วผสมในครีมเจล นีโอโซมจะพาตัวสารสกัดซึมซาบเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ลึกขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัดได้นานขึ้น
ผลทดสอบเจลนาโนลดไขมันส่วนเกินโดยให้อาสาสมัครทาเจลบริเวณต้นแขนติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์พบว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจ เนื้อเจลซึมซาบได้ดี และมีประสิทธิภาพในการลดไขมันส่วนเกินรอบต้นแขนลงได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่หากมีการเพิ่มระยะเวลาในการทดลองมากขึ้น ก็จะทำให้เห็นผลชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตามโครงงาน "ผลิตภัณฑ์เจลลดไขมันส่วนเกินจากสมุนไพรไทยเก็บกักไว้ในอนุภาคนาโน" เป็นงานวิจัยของนักศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยที่จะจัดแสดงในนิทรรศการโครงงานอุตสาหกรรมและวิจัยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี(IRPUS) ประจำปี 2551 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำหนดจัดขึ้นที่สยามพารากอน ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคมนี้
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_194683.php?news_id=194683
รศ.ดร.อรัญญามโนสร้อย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า เจลนาโนลดไขมันส่วนเกิน เป็นผลิตภัณฑ์จากโครงงานวิจัยของสถาบัน เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่รักสวยรักงาม รวมทั้งธุรกิจสปาและเสริมความงาม โดยคัดเลือกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และเร่งการเผาผลาญไขมัน 3 ชนิดคือ พริก พริกไทยและกาแฟ มาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์จากข้อมูลการค้นคว้าพบว่าเมล็ดพริกมีสารสำคัญชื่อ "แคปไซซิน" ที่ทำให้เกิดความเผ็ดร้อน ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อ กำจัดสารพิษและลดไขมันส่วนเกิน พริกไทยมีน้ำมันโอลีโอเรซิน ที่ทางการแพทย์ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยในการขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท
ส่วนเมล็ดกาแฟมีสารกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและระบบประสาทส่วนกลางอย่างอ่อน ช่วยให้สมองตื่นตัวมากขึ้น นอกจากนี้กาเฟอีนยังมีฤทธิ์เพิ่มการเผาผลาญไขมัน จึงลดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้
ทีมงานสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรทั้งสามชนิดคือสารแคปไซซินในเมล็ดพริก สารโอลีโอเรซินในน้ำมันพริกไทยและสารกาเฟอีนในเมล็ดกาแฟ จากนั้นกักเก็บไว้ในนีโอโซมซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กระดับนาโนเมตร แล้วผสมในครีมเจล นีโอโซมจะพาตัวสารสกัดซึมซาบเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ลึกขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัดได้นานขึ้น
ผลทดสอบเจลนาโนลดไขมันส่วนเกินโดยให้อาสาสมัครทาเจลบริเวณต้นแขนติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์พบว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจ เนื้อเจลซึมซาบได้ดี และมีประสิทธิภาพในการลดไขมันส่วนเกินรอบต้นแขนลงได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่หากมีการเพิ่มระยะเวลาในการทดลองมากขึ้น ก็จะทำให้เห็นผลชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตามโครงงาน "ผลิตภัณฑ์เจลลดไขมันส่วนเกินจากสมุนไพรไทยเก็บกักไว้ในอนุภาคนาโน" เป็นงานวิจัยของนักศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยที่จะจัดแสดงในนิทรรศการโครงงานอุตสาหกรรมและวิจัยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี(IRPUS) ประจำปี 2551 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำหนดจัดขึ้นที่สยามพารากอน ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคมนี้
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_194683.php?news_id=194683
จุฬาฯค้นคว้าเชื้อเพลิงใหม่ชูจุดเด่นไร้ฝุ่นควัน-ใช้แทนน้ำมันดีเซล
จุฬาฯพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่ ชูคุณสมบัติเด่นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้เขม่าควัน ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร อย่างรถไถเดินตามและเครื่องสูบน้ำ เผยใช้ของเหลือการเกษตร เช่น เศษไม้ ฟางข้าว รวมทั้งถ่านหิน เป็นวัตถุดิบ ตัดปัญหาพืชพลังงานราคาแพง
ผศ.ดร.คณิตวัฒนวิเชียร หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการผลิต ดีเอ็มอี ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากชีวมวลอยู่ในสถานะแก๊สคล้ายก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟง่าย สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดเขม่า ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดีเอ็มอี หรือ ไดเมทิลอีเทอร์ เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกเช่นเดียวกันไบโอดีเซลและก๊าซแอลพีจีลักษณะการใช้งานคล้ายก๊าซแอลพีจี แต่เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่า โดยมีค่าซีเทน ซึ่งเป็นการแสดงส่วนผสมระหว่างซีเทนกับแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน ประมาณ 70 ใกล้เคียงกับค่าซีเทนในน้ำมันดีเซลปกติ ซึ่งอยู่ระหว่าง 50-55
"การใช้งานก๊าซดีเอ็มอีก็เติมในถังเหมือนกับก๊าซแอลพีจี จากนั้นก๊าซจะผ่านหม้อความดัน ซึ่งเปลี่ยนก๊าซเป็นของเหลวฉีดเข้าปั๊มหัวฉีดของเครื่องยนต์ ตามลำดับ ทีมงานทดสอบใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ซึ่งใช้ในการเกษตร เช่น รถอีแต๋น เครื่องสูบน้ำ รถไถเดินตาม พบใช้งานได้ไม่ต่างจากน้ำมันดีเซล ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีเขม่าควันและปราศจากควันดำ" ผศ.ดร.คณิตกล่าว
ในแง่ของการขยายสู่เชิงพาณิชย์หากเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมไม้โตเร็วทำเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก ก็สามารถทำเป็นดีเอ็มอีได้ เพราะใช้ทั้งไม้โตเร็ว ชีวมวลหรือวัสดุของเหลือทางการเกษตรและถ่านหิน มาเป็นวัตถุดิบ จึงได้เปรียบกว่าการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งใช้พืชพลังงานเป็นวัตถุดิบ มีปัญหาการแย่งชิงวัตถุดิบกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร
นอกจากนี้ทิศทางของโลกยังให้ความสำคัญดีเอ็มอี ในฐานะที่เป็นพลังงานสะอาด โดยในสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น ต่างสนใจทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จีนก็ใช้แพร่หลายเพื่อการหุงต้มและการคมนาคมในพื้นที่แถบภูเขา ซึ่งขาดแคลนชีวมวลและน้ำมัน แต่ก็ผลิตดีเอ็มซีจากถ่านหิน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_193875.php?news_id=193875
ผศ.ดร.คณิตวัฒนวิเชียร หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมงานประสบความสำเร็จในการผลิต ดีเอ็มอี ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากชีวมวลอยู่ในสถานะแก๊สคล้ายก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟง่าย สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดเขม่า ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดีเอ็มอี หรือ ไดเมทิลอีเทอร์ เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกเช่นเดียวกันไบโอดีเซลและก๊าซแอลพีจีลักษณะการใช้งานคล้ายก๊าซแอลพีจี แต่เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่า โดยมีค่าซีเทน ซึ่งเป็นการแสดงส่วนผสมระหว่างซีเทนกับแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน ประมาณ 70 ใกล้เคียงกับค่าซีเทนในน้ำมันดีเซลปกติ ซึ่งอยู่ระหว่าง 50-55
"การใช้งานก๊าซดีเอ็มอีก็เติมในถังเหมือนกับก๊าซแอลพีจี จากนั้นก๊าซจะผ่านหม้อความดัน ซึ่งเปลี่ยนก๊าซเป็นของเหลวฉีดเข้าปั๊มหัวฉีดของเครื่องยนต์ ตามลำดับ ทีมงานทดสอบใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ซึ่งใช้ในการเกษตร เช่น รถอีแต๋น เครื่องสูบน้ำ รถไถเดินตาม พบใช้งานได้ไม่ต่างจากน้ำมันดีเซล ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีเขม่าควันและปราศจากควันดำ" ผศ.ดร.คณิตกล่าว
ในแง่ของการขยายสู่เชิงพาณิชย์หากเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมไม้โตเร็วทำเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก ก็สามารถทำเป็นดีเอ็มอีได้ เพราะใช้ทั้งไม้โตเร็ว ชีวมวลหรือวัสดุของเหลือทางการเกษตรและถ่านหิน มาเป็นวัตถุดิบ จึงได้เปรียบกว่าการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งใช้พืชพลังงานเป็นวัตถุดิบ มีปัญหาการแย่งชิงวัตถุดิบกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร
นอกจากนี้ทิศทางของโลกยังให้ความสำคัญดีเอ็มอี ในฐานะที่เป็นพลังงานสะอาด โดยในสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น ต่างสนใจทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จีนก็ใช้แพร่หลายเพื่อการหุงต้มและการคมนาคมในพื้นที่แถบภูเขา ซึ่งขาดแคลนชีวมวลและน้ำมัน แต่ก็ผลิตดีเอ็มซีจากถ่านหิน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_193875.php?news_id=193875
เทคโนประดิษฐ์-ไบโอดีเซล 4 นาที ผลิตผ่านคลื่นไมโครเวฟ
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านหันมาผลิตไบโอดีเซลเติมรถยนต์มากขึ้น ทั้งจากการซื้อน้ำมันพืชบริสุทธิ์และน้ำมันพืชใช้แล้วมาต้ม โดยใส่เมทิลแอลกอฮอล์และโซดาไฟ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ขณะที่นิสิตจุฬาฯ ทดลองใช้คลื่นไมโครเวฟและคลื่นเสียง ทำไบโอดีเซลแทนเทคนิคต้มด้วยความร้อนอย่างที่ทำกันทั่วไป
น.ส.สราญกรบงกชมาศ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลการทดลองในงานประชุมวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 16 ว่า คลื่นอัลตราโซนิกและคลื่นไมโครเวฟ สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อน เพื่อสังเคราะห์ไบโอดีเซลได้ดีกว่าการต้ม
การทดลองเริ่มจากการนำกรดไขมันอิสระบริสุทธิ์และตัวเร่งปฏิกิริยาพื้นฐานคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยใช้ความร้อนเป็นพลังงาน กระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำกันทั่วไปทำให้น้ำมันส่วนหนึ่งกลายเป็นสบู่ นักวิจัยจึงเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นกรดซัลฟูริก ทำให้ได้ไบโอดีเซลตามที่ต้องการ แต่ใช้เวลาในการสังเคราะห์นานขึ้น
จากการทดลองใช้คลื่นอัลตราโซนิกและคลื่นไมโครเวฟพบว่า เราสามารถใช้เครื่องไมโครเวฟที่ใช้กันทั่วไป มาดัดแปลง โดยเจาะรูด้านบน ติดตั้งคอนเดนเซอร์ เพื่อให้ไอที่ลอยออกไปเกิดการควบแน่นตกลงมาภายใน ป้องกันเมทานอลหรือไบโอดีเซลระเหยออกไป ทั้งยังให้ความร้อนได้สูงสุด ทำให้สามารถสังเคราะห์ไบโอดีเซลได้ 87% ในเวลาเพียง 4 นาที เมื่อเทียบกับการสังเคราะห์ด้วยความร้อน ซึ่งใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมงได้ปริมาณไบโอดีเซลเท่ากัน
อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องไมโครเวฟหรือเครื่องอัลตราโซนิกสังเคราะห์ไบโอดีเซลนั้น มีการทำวิจัยมาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้ใช้กรดไขมัน ขณะที่ทีมวิจัยเลือกใช้กรดไขมัน สามารถสกัดได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้แล้ว เพื่อช่วยลดต้นทุน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_194869.php?news_id=194869
น.ส.สราญกรบงกชมาศ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลการทดลองในงานประชุมวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 16 ว่า คลื่นอัลตราโซนิกและคลื่นไมโครเวฟ สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อน เพื่อสังเคราะห์ไบโอดีเซลได้ดีกว่าการต้ม
การทดลองเริ่มจากการนำกรดไขมันอิสระบริสุทธิ์และตัวเร่งปฏิกิริยาพื้นฐานคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยใช้ความร้อนเป็นพลังงาน กระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำกันทั่วไปทำให้น้ำมันส่วนหนึ่งกลายเป็นสบู่ นักวิจัยจึงเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นกรดซัลฟูริก ทำให้ได้ไบโอดีเซลตามที่ต้องการ แต่ใช้เวลาในการสังเคราะห์นานขึ้น
จากการทดลองใช้คลื่นอัลตราโซนิกและคลื่นไมโครเวฟพบว่า เราสามารถใช้เครื่องไมโครเวฟที่ใช้กันทั่วไป มาดัดแปลง โดยเจาะรูด้านบน ติดตั้งคอนเดนเซอร์ เพื่อให้ไอที่ลอยออกไปเกิดการควบแน่นตกลงมาภายใน ป้องกันเมทานอลหรือไบโอดีเซลระเหยออกไป ทั้งยังให้ความร้อนได้สูงสุด ทำให้สามารถสังเคราะห์ไบโอดีเซลได้ 87% ในเวลาเพียง 4 นาที เมื่อเทียบกับการสังเคราะห์ด้วยความร้อน ซึ่งใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมงได้ปริมาณไบโอดีเซลเท่ากัน
อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องไมโครเวฟหรือเครื่องอัลตราโซนิกสังเคราะห์ไบโอดีเซลนั้น มีการทำวิจัยมาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้ใช้กรดไขมัน ขณะที่ทีมวิจัยเลือกใช้กรดไขมัน สามารถสกัดได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้แล้ว เพื่อช่วยลดต้นทุน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_it_h001_194869.php?news_id=194869
Thursday, March 20, 2008
ใส่ "ยาชา" ในระดับนาโนด้วยไคติน-ไคโตซาน
นักวิจัยปิโตรเคมี จุฬาฯ เผยงานวิจัยใช้ไคติน-ไคโตซานผลิตตัวนำส่งยาชา ระบุหาสารมีขั้วและไม่มีขั้วที่เหมาะสมทำให้พอลิเมอร์เรียงตัวเหมาะกับเป็น "กล่อง" บรรจุยา ประเดิมใช้กับยาชาก่อน
รศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงงานวิจัยในการพัฒนาตัวนำส่งยาจากไคติน-ไคโตซานในระดับนาโนเมตรสำหรับบรรจุยาชาระหว่างงานสัมมนา "วช.กับงานวิจัยนาโนเทคโนโลยี" ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 19 มี.ค.51 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร โดยการพัฒนาสารมีขั้วหรือสารที่ชอบน้ำและสารไม่มีขั้วหรือสารไม่ชอบน้ำที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้โมเลกุลของไคติน-ไคโตซานเรียงตัวเป็นทรงกลมที่เหมาะแก่การบรรจุยาชาในระดับนาโนเมตรได้
ทั้งนี้นักวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ ระบุว่าได้พัฒนาระบบนำส่งยาที่เปรียบเสมือนการทำ "กล่องเปล่า" สำหรับบรรจุตัวยา โดยการพัฒนาไคติน-ไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งให้พร้อมที่จะรับโมเลกุลอื่น ด้วยการหาสารที่มีหมู่ฟังก์ชันแบบมีขั้วและไม่มีขั้วอย่างเหมาะสมซึ่งทำให้พอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติม้วนเป็นทรงกลมได้จากการเรียงตัวของสารที่มีขั้วกับสารมีขั้วและสารไม่มีขั้วกับสารไม่มีขั้ว โดยเขาได้พัฒนาตัวนำส่งยาที่มีความเล็กในระดับ 200 นาโนเมตร
"เปรียบเสมือนให้เราที่นั่งอยู่กัน 5-6 คนเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ด้วยการจัดเรียงแบบให้หันหน้าเข้าหากันและหันด้านหลัง ซึ่งเราใส่การเป็นด้านหน้า-ด้านหลังให้โมเลกุลของพอลิเมอร์ด้วยการเติมสารที่มีขั้วและสารไม่มีขั้ว สารที่มีขั้วก็จะจับกับสารมีขั้วและสารไม่มีขั้วก็จับกับสารไม่มีขั้ว เหมือนที่เราเห็นว่าน้ำกับน้ำมันไม่เข้ากัน" รศ.ดร.สุวบุญอธิบาย โดยวิธีดังกล่าวทำให้เกิดปรากฏการณ์จัดเรียงตัวด้วยตัวเอง (Self Assembly) และสามารถทดลองซ้ำเพื่อให้เกิดรูปร่างทรงกลมที่ต้องการได้
งานวิจัยที่อาศัยความร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์วัสดุชีวภาพไคติน-ไคโตซาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของ รศ.ดร.สุวบุญ นี้มาถึงขั้นที่ได้ไคติน-ไคโตซานในรูปที่พร้อมรับโมเลกุลชนิดอื่นหรืออยู่ในขั้นที่สามารถพัฒนากล่องสำหรับบบรจุของได้ แต่ยังต้องพัฒนาไปสู่การใช้งานได้จริง เนื่องจากปัจจุบันทำให้ยาชายึดติดกับโมเลกุลของไคติน-ไคโตซานที่พัฒนาขึ้นมาได้เพียง 5-10% ทั้งนี้ต้องการให้ถึงระดับ 50%
เหตุผลสำคัญที่นักวิจัยเลือกไคติน-ไคโตซานเป็นวัสดุในการนำส่งยาเพราะเป็นวัสดุที่เหลือใช้ปริมาณมากของไทยและที่สำคัญมากคือไม่มีพิษต่อร่างกายและย่อยสลายได้ เมื่อวัสดุนำส่งยาดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายจะช่วยป้องกันตัวยาถูกทำลายจะระบบการย่อยต่างในร่างการได้ ทำให้ใช้ยาในปริมาณน้อยก็ส่งผลต่อการรักษา
พร้อมกันนี้ รศ.ดร.สุวบุญเผยว่าต้องใช้เวลาอีกราว 1-2 ปีจึงจะนำงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง เนื่องจากยังต้องมีการศึกษาทางด้านการแพทย์และการทดลองกับสิ่งมีชีวิตอีกต่อไป และงานวิจัยนี้ยังนำไปสู่การพัฒนายาชาชนิดทาที่ช่วยลดความเจ็บปวดให้กับป่วยแทนการฉีดยาได้
ส่วนเหตุผลที่พัฒนาไคติน-ไคโตซานสำหรับเป็นตัวส่งยาชานั้น เจ้าของงานวิจัยระบุว่าเพระาเป็นงานวิจัยในระดับที่ไทยทำได้ง่ายและมีมูลค่าเพิ่มทางการตลาด โดยยกตัวอย่างการใช้ยาชาเพื่อการศัลยากรรมความงามว่าหากงานวิจัยนี้สำเร็จก็จะได้ตัวยาในรูปแบบการทาที่ช่วยลดความเจ็บปวดจากการใช้เข็มฉีดยาได้.
ที่มา: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000033549
Wednesday, March 12, 2008
โลกวิทยาศาสตร์ – ร่องรอยทะเลสาบบนดาวอังคาร
ภาพถ่ายก้อนหินขนาดใหญ่มีดินปกคลุม ที่พบบนดาวอังคารเมื่อไม่นานมานี้ เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่แสดงว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีทะเลสาบ ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
กล้องความละเอียดสูงของยานสำรวจมาร์ส รีคอนเนสซอง ออร์บิเตอร์ (เอ็มอาร์โอ) บันทึกภาพก้อนหินใหญ่เบ้งเท่าบ้านแถวบริเวณที่เรียกว่า "แอ่งกระทะโฮลเด้น" ซึ่งเป็นหลุมใหญ่ขนาด 154 กิโลเมตร เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต
เครื่องมือบันทึกภาพด้วยความถี่คลื่นสเปกตรัมของยานอวกาศพบว่า ก้อนหินเหล่านี้มีชั้นตะกอนละเอียดและดินเหนียวคลุมอยู่ เกิดจากการแช่ตัวอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน จากการสังเกตพบว่า ในช่วงยุคแรกที่แตกต่างกันสองช่วงเวลาบนดาวแดงแห่งนี้ แอ่งกระทะโฮลเด้นเคยเป็นทะเลสาบมาก่อน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หลักฐานใหม่ที่พบ ช่วยบ่งบอกประวัติศาสตร์ยุคแรกของดาวอังคารได้อย่างดี
ช่วงแรกทะเลสาบอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายพันปี ก่อนเหือดแห้งลง ต่อมาน้ำที่ไหลแยกสายมาจากช่องทางน้ำที่เรียกว่าสายน้ำ “อุซโบย วาลลิส" ไหลมาท่วมผิวดาวอังคารบริเวณนี้ แต่สันขอบแองกระทะโฮลเด้น ทำหน้าที่เหมือนเขื่อนคอยป้องกันน้ำจากข้างนอก ไหลลงแอ่งกระทะที่ว่างเปล่า
อย่างไรก็ตาม ต่อมาสายน้ำอุซโบย วาลลิส เอ่อล้นทะลักจากสันแอ่งไหลลงสู่แอ่งกระทะในที่สุด จนเกิดเป็นทะเลสาบอีกครั้ง และอาจอยู่อย่างนั้นสองสามร้อยปี
กระแสน้ำเชี่ยวกรากที่ทะลักเข้ามารุนแรง จนทำให้ก้อนหินใหญ่แตก และเผยให้เห็นดินเหนียวที่มีตะกอนคลุมอยู่จากช่วงเกิดทะเลสาบครั้งแรก ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นการสะสมตัวของดินยุคเก่าแก่ที่สุดของผิวดาวอังคาร
เนื่องจากดินเหนียวจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสภาพน้ำที่นิ่งสงบ การพบดินเหนียวที่แอ่งกระทะโฮลเด้นจึงแปลว่า ดินแดนที่เคยชุ่มน้ำแห่งนี้ อาจเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ด้วย โดยเทียบเคียงกับสภาพแวดล้อมบนโลก ที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
ประวัติศาสตร์ที่หลากหลายของแอ่งกระทะโฮลเด้น ทำให้แอ่งกระทะแห่งนี้ เหมาะเป็นที่สำรวจหาร่องรอยของน้ำในอดีตของดาวอังคาร และอาจเป็นแหล่งที่เหมาะส่งยานอวกาศลงมาสำรวจ เพื่อทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
แอ่งกระทะโฮลเด้นเป็นหนึ่งในหกพื้นที่บนดาวอังคาร ที่องค์การนาซากำลังพิจารณาสำหรับเป็นจุดลงจอดของยานสำรวจขนาดใหญ่ที่ชื่อ “มาร์เทียน ไซอันซ์ ลาบอราโทรี“ ซึ่งมีกำหนดถึงดาวอังคารในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือใน พ.ศ. 2553
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/12/x_it_h001_193581.php?news_id=193581
สจล.พบวิธีเพิ่มไบโอดีเซล ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่แถมคุณภาพดีขึ้น
ห้องแล็บ สจล.จับมือไบเออร์ไทย ทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้าสำหรับผลิตไบโอดีเซล พบให้ปริมาณน้ำมันและคุณภาพมากขึ้นกว่าระบบผลิตเดิม แถมฤทธิ์กัดกร่อนเครื่องมือยังลดลง เตรียมขยายสู่การทดลองที่ใหญ่ขึ้น ก่อนส่งต่อให้ภาคอุตสาหกรรม
รศ.ประกอบ กิจไชยา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ทีมงานได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไบเออร์(ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีจากประเทศเยอรมนี สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศ
ตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ เป็นสารกลุ่มเดียวกับที่เคยใช้เร่งออกเทนในน้ำมันเบนซิน เป็นเรซินคล้ายเม็ดพลาสติก เมื่อบรรจุเข้าเครื่องปฏิกรณ์พร้อมกับปั๊มเมทานอลและน้ำมันพืชใช้แล้วจากก้นครัว จะได้ผลผลิตไบโอดีเซลที่มีคุณภาพ ปริมาณ และสมบัติการกัดกร่อนอุปกรณ์ "น้อยกว่า" ไบโอดีเซลที่ใช้ในปัจจุบัน
การศึกษาปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ ทีมงานดำเนินการเมื่อปลายปี 2550 ผลที่ได้พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลได้กว่า 10% ซึ่งได้จากการลดกรดไขมันอิสระที่ปนเปื้อนในน้ำมันเหลือใช้จากก้นครัว
นอกจากนี้ หลังการทดลองเดินเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 0.50 ลิตร ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าไบโอดีเซลที่ได้มีคุณภาพมากกว่าการใช้กำมะถันเป็นตัวเร่ง ซึ่งนอกจากจะอันตรายต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่กลั่นแล้ว ยังออกฤทธิ์กัดกร่อนเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการ และยังต้องเสียเวลาในการแยกกำมะถันออกจากน้ำมันในกระบวนการสุดท้ายก่อนนำไปใช้อีกด้วย
“ตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ จะเป็นทางเลือกสำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในอนาคต แม้ว่าตัวเร่งฯ จะราคาแพงถึงลิตรละ 700 บาท แต่ผลที่ได้มีความคุ้มในระยะยาว เนื่องจากสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้หลายครั้ง จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน ซึ่งเบื้องต้นมีข้อมูลว่ามากกว่า 2 ปี” นักวิจัย สจล. กล่าว
ขณะนี้การวิจัยอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทผู้สนับสนุน โดยเสนอนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาในปริมาณที่มากขึ้น สำหรับทดสอบในเครื่องปฏิกรณ์ที่ทีมวิจัยพัฒนาให้ใหญ่กว่าเดิมเป็น 50 ลิตร เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตให้เป็นเทคโนโลยีที่พร้อมนำไปต่อยอด
“การทดลองระดับ 50 ลิตรนี้ หากวัสดุอุปกรณ์พร้อมทุกอย่างแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก่อนที่จะต่อยอดเป็นเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1,000 ลิตร สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรมไบโอดีเซลระดับประเทศในอนาคต” นักวิจัย สจล. กล่าว
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/12/x_it_h001_193639.php?news_id=193639
รศ.ประกอบ กิจไชยา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ทีมงานได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไบเออร์(ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีจากประเทศเยอรมนี สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศ
ตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ เป็นสารกลุ่มเดียวกับที่เคยใช้เร่งออกเทนในน้ำมันเบนซิน เป็นเรซินคล้ายเม็ดพลาสติก เมื่อบรรจุเข้าเครื่องปฏิกรณ์พร้อมกับปั๊มเมทานอลและน้ำมันพืชใช้แล้วจากก้นครัว จะได้ผลผลิตไบโอดีเซลที่มีคุณภาพ ปริมาณ และสมบัติการกัดกร่อนอุปกรณ์ "น้อยกว่า" ไบโอดีเซลที่ใช้ในปัจจุบัน
การศึกษาปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ ทีมงานดำเนินการเมื่อปลายปี 2550 ผลที่ได้พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลได้กว่า 10% ซึ่งได้จากการลดกรดไขมันอิสระที่ปนเปื้อนในน้ำมันเหลือใช้จากก้นครัว
นอกจากนี้ หลังการทดลองเดินเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 0.50 ลิตร ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าไบโอดีเซลที่ได้มีคุณภาพมากกว่าการใช้กำมะถันเป็นตัวเร่ง ซึ่งนอกจากจะอันตรายต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่กลั่นแล้ว ยังออกฤทธิ์กัดกร่อนเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการ และยังต้องเสียเวลาในการแยกกำมะถันออกจากน้ำมันในกระบวนการสุดท้ายก่อนนำไปใช้อีกด้วย
“ตัวเร่งปฏิกิริยานำเข้านี้ จะเป็นทางเลือกสำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในอนาคต แม้ว่าตัวเร่งฯ จะราคาแพงถึงลิตรละ 700 บาท แต่ผลที่ได้มีความคุ้มในระยะยาว เนื่องจากสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้หลายครั้ง จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน ซึ่งเบื้องต้นมีข้อมูลว่ามากกว่า 2 ปี” นักวิจัย สจล. กล่าว
ขณะนี้การวิจัยอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทผู้สนับสนุน โดยเสนอนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาในปริมาณที่มากขึ้น สำหรับทดสอบในเครื่องปฏิกรณ์ที่ทีมวิจัยพัฒนาให้ใหญ่กว่าเดิมเป็น 50 ลิตร เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตให้เป็นเทคโนโลยีที่พร้อมนำไปต่อยอด
“การทดลองระดับ 50 ลิตรนี้ หากวัสดุอุปกรณ์พร้อมทุกอย่างแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก่อนที่จะต่อยอดเป็นเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1,000 ลิตร สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรมไบโอดีเซลระดับประเทศในอนาคต” นักวิจัย สจล. กล่าว
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/12/x_it_h001_193639.php?news_id=193639
Tuesday, March 11, 2008
รู้จักก๊าซธรรมชาติในงาน “GASTECH 2008”
กว่าจะมาเป็นก๊าซ “เอ็นจีวี” ที่ใช้งานในยานยนต์ได้ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากมายเพื่อขุดเจาะเอา “ก๊าซธรรมชาติ” ที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นทะเล ลำเลียงขนส่งเข้าสู่ฝั่ง และผ่านกระบวนการต่างๆ จนนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงอาสาพาคุณไปรู้จักกับก๊าซธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ ในงาน “GASTECH 2008”
“GASTECH 2008” (ก๊าซเทค 2008) เป็นงานประชุมและแสดงนิทรรศการระดับโลกด้านอุตสาหกรรมก๊าซแอลเอ็นจี แอลพีจี และก๊าซธรรมชาติ ครั้งที่ 23 และเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีมา โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก ณ ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติไบเทค บางนา ตั้งแต่วันที่ 10-13 มี.ค. 2551 โดยมีกลุ่ม ปตท. เป็นแม่งานใหญ่ มีผู้ร่วมแสดงนิทรรศการกว่า 300 ราย จาก 36 ประเทศทั่วโลก ณ ศูนย์แสดงสินค้า ผู้จัดการวิทยาศาสตร์เลยถือโอกาสนี้ไปเก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาฝากกัน
ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) เกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตนับล้านปี ที่ถูกแปรสภาพโดยความร้อนและความกดดันของผิวโลกจนกลายเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดสะสมอยู่รวมกันใต้ผิวโลก โดยมีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบหลักประมาณ 75-90% และอาจมีส่วนที่เป็นของเหลวหรือคอนเดนเสทรวมอยู่ด้วย
เมื่อราว 30 ปีก่อน ญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี (Liquefied Natural Gas: LNG) จากสหรัฐฯ มาใช้หลังจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก กระทั่งปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวมากที่สุดในโลก คิดเป็น 50% ของความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลวทั่วโลก ส่วนประเทศไทยแม้จะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ในอ่าวไทย แต่ก็ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของโลกส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน การ์ตา เยเมน และยังมี อัลจีเรีย ออสเตรเลีย บรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
นับวันก๊าซธรรมชาติยิ่งมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากขึ้นเพราะเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า และส่งผลกรทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเชื้อเพลิงจากถ่านหิน, ลิกไนต์ และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปกติการนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปใช้จะขนส่งด้วยระบบท่อ แต่หรือหากระยะทางไกลเกินกว่า 2,000 กิโลเมตร หรือในกรณีนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ การขนส่งผ่านท่อทำได้ยากและลงทุนสูงมาก จึงต้องขนส่งทางเรือและต้องทำให้อยู่ในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว เพื่อลดปริมาตรและเพิ่มความสะดวก
ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งกำเนิดใต้พื้นทะเลจะถูกลำเลียงผ่านท่อไปยังโรงงานบนฝั่ง ผ่านกระบวนการแยกสิ่งเจือปนต่างๆ ออกไป ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ ปรอท และกำมะถัน จากนั้นลดอุณหภูมิให้ต่ำลงเหลือเพียง -160 องศาเซลเซียส เพื่อให้ก๊าซธรรมชาติเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว และกักเก็บไว้ในแทงก์เก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งปริมาตรจะลดลงจากเดิมถึง 600 เท่า ทำให้ง่ายต่อการขนส่งทางเรือ และต้องรักษาอุณหภูมิของก๊าซธรรมชาติเหลวที่ -160 องศาเซลเซียส ตลอดการเดินทาง เมื่อถึงที่หมายและก่อนนำไปใช้งานจึงค่อยผ่านกระบวนการเปลี่ยนกลับให้อยู่ในสถานะก๊าซเช่นเดิม
ยกตัวอย่างการนำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาใช้งานที่ดำเนินการโดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีหลายโครงการ เฉพาะโครงการบงกชที่เป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยด้วยกำลังการผลิต 630 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งผ่านท่อมายังโรงงานแยกก๊าซที่มาบตาพุด จ.ระยอง ผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือเอ็นจีวี (Natural Gas for Vehicles: NGV), ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas: LPG) และใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่างๆ
สำหรับเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้นมีมาก และก่อเกิดอุตสาหกรรมหนักมากมายทั้งผลิตแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ เรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว ถึงกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อขนส่งก๊าซ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติหรือควบคุมการผลิต, การก่อสร้าง เช่น เครื่องวัดปริมาณสนิมในท่อส่งก๊าซ, อุปกรณ์กันสนิมและป้องกันการผุกร่อนของท่อส่งก๊าซ, เครื่องตรวจรอยเชื่อมต่อของถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวด้วยระบบอัลตราโซนิค เป็นต้น
ที่มา: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000029676
Monday, March 10, 2008
20 ปีที่รอคอย ญี่ปุ่นเตรียมฉลองส่ง "คิโบ" สู่อวกาศ 11 มี.ค.นี้
เอเอฟพี/แจกซา/สเปซด็อตคอม - ฝันใกล้เป็นจริง ญี่ปุ่นเตรียมส่งห้องแล็บ "คิโบ" ทะยานฟ้า 11 มี.ค. นี้ หลังตั้งตารอมานานกว่า 20 ปี ที่จะมี "บ้าน" หลังแรกในอวกาศ นับแต่ตกลงปลงใจร่วมมือสหรัฐฯ และพันธมิตรอวกาศสร้างไอเอสเอสเมื่อปี 2528 ขนการทดลองแปลกใหม่ไปเพียบ หวังดึงดูดใจให้เด็กยุ่นไม่ละเลยวิทยาศาสตร์
ยานเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซา (NASA) ถือฤกษ์ดีวันที่ 11 มี.ค.51 ทะยานฟ้าบรรทุกห้องแล็บอวกาศสัญชาติญี่ปุ่น "คิโบ" (Kibo) ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) ขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) หลังจากรอวันนี้มานานกว่า 20 ปี และนับเป็นห้องแล็บของชาวอาทิตย์อุทัยแห่งแรกที่อยู่นอกโลก ทั้งยังเป็น "ความหวัง" ให้เด็กๆ ในประเทศเพิ่มพูนความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
"เทคโนโลยีคืออาวุธเพียงหนึ่งเดียวของญี่ปุ่น ถ้าหากว่าเราไม่พยายามวิ่งไปข้างหน้าพร้อมกับพัฒนาการด้านอวกาศ ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างเราจะต้องกลายเป็นผู้ที่ล้าหลังกว่าคนอื่น" โยชิยะ ฟุคุดะ (Yoshiya Fukuda) เจ้าหน้าที่อาวุโสโครงการอวกาศของแจกซา กล่าวแทนชาวญี่ปุ่นที่ฝากอนาคตของตนและประเทศไว้กับเทคโนโลยีขั้นสูง
"เที่ยวบินนี้จะเป็นอีกหนึ่งเที่ยวบินประวัติศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น เที่ยวบินที่พวกเรารอคอยมาเป็นเวลาเนิ่นนานกว่า 20 ปี" เทสึโร โยโกยามา (Tetsu Yokoyama) รองผู้จัดการโครงการห้องแล็บคิโบกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวที่ทำการใหญ่ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ณ ศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัส
ในปี 2528 ประเทศญี่ปุ่นตัดสินใจร่วมมือกับยุโรป แคนาดา รัสเซีย และสหรัฐฯ เพื่อดำเนินโครงการเมกะโปรเจคในการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส นับแต่วินาทีนั้นญี่ปุ่นก็ตั้งความหวังไว้ทันทีเลยว่าจะต้องมีห้องปฏิบัติการแห่งแรกของตัวเองอยู่บนสถานีอวกาศให้จงได้ ซึ่งก็ใกล้จะสมหวังในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว เมื่อยานเอนเดฟเวอร์จะออกเดินทางนำพาชิ้นส่วนแรกของ "คิโบ" ขึ้นไปติดตั้งบนไอเอสเอส ซึ่ง "คิโบ" (きぼう : kibou) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า ความหวัง หรือความใฝ่ฝัน (hope) นั่นเอง
ศูนย์อวกาศสึคุบะ (Tsukuba Space Center: TKSC) ของญี่ปุ่น เป็นแกนหลักในการพัฒนาห้องแล็บคิโบมูลค่า 9.8 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) นี้ และได้ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วทั้งในญี่ปุ่นและในสหรัฐฯ ก่อนขนส่งขึ้นสู่อวกาศ
คิโบประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ห้องเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ทั้งหมดสำหรับทำการทดลอง, ห้องปฏิบัติการทดลองรูปทรงกระบอก (Pressurized Module) ขนาดยาว 11.2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.4 เมตร น้ำหนัก 9.2 ตัน ที่นักวิจัยจะได้ทำการทดลองประหนึ่งเหมือนทำการทดลองอยู่บนโลก และส่วนที่คล้ายกับเป็นระเบียงที่เปิดออกสู่อวกาศโดยตรง (Exposed Facility) ซึ่งยึดติดไว้ด้วยแขนกล สำหรับทำการทดลองใดๆ ในสภาวะของห้วงอวกาศ เช่น สภาวะสุญญากาศ, สภาวะไร้น้ำหนัก และการทดลองที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือรังสีจากดวงอาทิตย์
ส่วนประกอบของคิโบจะค่อยๆ ถูกลำเลียงขึ้นไปติดตั้งบนไอเอสเอสคนครบหมดทั้ง 3 ส่วน ใน 3 เที่ยวบินด้วยกัน โดยเที่ยวบินแรกในวันที่ 11 มี.ค. นี้ ยานเอนเดฟเวอร์จะลำเลียงห้องเก็บอุปกรณ์การทดลองขึ้นไปก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นราวเดือน พ.ค. ปีนี้จึงขนส่งตัวห้องปฏิบัติการตามขึ้นไป และในเดือน มี.ค. 2552 จึงลำเลียงส่วนของระเบียงขึ้นไปประกอบเป็นอันดับสุดท้ายจึงเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่วนระเบียงของห้องแล็บคิโบนี้จะเป็นชิ้นส่วนที่แปลกและใหม่สำหรับไอเอสเอส เพราะไม่เคยมีส่วนปฏิบัติการลักษณะนี้บนไอเอสเอสมาก่อน แม้กระทั่งห้องแล็บโคลัมบัส (Columbus) ของฟากยุโรปที่เพิ่งติดตั้งแล้วเสร็จไปเมื่อเดือน ก.พ. ก็ตาม
"ญี่ปุ่นกำลังจะมีบ้านหลังแรกในอวกาศเป็นของตัวเองแล้ว และผมจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พวกเราลงทุนลงแรงไปมันให้ผลคุ้มค่ามากแค่ไหน" คำกล่าวของทาคาโอะ โดอิ (Takao Doi) นักบินอวกาศวัย 53 ปี ของญี่ปุ่นที่จะร่วมเดินทางไปปฏิบัติภารกิจติดตั้งคิโบด้วยกับเที่ยวบินที่ STS-123 โดยยานเอนเดฟเวอร์
ด้านฟุคุดะระบุอีกว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บคิโบน่าจะเริ่มต้นได้ราวปลายเดือน ก.ค. ของปีนี้ ซึ่งคิโบมีชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองมากกว่า 2 ล้านชิ้นเลยทีเดียว และในสภาวะไร้น้ำหนักนี้จะเอื้ออำนวยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกผลึกของสารบริสุทธิ์หรือผลึกโปรตีนที่ต้องการได้ดียิ่ง ซึ่งจะช่วยไขความข้องใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคต่างๆ และนำไปสู่การพัฒนายาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกการทดลองที่สำคัญไม่แพ้การทดลองทางการแพทย์คือการสังเกต, ศึกษาการเปลี่ยนแปลง และหาวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมบนโลกจากในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายชั้นโอโซน, ภาวะโลกร้อน หรือการกลายเป็นทะเลทรายของพื้นที่ที่แห้งแล้ง ตลอดจนการค้นหาความลับในจักรวาลด้วยกล้องเอ็กซ์เรย์ (wide-angle X-ray camera) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ติดตั้งอยู่บนไอเอสเอส, การทดลองด้านหุ่นยนต์, การสื่อสารคมนาคม, รังสี และพลังงาน
สำหรับงบประมาณที่แจกซาจ่ายไปนับตั้งแต่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อมวลมนุษยชาติกับไอเอสเอสคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนล้านเยน (ประมาณ 2.08 แสนล้านบาท) ซึ่งแม้ว่าจะเป็นมูลค่ามหาศาลแล้วก็ตาม แต่ก็ยังน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรกคือ 1 ล้านล้านเยน
"สิ่งสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่เม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่สูญเสียไปในโครงการอันยาวนานนี้ แต่มันเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างและต่อเติมความฝันให้กับเด็กๆ ได้ ซึ่งหากมีเงินเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถซื้อได้" ฟุคุดะ กล่าว
และเพื่อไม่ให้สิ่งที่ลงทุนไปสูญเปล่า แจกซาจึงวางแผนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคิโบเอาไว้มากมายเพื่อสร้างแรงจูงใจและดึงดูดประชาชน โดยเฉพาะเด็กๆ ให้มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยไปกว่าเดิม เช่น นักบินอวกาศโดอิ วางแผนทดลองขว้างดาวกระจาย 3 แฉก (three-pronged boomerang) หนึ่งในอาวุธของนินจา เพื่อศึกษาลักษณะการบินของดาวกระจายในสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการทดลองที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนด้วย
ด้านเอซิคส์ คอร์ป (Asics Corp.) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาชั้นนำของญี่ปุ่นกำลังพัฒนารองเท้าผ้าใบส้นยางสำหรับนักบินอวกาศ 1 คู่ ซึ่งออกแบบให้เหมือนกับรองเท้าของนินจา โดยจะมอบให้นักบินอวกาศญี่ปุ่นที่จะเดินทางไปไอเอสเอสในเดือน ธ.ค. นี้ สำหรับสวมใส่ออกกำลังในสถานีอวกาศระหว่างเตรียมการติดตั้งชิ้นส่วนสุดท้ายของคิโบในปี 2552
ทั้งนี้ นาซามีกำหนดปล่อยยานเอนเดฟเวอร์ที่บรรทุกชิ้นส่วนแรกของคิโบสู่อวกาศวันที่ 11 มี.ค. เวลา 14.28 น. ตามเวลาในประเทศไทย ณ ฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) รัฐฟลอริดา และในเที่ยวบินนี้ เอนเดฟเวอร์ยังขนเอาชิ้นส่วนแขนกล "เด็กซ์เทอร์" (Dextre) จำนวน 2 แขน ของแคนาดาไปยังไอเอสเอสพร้อมกันด้วย
สำหรับนักบินอวกาศร่วมเดินทางปฏิบัติหน้าที่ในเที่ยวบินนี้ทั้งสิ้น 7 นาย ประกอบด้วย โดมินิค แอล กอรี (Dominic L. Gorie) ผู้บังคับการบิน, เกรกอรี เอช จอห์นสัน (Gregory H. Johnson) นักบิน ส่วนอีก 5 นาย เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ ได้แก่ ริชาร์ด เอ็ม ลินน์ฮาน (Richard M. Linnehan), โรเบิร์ต แอล เบห์นเคน (Robert L. Behnken), แกร์เรตต์ อี ไรสแมน (Garrett E. Reisman), ไมเคิล เจ โฟร์แมน (Michael J. Foreman) และทาคาโอะ โดอิ (Takao Doi) นักบินของแจกซาเพียงหนึ่งเดียว โดยเที่ยวบินนี้มีระยะเวลาปฏิบัติภารกิจบนไอเอสเอสนาน 16 วัน จึงเดินทางกลับโลก
ที่มา: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000028985
เนคเทคเปิดเวทีค้นหาคนไฮเทคด้านสมองกลจิ๋ว
เนคเทคเปิดเวทีประชันไอเดียค้นหาเยาวชนไฮเทคโนโลยีด้าน สมองกลฝังตัว-อาร์เอฟไอดี ประกวดพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมหนุนทุนสร้างต้นแบบ ยกไม้เท้าอัจฉริยะและป้ายแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างความสำเร็จจากเวทีแข่งขัน
ดร.พันธ์ศักดิ์ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า เนคเทคจัดโครงการ "แข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย เพื่อกระตุ้นคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเทคโนโลยีระดับสูงอย่างสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดี
กิจกรรมนี้นอกจากกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเกิดทักษะความรู้ด้านไฮเทคโนโลยีทั้งระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแล้ว ยังอาจสร้างผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าสู่ตลาด รวมทั้งจุดประกายให้คนรุ่นใหม่มองเห็นโอกาสช่องทางการเติบโตของวิชาชีพในตลาดแรงงาน รวมถึงนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีมด้วย
การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมแบ่งเป็น3 ประเภทคือ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตร และกระบวนการโลจิสติกส์-โซ่อุปทาน โดยเปิดรับเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท และกำหนดส่งข้อเสนอโครงการได้ถึงวันที่ 14 มีนาคมนี้
โครงการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับทุนสนับสนุน5 หมื่นบาท และทุนสนับสนุนการทำต้นแบบมูลค่าไม่เกิน 1.5 แสนบาท ส่วนทีมชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 1 แสนบาท
ตัวอย่างผลงานที่ส่งประกวดของปีที่ผ่านมาและได้รับการพัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เช่น ระบบป้ายแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สาย ฝีมือนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยระบบสมองกลฝังตัว ครั้งที่ 1 ในปี 2550 และขยายไปสู่เชิงพาณิชย์ในยี่ห้อ เวลส์, "ไม้เท้าอัจฉริยะ" จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เจ้าของผลงานนำไปต่อยอดสร้างเป็นธุรกิจของตนเอง
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/10/x_it_h001_192933.php?news_id=192933
ดร.พันธ์ศักดิ์ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า เนคเทคจัดโครงการ "แข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย เพื่อกระตุ้นคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเทคโนโลยีระดับสูงอย่างสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดี
กิจกรรมนี้นอกจากกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเกิดทักษะความรู้ด้านไฮเทคโนโลยีทั้งระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแล้ว ยังอาจสร้างผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าสู่ตลาด รวมทั้งจุดประกายให้คนรุ่นใหม่มองเห็นโอกาสช่องทางการเติบโตของวิชาชีพในตลาดแรงงาน รวมถึงนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีมด้วย
การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมแบ่งเป็น3 ประเภทคือ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตร และกระบวนการโลจิสติกส์-โซ่อุปทาน โดยเปิดรับเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท และกำหนดส่งข้อเสนอโครงการได้ถึงวันที่ 14 มีนาคมนี้
โครงการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับทุนสนับสนุน5 หมื่นบาท และทุนสนับสนุนการทำต้นแบบมูลค่าไม่เกิน 1.5 แสนบาท ส่วนทีมชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 1 แสนบาท
ตัวอย่างผลงานที่ส่งประกวดของปีที่ผ่านมาและได้รับการพัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เช่น ระบบป้ายแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สาย ฝีมือนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยระบบสมองกลฝังตัว ครั้งที่ 1 ในปี 2550 และขยายไปสู่เชิงพาณิชย์ในยี่ห้อ เวลส์, "ไม้เท้าอัจฉริยะ" จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เจ้าของผลงานนำไปต่อยอดสร้างเป็นธุรกิจของตนเอง
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/10/x_it_h001_192933.php?news_id=192933
เอ็มเทครีไซเคิลหลอดไฟเทคโนโลยีฝีมือไทยไร้ปรอทก่อมะเร็ง100%
ศูนย์เอ็มเทคชูเทคโนโลยีอย่างง่ายรีไซเคิลซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ เลี่ยงสารปรอทปนเปื้อนก่อโรคมะเร็ง วางแผนทดสอบประสิทธิภาพในห้องแล็บและโรงงานต้นแบบ จากนั้นค่อยส่งต่อให้เอกชน พร้อมเดินหน้าวิจัยหลอดแอลอีดีใช้แทนหลอดเรืองแสง
รศ.ดร.วีระศักดิ์อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงข้อกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องอันตรายของสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ว่า เอ็มเทคมีโครงการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลซากหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดเรืองแสง เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
กระบวนการรีไซเคิลหลอดไฟอย่างง่ายทำได้โดยแยกสารปรอทจากหลอดไฟ ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน เพื่อทำให้ปรอทระเหย และกลั่นตัวเป็นของเหลว ในส่วนของหลอดไฟก็แยกขั้วหลอดไฟออก คัดเลือกขั้วหลอดที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นนำซากหลอดแก้วมาบด ล้างด้วยกรดและวิเคราะห์ค่าปรอทปนเปื้อน ก่อนนำมาประกอบใช้ใหม่อีกครั้ง จึงมั่นใจได้ว่าหลอดไฟที่นำมาใช้ใหม่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ
เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ซับซ้อนซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพดำเนินการ เบื้องต้นเอ็มเทคจะทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการก่อนขยายเป็นโรงงานนำร่อง เพื่อเป็นต้นแบบให้บริษัทผู้ผลิตตระหนัก และหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อลดปริมาณซากขยะฟลูออเรสเซนต์
"โครงการดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลฟลูออเรสเซนต์ประสบความสำเร็จและขยายเป็นโรงงานต้นแบบการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือขยายองค์ความรู้สู่ผู้ผลิตในท้ายที่สุด" ผู้อำนวยการเอ็มเทค กล่าว
นอกจากนี้เอ็มเทคมีโครงการศึกษาหลอดไฟประหยัดพลังงาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยไม่มีส่วนประกอบของสารปรอท โดยดึงคุณสมบัติของไอโอดเปล่งแสง หรือ แอลอีดี ทำหน้าที่กระจายแสงแทนสารปรอทในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทั้งนี้ แอลอีดีเป็นวัสดุที่ผลิตจากสารเรืองแสงจำพวกโพลิเมอร์ หรืออินทรีย์ เมื่อผ่านกระบวนการทางเคมีก็จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่างได้
แม้ว่าหลอดแอลอีดีจะมีใช้อย่างแพร่หลายเช่น ไฟเบรกในอุตสาหกรรมรถยนต์ โคมไฟใต้น้ำและหลอดไฟประดับ แต่การจะใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ยังต้องผ่านการวิจัยอีกมาก เนื่องจากข้อจำกัดทั้งด้านราคา และการปล่อยแสงแบบแสงตรง ทำให้ไม่สบายตา ปัจจุบันจึงยังไม่สามารถเข้าไปแทนที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งราคาถูกและปล่อยแสงแบบกระจาย ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/10/x_it_h001_193375.php?news_id=193375
รศ.ดร.วีระศักดิ์อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงข้อกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องอันตรายของสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ว่า เอ็มเทคมีโครงการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลซากหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดเรืองแสง เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
กระบวนการรีไซเคิลหลอดไฟอย่างง่ายทำได้โดยแยกสารปรอทจากหลอดไฟ ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน เพื่อทำให้ปรอทระเหย และกลั่นตัวเป็นของเหลว ในส่วนของหลอดไฟก็แยกขั้วหลอดไฟออก คัดเลือกขั้วหลอดที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นนำซากหลอดแก้วมาบด ล้างด้วยกรดและวิเคราะห์ค่าปรอทปนเปื้อน ก่อนนำมาประกอบใช้ใหม่อีกครั้ง จึงมั่นใจได้ว่าหลอดไฟที่นำมาใช้ใหม่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ
เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ซับซ้อนซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพดำเนินการ เบื้องต้นเอ็มเทคจะทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการก่อนขยายเป็นโรงงานนำร่อง เพื่อเป็นต้นแบบให้บริษัทผู้ผลิตตระหนัก และหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อลดปริมาณซากขยะฟลูออเรสเซนต์
"โครงการดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลฟลูออเรสเซนต์ประสบความสำเร็จและขยายเป็นโรงงานต้นแบบการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือขยายองค์ความรู้สู่ผู้ผลิตในท้ายที่สุด" ผู้อำนวยการเอ็มเทค กล่าว
นอกจากนี้เอ็มเทคมีโครงการศึกษาหลอดไฟประหยัดพลังงาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยไม่มีส่วนประกอบของสารปรอท โดยดึงคุณสมบัติของไอโอดเปล่งแสง หรือ แอลอีดี ทำหน้าที่กระจายแสงแทนสารปรอทในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทั้งนี้ แอลอีดีเป็นวัสดุที่ผลิตจากสารเรืองแสงจำพวกโพลิเมอร์ หรืออินทรีย์ เมื่อผ่านกระบวนการทางเคมีก็จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่างได้
แม้ว่าหลอดแอลอีดีจะมีใช้อย่างแพร่หลายเช่น ไฟเบรกในอุตสาหกรรมรถยนต์ โคมไฟใต้น้ำและหลอดไฟประดับ แต่การจะใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ยังต้องผ่านการวิจัยอีกมาก เนื่องจากข้อจำกัดทั้งด้านราคา และการปล่อยแสงแบบแสงตรง ทำให้ไม่สบายตา ปัจจุบันจึงยังไม่สามารถเข้าไปแทนที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งราคาถูกและปล่อยแสงแบบกระจาย ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/10/x_it_h001_193375.php?news_id=193375
Sunday, March 9, 2008
ตัดริบบิ้น "จูลส์ เวิร์น" ยานบรรทุกอวกาศขับเคลื่อนอัตโนมัติออกสู่ภารกิจ
บีบีซีนิวส์ - อีซาส่ง "จูลส์ เวิร์น" ยานขนสัมภาระสู่สถานีอวกาศแบบอัตโนมัติที่ลำเลียงของได้มากที่สุด และเป็นภารกิจอันท้าทายของจรวดขนส่ง ที่จะนำยานไปจอดรอสถานีอวกาศ ก่อนที่จะเชื่อมต่อได้เองโดยไม่ต้องมีคนบังคับ นับเป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาระบบขนส่งนักบินอวกาศของยุโรปเอง
"จูลส์ เวิร์น" (Jules Verne) คือชื่อยานขนส่งไร้คนขับอัตโนมัติหรือยานเอทีวี (Automated Transfer Vehicle : ATV) ขององค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ที่สามารถลำเลียงสัมภาระต่างๆ ทั้งอากาศ อาหาร น้ำ เชื้อเพลิง เครื่องใช้ส่วนตัวของลูกเรือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ได้ถึง 7.6 ตัน
ยานลำนี้ออกเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจครั้งแรกในอวกาศโดยการลำเลียงของจรวดแอเรียน 5 (Ariane 5) จากฐานปล่อยจรวดคูรู ในเฟรนซ์เกียอานา วันที่ 9 มี.ค.51 เวลา 11.03 น.ตามเวลาประเทศไทย
การสร้างยานขนส่งสัมภาระนี้เป็นบทบาทของยุโรป ในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งแทนที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อบริหารจัดการสถานีอวกาศ อีซาก็เลือกที่จะรับหน้าที่นี้เป็นหลัก
การเดินทางครั้งแรกของยานจูลส์ เวิร์นนี้จะเป็นการประกาศว่ายุโรปมีความสามารถทางเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญที่จะแข่งขันในวงการสำรวจอวกาศได้
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเอทีวีจากยุโรป คือเทคโนโลยีการนัดพบในอวกาศและการเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติของยานจูลส์ เวิร์น ทั้งนี้ยานสามารถหาหนทางด้วยตัวเองเพื่อไปถึงยังสถานีอวกาศและเชื่อมต่อได้เองโดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้าไปแทรกแซง
"ยานเอทีวีคือสิ่งที่เรามีส่วนร่วมด้านค่าดำเนินการของสถานีอวกาศ โดยการขนส่งสัมภาระหลายๆ ตัน อีกทั้งยังเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในการพัฒนา ยานเอทีวีเป็นเหมือนการผสานกันอย่างแนบแน่น (ในความสามารถ) ของยานอวกาศที่มีมนุษย์บังคับกับดาวเทียม กลายเป็นยานที่มีความซับซ้อนและอุตสาหกรรมของยุโรปก็มีโอกาสที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ๆ ที่ได้ผลออกมาเป็นยานเอทีวี" คำกล่าวของอลัน เทิร์กเกทเทิล (Alan Thirkettle) ผู้จัดการโครงการสถานีอวกาศนานาชาติขององค์การอวกาศยุโรป
เที่ยวบินของยานเอทีวีในวันที่ 9 มี.ค.นี้เป็นเที่ยวบินที่น้ำหนักถึง 20 ตันขณะอยู่ที่ฐานปล่อย ซึ่งจรวดแอเรียน 5 ต้องได้รับการเพิ่มพลังเป็นเฃพิเศษเพื่อรับภาระอันเฉพาะเจาะจงนี้ โดยจรวดจะขนส่งยานที่มีขนาดประมาณรถโดยสารสองคันขึ้นไปในวงโคจรที่มีความสูง 260 กิโลเมตร ซึ่งอยู่เบื้องล่างทางด้านหลังของสถานีอวกาศ จากนั้นยานเอทีวีก็เพิ่มความสูงของตัวเองเข้าไปใกล้ท่าเทียบที่อยู่เหนือชุดวงโคจร
สำหรับจรวดแอเรียน 5 เองภารกิจนี้ก็นับเป็นหลักไมล์ที่สำคัญในความพยายามขนส่งสัมภาระเดี่ยวๆ ที่หนักที่สุดขึ้นไปยังวงโคจร ซึ่งโดยมากแล้วจรวดแอเรียนจะรับภารกิจขนส่งดาวเทียมสื่อสารขึ้นไปยังวงโคจรระนาบเส้นศูนย์สูตร (equatorial orbit) ซึ่งอยู่สูงจากโลกออกไป 36,000 กิโลเมตร แต่สำหรับเที่ยวบินนี้จรวดของแอเรียนต้องทำวงโคจรที่ลาดเอียงอย่างมากเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อวางยานเอทีวีในตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่าวิถีของสถานีอวกาศอย่างแม่นยำ
จรวดแอเรียนท่อนสุดท้ายจะจุดระเบิด 2 รอบ รอบแรกเป็นการจุดระเบิดเพื่อเข้าสู่วงโคจรก่อนจะแยกออกจากยานและครั้งที่สองเป็นการทำลายตัวเองเพื่อความปลอดภัยก่อนที่จะตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นยานเอทีวีก็จะหยุดนิ่งอยู่ในอวกาศและต้องรอจนกว่ากระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) จะปฏิบัติภารกิจที่กำลังจะมาถึงจนเสร็จเรียบร้อยจึงจะเข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 3 เม.ย.นี้
คอมพิวเตอร์ของยานอยู่ในความควบคุมของระบบจีพีเอส (GPS) และระยะต่อจากนั้นเซนเซอร์ตรวจวัดแสงจะนำทางยานไปยังตำแหน่งท้ายของโมดุลซเฟซดา (Zvezda) ของรัสเซียที่ติดตั้งบนสถานีอวกาศ โดยที่มีการควบคุมของมนุษย์อีกทีที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส แต่จะมไมีการแทรกแซงการทำงานจนกว่าจะเกิดปัญหาขึ้น
นอกจากนั้นนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศเองก็จะเพียงดูการเข้าประชิดของยานเอทีวีแต่จะไม่ทำอะไร ยกเว้นเกิดเหตุฉุกเฉิน หากนักบินอวกาศเห็นสัญญาณอันตรายพวกเขาจะสั่งให้ยานเอทีวีถอยกลับด้วยการกดปุ่มสัญญาณสีแดงขนาดใหญ่ที่ติดอยู่บนแผงของซเฟซดา และยานเอทีวีจะอยู่ที่สถานีอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน
ทั้งนี้ยุโรปมีความคาดหวังต่อยานเอทีวีและเทคโนโลยีของยานสูงมาก แม้ว่านักบินอวกาศจะไม่ได้อาศัยยานเอทีวีขึ้นสู่สถานีอวกาศแต่ความดันภายในยานก็พอเหมาะกับที่นักบินอวกาศจะเข้าไปโดยทีมไต้องสมชุดอวกาศ นับว่ายานเอทีวีเป็นจุดเริ่มต้นที่ยุโรปจะพัฒนาระบบขนส่งลูกเรือเองได้ แต่ ณ เวลานี้นักบินอวกาศของอีซาไม่สามารถออกไปนอกโลกได้โดยไม่อาศัยกระสวยอวกาศของสหรัฐฯ หรือยานโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซียได้
ที่มา: http://www.manager.co.th/
Link: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000028801
Tuesday, March 4, 2008
เทคโนประดิษฐ์-หวั่นส่งหุ่นยนต์ติดอาวุธร่วมรบชนวนสงครามมนุษย์กับจักรกล
ชีวิตจริงใกล้จะเป็นเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง"คนเหล็ก 2029" เข้าไปทุกที ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูสงครามระหว่างสหรัฐกับอิรัก หรืออัฟกานิสถานเป็นตัวอย่าง สหรัฐส่งหุ่นยนต์นับพันตัวไปสนามรบทั้งใช้สอดแนม ลาดตระเวน และกู้ระเบิด แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหุ่นยนต์ติดอาวุธที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐส่งไปปฏิบัติการเกิดเพี้ยนขึ้นมาหันกระบอกปืนถล่มพวกตัวเอง
นักวิจัยจากหลายสถาบันเริ่มหวั่นเกรงว่าหากกองทัพใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติร่วมปฏิบัติการรบอาจเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ฝันร้ายเหมือนในหนังเรื่องคนเหล็ก 2029 ที่กองทัพหุ่นยนต์ถือปืนถล่มกวาดล้างมนุษย์ บ้างคิดไปไกลว่า สักวันหุ่นยนต์อาจมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมเหมือนมนุษย์เข้าไปทุกที
วันพุธที่27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการด้านการทหารในอังกฤษถกเถียงกันถึงเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ โรนัลด์ อาร์กิน นักวิจัยด้านหุ่นยนต์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย เทค ซึ่งทำงานให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐสร้างระบบจริยธรรมให้หุ่นยนต์ในสนามรบ หรือเรียกให้ง่ายขึ้นว่า "ระบบสามัญสำนึกเทียม"
หลักการพื้นฐานของระบบดังกล่าวคือควบคุมหุ่นยนต์รบให้ปฏิบัติตามกฎแห่งสงคราม ซึ่งนักพัฒนาระบบหวังว่าถึงที่สุดแล้วหุ่นยนต์อาจมีจริยธรรมสูงกว่ามนุษย์ก็เป็นได้
ฟากที่ไม่เห็นด้วยกับการส่งหุ่นยนต์เข้าสู่สมรภูมิเตือนว่าหากส่งเสริมระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติมากขึ้น มีโอกาสเกิดสงครามระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ และเรียกร้องให้นานาชาติร่วมกันออกกฎหมายระหว่างประเทศห้ามใช้ระบบอาวุธอัตโนมัติจนกว่าจะมั่นใจได้ว่ามีระบบควบคุมให้หุ่นยนต์ทำตามกฎสงครามได้
ทุกวันนี้ยังไม่มีหุ่นยนต์นักรบตัวไหนสามารถออกปฏิบัติภารกิจได้เองโดยปราศจากมนุษย์ควบคุมดูอย่างเครื่องยิงระเบิดอัตโนมัติที่ชื่อ "พรีเดเตอร์" ที่สหรัฐใช้ถล่มอิรักและอัฟกานิสถาน ยังเป็นระบบที่สั่งการทางไกลด้วยนักบินจริง ส่วนภาคพื้นดิน หุ่นยนต์ยังทำหน้าที่เพียงหน่วยลาดตระเวนและกู้ระเบิดเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นติดปืนกลถล่มข้าศึกได้ตามใจ
ปีที่แล้วกลาโหมสหรัฐได้ส่งหุ่นยนต์ติดอาวุธประจำการในอิรัก แต่ยังเป็นแค่หุ่นยนต์ที่ทำงานผ่านรีโมทที่บังคับโดยเจ้าหน้าที่ ยังไม่ถึงขั้นควงปืนยิงเองได้
เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐเปิดประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์อัตโนมัติยุคใหม่ 3,000 ตัว หลังจากมีปัญหาทางกฎหมายอยู่พักหนึ่ง สุดท้ายบริษัทไอโรบอต เจ้าของนวัตกรรมหุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่นชนะประมูลไป หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของบริษัทนี้มีจำหน่ายในไทยเช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าหุ่นยนต์ติดอาวุธในอนาคตอาจปฏิบัติการเองตามระบบโปรแกรม เคียงบ่าเคียงไหล่รั้วของชาติ
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/04/x_it_h001_192012.php?news_id=192012
เสื้อนาโนสวมคลายร้อน
เจ้าของนวัตกรรมสิ่งทอกันยุงพัฒนาเสื้อคลายร้อน "ซูเปอร์คลู" สวมแล้วให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น เผยอาศัยสารเมนทอลให้ความเย็นจากสมุนไพร บรรจุในแคปซูลจิ๋วเคลือบบนเส้นใย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสิ่งทอกันยุง เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังพัฒนาเสื้อคลายร้อน "ซูเปอร์คูล" สำหรับนักเรียน นักกีฬา และบุคลคลทั่วไป คาดว่าสินค้าชุดแรกประมาณ 5,000 ตัว จะออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนเมษายน หรือเทศกาลสงกรานต์นี้
การพัฒนาเสื้อซูเปอร์คูลดังกล่าว ทีมวิจัยนำสารสกัดเมนทอล หรือสารให้ความเย็นจากสมุนไพร อาทิ การบูร พิมเสน มาผสมเป็นสูตรจำเพาะ และบรรจุไว้ในแคปซูลจิ๋วด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมทั้งออกแบบให้แคปซูลแตกตัวเฉพาะเวลาที่สัมผัสกับเหงื่อของผู้สวมเท่านั้น
ความคืบหน้าขณะนี้ ทีมงานอยู่ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพการแตกตัวของแคปซูลนาโน ซึ่งบรรจุสารให้ความเย็นจากพืช โดยศึกษาปฏิกิริยาของแคปซูล เมื่อสัมผัสน้ำเปล่าเปรียบเทียบกับการสัมผัสเหงื่อ ว่าทำงานแตกต่างกันหรือไม่ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบให้แคปซูลทำปฏิกิริยาแตกตัวจำเพาะกับเหงื่อของผู้สวมใส่เท่านั้น
นอกจากดูสมบัติการแตกตัวของแคปซูลแล้ว ทีมวิจัยยังต้องดูคุณสมบัติที่ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายผู้สวมใส่อีกด้วยว่า ขณะที่ร่างกายเกิดเหงื่อขึ้นมานั้น สารที่เคลือบอยู่จะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้ลดลงได้กี่องศา
“ผลิตภัณฑ์เสื้อคลายแรกชุดแรกที่จะผลิต แบ่งเป็นเสื้อโปโลผู้หญิงให้กลิ่นสตรอเบอร์รี่ 2,500 ตัว เสื้อโปโลผู้ชายให้กลิ่นลาเวนเดอร์ 2,500 ตัว ส่วนเป้าหมายมีทั้งนักเรียน นักกีฬา พนักงานบริษัท และสำหรับเป็นของชำร่วยในงานทั่วไป” นายวิศัลย์ กล่าว
หากผู้บริโภคให้การตอบรับผลิตภัณ์สวมคลายร้อน บริษัทก็มีโครงการที่จะต่อยอดผลิตจีวรคลายร้อน และเครื่องแบบคลายร้อนสำหรับพนักงานทั่วไป
ส่วนความคืบหน้าของเทคโนโลยีสิ่งทอกันยุง หลังจากผลิตเป็นจีวรกันยุงแล้ว ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อขอรับการสนับสนุนในการผลิตและทดสอบเครื่องแบบทหารกันยุง กับทหารอาสาสมัคร 300-500 คน สำหรับเก็บข้อมูลการป้องกันยุง ก่อนที่จะผลิตเป็นชุดทหารสำเร็จรูปและจำหน่ายต่อไป
กานต์ดา บุญเถื่อน
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/
Link: http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/04/WW54_5404_news.php?newsid=235224
เสื้อนาโนสวมคลายร้อนผู้ผลิตเตรียมวางขายรับสงกรานต์นี้
เจ้าของนวัตกรรมสิ่งทอกันยุงพัฒนาเสื้อคลายร้อน"ซูเปอร์คลู" สวมแล้วให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น เผยอาศัยสารให้ความเย็นจากสมุนไพร เช่น การบูร พิมเสน เป็นสารตั้งต้นผสมกับสูตรที่คิดค้นขึ้น บรรจุในแคปซูลจิ๋วเคลือบบนเส้นใย ประเดิมสินค้าชุดแรกออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายวิศัลย์วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสิ่งทอกันยุง เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังพัฒนาเสื้อคลายร้อน "ซูเปอร์คูล" สำหรับนักเรียน นักกีฬา และบุคลคลทั่วไป คาดว่าสินค้าชุดแรกประมาณ 5,000 ตัวจะออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนเมษายน หรือเทศกาลสงกรานต์นี้
การพัฒนาเสื้อซูเปอร์คูลดังกล่าวทีมวิจัยนำสารสกัดเมนทอล หรือสารให้ความเย็นจากสมุนไพร อาทิ การบูร พิมเสน มาผสมเป็นสูตรจำเพาะ และบรรจุไว้ในแคปซูลจิ๋วด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมทั้งออกแบบให้แคปซูลแตกตัวเฉพาะเวลาที่สัมผัสกับเหงื่อของผู้สวมเท่านั้น
ความคืบหน้าขณะนี้ทีมงานอยู่ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพการแตกตัวของแคปซูลนาโน ซึ่งบรรจุสารให้ความเย็นจากพืช โดยศึกษาปฏิกิริยาของแคปซูล เมื่อสัมผัสน้ำเปล่าเปรียบเทียบกับการสัมผัสเหงื่อ ว่าทำงานแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อพัฒนาให้แคปซูลทำปฏิกิริยาแตกตัวจำเพาะกับเหงื่อของผู้สวมใส่เท่านั้น
นอกจากดูสมบัติการแตกตัวของแคปซูลแล้วทีมวิจัยยังต้องดูคุณสมบัติที่ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายผู้สวมใส่อีกด้วยว่า ขณะที่ร่างกายเกิดเหงื่อขึ้นมานั้น สารที่เคลือบอยู่จะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้ลดลงได้กี่องศา
ผลิตภัณฑ์เสื้อคลายแรกชุดแรกที่จะผลิตแบ่งเป็นเสื้อโปโลผู้หญิงให้กลิ่นสตรอเบอร์รี่ 2,500 ตัว เสื้อโปโลผู้ชายให้กลิ่นลาเวนเดอร์ 2,500 ตัว ส่วนเป้าหมายมีทั้งนักเรียน นักกีฬา พนักงานบริษัท และสำหรับเป็นของชำร่วยในงานทั่วไป โดยกำหนดราคาไว้ 580-780 บาท นายวิศัลย์กล่าว
หากผู้บริโภคให้การตอบรับอย่างดีกับผลิตภัณ์สวมคลายร้อนบริษัทก็มีโครงการที่จะต่อยอดผลิตจีวรคลายร้อนสำหรับพระสงฆ์ และเครื่องแบบคลายร้อนสำหรับพนักงานทั่วไป โดยจะวางขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ ที่เคยรับจีวรกันยุงไปจำหน่ายก่อนหน้านี้
ส่วนความคืบหน้าของเทคโนโลยีสิ่งทอกันยุงหลังจากผลิตเป็นจีวรกันยุงแล้ว ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อขอรับการสนับสนุนในการผลิตและทดสอบเครื่องแบบทหารกันยุง กับทหารอาสาสมัคร 300-500 คน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/04/x_it_h001_192325.php?news_id=192325
นายวิศัลย์วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสิ่งทอกันยุง เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังพัฒนาเสื้อคลายร้อน "ซูเปอร์คูล" สำหรับนักเรียน นักกีฬา และบุคลคลทั่วไป คาดว่าสินค้าชุดแรกประมาณ 5,000 ตัวจะออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนเมษายน หรือเทศกาลสงกรานต์นี้
การพัฒนาเสื้อซูเปอร์คูลดังกล่าวทีมวิจัยนำสารสกัดเมนทอล หรือสารให้ความเย็นจากสมุนไพร อาทิ การบูร พิมเสน มาผสมเป็นสูตรจำเพาะ และบรรจุไว้ในแคปซูลจิ๋วด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมทั้งออกแบบให้แคปซูลแตกตัวเฉพาะเวลาที่สัมผัสกับเหงื่อของผู้สวมเท่านั้น
ความคืบหน้าขณะนี้ทีมงานอยู่ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพการแตกตัวของแคปซูลนาโน ซึ่งบรรจุสารให้ความเย็นจากพืช โดยศึกษาปฏิกิริยาของแคปซูล เมื่อสัมผัสน้ำเปล่าเปรียบเทียบกับการสัมผัสเหงื่อ ว่าทำงานแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อพัฒนาให้แคปซูลทำปฏิกิริยาแตกตัวจำเพาะกับเหงื่อของผู้สวมใส่เท่านั้น
นอกจากดูสมบัติการแตกตัวของแคปซูลแล้วทีมวิจัยยังต้องดูคุณสมบัติที่ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายผู้สวมใส่อีกด้วยว่า ขณะที่ร่างกายเกิดเหงื่อขึ้นมานั้น สารที่เคลือบอยู่จะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้ลดลงได้กี่องศา
ผลิตภัณฑ์เสื้อคลายแรกชุดแรกที่จะผลิตแบ่งเป็นเสื้อโปโลผู้หญิงให้กลิ่นสตรอเบอร์รี่ 2,500 ตัว เสื้อโปโลผู้ชายให้กลิ่นลาเวนเดอร์ 2,500 ตัว ส่วนเป้าหมายมีทั้งนักเรียน นักกีฬา พนักงานบริษัท และสำหรับเป็นของชำร่วยในงานทั่วไป โดยกำหนดราคาไว้ 580-780 บาท นายวิศัลย์กล่าว
หากผู้บริโภคให้การตอบรับอย่างดีกับผลิตภัณ์สวมคลายร้อนบริษัทก็มีโครงการที่จะต่อยอดผลิตจีวรคลายร้อนสำหรับพระสงฆ์ และเครื่องแบบคลายร้อนสำหรับพนักงานทั่วไป โดยจะวางขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ ที่เคยรับจีวรกันยุงไปจำหน่ายก่อนหน้านี้
ส่วนความคืบหน้าของเทคโนโลยีสิ่งทอกันยุงหลังจากผลิตเป็นจีวรกันยุงแล้ว ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อขอรับการสนับสนุนในการผลิตและทดสอบเครื่องแบบทหารกันยุง กับทหารอาสาสมัคร 300-500 คน
ที่มา: http://www.komchadluek.net/
Link: http://www.komchadluek.net/2008/03/04/x_it_h001_192325.php?news_id=192325
Subscribe to:
Posts (Atom)